อังกฤษพัฒนาเครื่องบินเจ็ทขับไล่ ใช้ AI 'อ่านใจ-คิดแทน' นักบินได้ | Techsauce

อังกฤษพัฒนาเครื่องบินเจ็ทขับไล่ ใช้ AI 'อ่านใจ-คิดแทน' นักบินได้

ในยุคที่ IoT และปัญญาประดิษฐ์มีอิทธิพลอย่างมากต่อโลกในยุคปัจจัย แต่ไม่เพียงแค่จะถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ยังถูกหยิบมาใช้ในแง่ความมั่นคงด้วย โดยเฉพาะการต่อยอดและพัฒนาอาวุธยุทธโธปกรณ์ บริษัท BAE Systems ผู้พัฒนาและวิจัยยุทธภัณฑ์ของสหราชอาณาจักร ร่วมกับบริษัท Rolls-Royce, กลุ่มขีปนาวุธยุโรป MDBA และ Leonardo บริษัทด้านอากาศยานของอิตาลี ในการพัฒนาเครื่องบินรบต้นแบบที่สามาถใช้ระบบ AI อ่านใจนักบินเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการสู้รบ

รายงานระบุว่า คุณลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของเครื่องบินขับไล่รุ่น  Tempest จะมีเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยตัดสินใจบางอย่างแทนนักบิน ในกรณีที่นักบินหมดสติเมื่อเผชิญแรงจี หรืออยู่ในสภาวะความเครียดรุนแรง โดยเซ็นเซอร์ที่อยู่ภายในหมวกนักบิน จะสามารถตรวจสอบสัญญาณสมองและข้อมูลการแพทย์อื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ระบบปัญญาประดิษฐ์ของเครื่องบินจะเรียนรู้พฤติกรรมและสภาพของนักบินแต่ละคน ผ่านการประเมินและรวบรวมข้อมูลไบโอเมตริกซ์และไซโครเมทริกขนาดใหญ่

ด้วยคุณลักษณะเฉพาะนี้ ระบบปัญญาประดิษฐ์จะทราบถึงสภาวะของนักบินเมื่อต้องเผชิญการตัดสินใจที่สำคัญ นั่นหมายความว่า AI จะสามารถก้าวเข้ามาและช่วยเหลือได้ หากเซ็นเซอร์ระบุว่านักบินกำลังต้องการความช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น AI สามารถเข้าควบคุมเครื่องบินได้เองในทันที หากนักบินหมดสติเนื่องจากแรงโน้มถ่วงสูง

บริษัท BAE Systems ของอังกฤษ ซึ่งเปิดตัวระบบ AI รูปแบบใหม่นี้ภายในงานแอร์โชว์ Farnborough ที่ประเทศฝรั่งเศส คาดว่าระบบดังกล่าวจะสามารถพร้อมทำการทำสอบเต็มรูปแบบภายในปี 2027 ซึ่งจะเป็นการพลิกยุทธวิธีและแนวรบในอนาคต โดยเครื่องบินต้นแบบจำเป็นต้องได้รับการทดสอบด้านดิจิทัลที่หลากหลายไม่น้อยกว่า 60 โครงการ ก่อนเริ่มสามารถนำเครื่องบินทดสอบเต็มรูปแบบได้

สำหรับเครื่องบินขับไล่ใหม่รุ่น Tempest ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2018 โดยทีมผู้พัฒนาตั้งเป้าว่า เครื่องบินรุ่นใหม่นี้จะเป็นอากาศยานแห่งอนาคตที่พลิกโฉมการรบบนน่านฟ้าทดแทนเครื่องบินรุ่น Eurofighter Typhoon ที่หลายประเทศใช้อยู่ในปัจจุบัน

จอห์น สต็อกเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ BAE Systems กล่าวว่า "ในอดีต การวิจัยและพัฒนาด้านการป้องกันประเทศ มักผลักดันให้นำมาซึ่งเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ในภายหลัง ทว่าตอนนี้ เทคโนโลยีเชิงพาณิชย์รุดหน้าไปไกลกว่าเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เราต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี"

"เราลองจินตนากรว่า เครื่องบินรบรุ่นใหม่ที่สามารถอัปเกรดซอฟต์แวร์ได้ด้วยตัวเอง เหมือนกับการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน" 

ไม่เพียงแค่ระบบ AI จะเข้ามาควบคุมเครื่องบินรบแทนนักบิน กรณีที่นักบินหมดสติเท่านั้น แต่ทีมผู้พัฒนาคาดหวังให้ AI ยังทำหน้าที่เสมือนประตูด่านแรก ในการกรองข้อมูลข่าวสารแก่นักบิน เพื่อป้องกันกรณีที่นักบินอาจตัดสินใจพลาดจากการได้รับข้อมูลที่ผิดจากฝ่ายศัตรู ไม่เพียงแค่นั้นระบบ AI ยังมีส่วนสำคัญในการควบคุมระบบต่างๆ ของเครื่องบิน ตั้งแต่กา รประเมินรูปแบบการโจมตี, ขีปนาวุธที่ใช้โจมตี ไปจนถึงการควบคุมเครื่องยนต์ของเครื่องบิน

เบื้องต้นรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้มอบเงิน 2 พันล้านปอนด์ สำหรับโครงการพัฒนา Tempest ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ก่อนที่เครื่องบินเจ็ตลำแรกจะเข้าประจำการ เพื่อใช้แทนที่เครื่องบินขับไล่รุ่น Typhoon

BAE Systems กล่าวว่าภายในปี 2040 สหราชอาณาจักรและชาติพันธมิตรจะเผชิญกับภัยคุกคามใหม่ๆ และอาวุธที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งนั่นทำให้ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อตอบสนอง

ที่มา: https://www.bbc.com/news/business-62289737


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bluebik กางแผนธุรกิจปี 2568 ปักธงผู้นำ AI Transformation ในไทย ตั้งเป้าโต 20% ในปีหน้า

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร ประกาศปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่โดยใช้ AI เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ผ่าน...

Responsive image

NIA จับมือ Business Finland ต่ออายุ MOU พัฒนานวัตกรรม & สตาร์ทอัพ ไทย-ฟินแลนด์อีก 5 ปี

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ Business Finland ได้ต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอีก 5 ปี...

Responsive image

Meta ทุ่ม 3.45 แสนล้านสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร

Meta กำลังวางแผนสร้างสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.45 แสนล้านบาท...