Deloitte ชี้ หนุ่มสาวไฟแรง 2 ล้านคนทั่วโลกเสี่ยงตกยุคและตกงานหากไม่ปรับตัว

Deloitte ชี้ หนุ่มสาวไฟแรง 2 ล้านคนทั่วโลกเสี่ยงตกยุคและตกงานหากไม่ปรับตัว

ดีลอยท์ชี้ หนุ่มสาวไฟแรง 2 ล้านคนทั่วโลกเสี่ยงตกยุคและตกงาน หากไม่ปรับตัววงการธุรกิจต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเตรียมรับมือ
  • ดีลอยท์ โกลบอล และ Global Business Coalition for Eduation (GBC-Education) คาดการณ์ว่าอีก 12 ปี ข้างหน้า แรงงานหนุ่มสาวกว่าล้านคนทั่วโลกจากทั้งหมด 2 ล้านคนจะกลายเป็นคนตกยุค ล้าสมัยและเสี่ยงตกงาน เพราะขาดทักษะหรือไม่มีคุณสมบัติตรงความต้องการของตลาดแรงงาน 
  • ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงจำเป็นต้องเตรียมคนหนุ่มสาวตั้งแต่วันนี้ ให้พร้อมทำงานท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคม ที่สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงภายในเวลาชั่วข้ามคืน
  • ดีลอยท์ โกลบอล และ Global Business Coalition for Eduation (GBC-Education)  ได้ร่วมมือจัดตั้ง “Action Hub” เพื่อเร่งกระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่าง นักธุรกิจ มูลนิธิและองค์กรเกี่ยวกับเยาวชน  โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการเตรียมสร้างคนรุ่นใหม่ให้พร้อมทำงานในยุคต่อๆ ไป

เมื่อเร็วๆนี้ ดีลอยท์ร่วมกับ Global Business Coalition for Eduation (GBC-Education)ได้ทำการวิจัยและเผยแพร่รายงานชื่อว่า การเตรียมแรงงานให้พร้อมรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ และกรอบการปฏิบัติสำหรับองค์กรธุรกิจ ซึ่งพูดถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างผลกระทบมากมายและรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ  เปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการทำงานของมนุษย์  งานบางอย่างถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี  ถึงแม้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ จะสร้างโอกาสใหม่ๆมากมาย แต่แรงงานบางส่วนกลับตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงนี้และกลายเป็นคนตกยุค ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพการทำงานแบบใหม่ในอนาคต  ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้นำในวงการธุรกิจจึงมีความวิตกร่วมกันว่าแรงงานทั่วโลกจะปรับตัวตามจังหวะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบันไม่ได้ โดยเฉพาะมีแรงงานหนุ่มสาวราว 1.8 ล้านคนเสี่ยงที่จะกลายเป็นคนไร้ประโยชน์ในเร็วๆนี้ ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันปัญหานี้ก็คือ นักธุรกิจทั้งหลายนั่นเอง

วงการธุรกิจอยู่นิ่งเฉยไม่ได้แล้ว ต้องลุกขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการเตรียมคนหนุ่มสาวให้พร้อม และให้คำแนะนำสำหรับการทำงานในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงมหาศาลอย่างรวดเร็ว การที่จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และลงมือในการสร้างความพร้อมให้คนรุ่นใหม่ในการทำงานอนาคตอันใกล้นี้” นายสุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ (ประเทศไทย) กล่าว

นายสุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ (ประเทศไทย)

ที่เราต้องการคือ แนวคิดและแนวปฏิบัติใหม่ๆ ในการเตรียมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือโลกของการทำงานในอนาคต นั่นหมายถึง องค์กรธุรกิจต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ต้องระบุได้ว่าว่าทักษะใดบ้างที่จำเป็น และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน

"ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องทำงานใกล้ชิดกับนักการศึกษา รัฐบาลและองค์กรไม่แสวงหากำไรต่างๆ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน ในการสร้างความมั่นใจว่าแรงงานในอนาคตจะได้รับการศึกษาหรือฝึกฝนให้มีทักษะที่จำเป็นในการทำงาน และประสบความสำเร็จท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและมหาศาลนี้” สุภศักดิ์ กล่าวเสริม

รายงานของดีลอยท์ยังระบุด้วยว่าแรงงานในอนาคตต้องมีทักษะสำคัญสี่อย่างต่อไปนี้

  • ความพร้อมในการทำงาน ได้แก่ ทักษะพื้นฐานเช่น การบริหารเวลา การนำเสนอศักยภาพของตัวบุคคล ความมีวินัยต่อเวลาการทำงาน  เหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโอกาสในการได้รับการจ้างเข้าทำงาน
  • ทักษะในการเรียนรู้ ทุกวันนี้เทคโนโลยีหุ่นยนต์พัฒนาไปไกล จนสามารถทำงานหลายอย่างแทนมนุษย์ได้ เมื่อโลกการทำงานปัจจุบันทำให้มนุษย์ต้องทำงานร่วมกับหุ่นยนต์มากขึ้น มนุษย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะเฉพาะของมนุษย์ที่หุ่นยนต์ไม่สามารถทำได้ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาซับซ้อน ความฉลาดทางอารมณ์ และการคิดวิเคราะห์ เป็นต้น
  • ทักษะด้านเทคนิค ตำแหน่งงานใหม่ๆ หลายอย่างเกิดขึ้นเพราะเทคโนโลยีใหม่ๆ ลักษณะงานที่ยังมีตำแหน่งงานว่างมักจะต้องการทักษะด้านเทคนิคเฉพาะของแต่ละธุรกิจ และการฝึกอบรมพัฒนาเฉพาะทาง
  • ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจแบบ gig economy ขยายตัว ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และการริเริ่มทางธุรกิจใหม่ๆ จะช่วยให้หนุ่มสาววัยแรงงานไปได้ดีในโลกการทำงาน ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้

ที่ Global Business Coalition for Education เรามองว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ เป็นโอกาสและไม่ใช่สิ่งคุกคาม นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ทั้งหลายจะช่วยพัฒนาคุณชีวิตของมนุษย์อย่างมหาศาล หากเราสามารถหาวิธีในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการควบคุมเทคโนโลยีเหล่านี้ผ่านการคิดเชิงวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ ก็เท่ากับเป็นการวางรากฐานที่สู่ความสำเร็จให้กับคนรุ่นใหม่หลายล้านคน  หัวใจสำคัญก็คือการศึกษาและการฝึกอบรมที่มีคุณภาพ และองค์กรธุรกิจนั้นเองที่เป็นส่วนสำคัญในแนวทางแก้ปัญหานี้ ซาราห์ บราวน์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของแนวทางแก้ปัญหานี้ คนรุ่นใหม่หลายล้านคน และความคิดสร้างธุรกิจใหม่ๆ จะช่วยให้หนุ่มสาววัยแรงงาน Global Business Coalition for Education กล่าว

เป็นที่ชัดเจนว่าแนวทางใหม่ในการเตรียมความพร้อมให้กับหนุ่มสาวรุ่นใหม่นั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น การลงทุนลงแรงกับทั้งทักษะและการอบรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ และภาคธุรกิจควรจะเริ่มลงมือจัดการกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้น เพื่อสร้างแนวปฏิบัติใหม่ๆที่มีความยั่งยืน

รายงานของดีลอยท์พูดถึงความท้าทายมากมายที่องค์กรธรุกิจจะต้องประสบ อย่างแรกการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มักจะถูกตีตราว่าเป็นตัวปัญหาที่ต้องถูกจัดการ แทนที่จะมองว่าเป็นโอกาสอันดีที่องค์กรธุรกิจจะสร้างแรงกระเพื่อมที่ดี ในขณะที่ธรุกิจหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่คงไม่ลงเงินทุนในการจ้างงานหนุ่มสาว 1,800 ล้านคนเป็นแน่  ดังนั้นจึงควรมีระบบปฏิบัติแนวใหม่สำหรับใช้กันทั่วไปในวงกว้าง  นอกจากนั้น ในปัจจุบันองค์กรธุรกิจจะต้องเลือกระหว่างขนาดกับแรงกระเพื่อม  แต่รายงานฉบับนี้แนะนำวิธีในการที่จะประสบความสำเร็จทั้ง 2 ด้าน  การเอาชนะความท้าทายในการเข้าถึงหนุ่มสาวที่เป็นคนชายขอบ(Marginalized) หรือคนส่วนน้อยในสังคม รวมถึงผู้หญิง และเด็ก ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมและทักษะของแรงงานรุ่นใหม่ รายงานของดีลอยท์ได้แนะนำว่าวงการธุรกิจ ควรดำเนินกลยุทธ์ ข้อดังต่อไปนี้

  • นำเอาเป้าประสงค์และแนวทางของผู้มีส่วนเสียมาพิจารณา เพื่อที่จะบรรลุผลในวงกว้าง องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆในวงกว้าง เพื่อนำวิธีการแนวทางในการพัฒนาคนกลุ่มต่างๆมาปฏิบัติใช้ ซึ่งนับรวมถึง การแสวงหาความร่วมมือกัน ระบุช่องว่างในการฝึกอบรม มองหาโอกาสในการลงทุนร่วมกัน สุดท้ายคือการแบ่งปันข้อมูลในเรื่องแรงงานที่ต้องการในอนาคต
  • มีส่วนร่วมในนโยบายรัฐ – วงการธุรกิจมีโอกาส – หรือ เรียกให้ถูกคือ มีหน้าที่สนับสนุนรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นใหม่ ตลอดจนเสริมสร้างให้ตลาดแรงงานแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น กลยุทธ์ที่จะทำให้วงการธุรกิจมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายดังกล่าวด้แก่ การเจรจา การโน้นน้าว ความร่วมมือ และการผลักดันในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
  • พัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมผู้มีความสามารถโดดเด่น หากต้องการดึงดูดแรงงานที่มีศักยภาพโดดเด่นเข้าสู่องค์กรของตัวเอง องค์กรธุรกิจต้องทบทวนกลยุทธ์ในการดึงดูดแรงงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและพัฒนาวิธีปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และนวัตกรรม ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น
  • ลงทุนเรื่องฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะที่จำเป็น จากนี้ไปการฝึกอบรมพนักงานไม่ใช่กิจกรรมที่ทำแบบ ขอไปที” แต่ต้องประเมินอย่างจริงจัง ต้องจัดสรรงบประมาณไว้ลงทุนกับเรื่องฝึกอบรมอย่างชัดเจน และมีแผนการฝึกอบรมอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อให้แรงงานทุกคนสามารถดึงเอาศักยภาพของตัวเองออกมามากที่สุด และพัฒนาตนเองให้สูงที่สุดเพื่อตอบสนองงานต่างๆ ในความรับผิดของตัวเอง

The Global Business Coalition for Education มีแผนจะนำเอาข้อเสนอแนะทั้งหมดนี้ต่อยอดไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการก่อตั้ง “action hub” หรือศูนย์กลางดำเนินการ วัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นศูนย์ประสานความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ โดยมีเป้าหมายคือรูปแบบใหม่ในการเสริมสร้างทักษะและความสามารถของแรงงานรุ่นใหม่  ดีลอยท์เองก็มีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้นำองค์กรธุรกิจต่างๆ เพื่อให้บรรจุข้อเสนอแนะที่กล่าวมาข้างต้นลงไปสู่แผนการปฏิบัติงานขององค์กรธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานหนุ่มสาวยุคใหม่จะมีความพร้อมและสามารถทำงานในโลกอนาคตได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เตรียมพบกับ “Taiwan Healthcare Pavilion” โซนจัดแสดงนวัตกรรมทางการแพทย์จาก 26 องค์กรชั้นนำ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

กลับมาอีกครั้งกับการจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ล้ำสมัยจากไต้หวันในงาน TAIWAN EXPO 2024 ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5 บูธ...

Responsive image

ทีทีบี เปิดตัว ttb smart shop พร้อม “ปังปัง” มังกรน้ำเงินมงคล ผู้ช่วยร้านค้าแบบครบวงจร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี นำโดย นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ พร้อมด้วย นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ เปิดตัวฟีเจอร...

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...