UOB x Lazada ปล่อยสินเชื่อที่ไม่ต้องมีหลักประกันให้ SMEs ออนไลน์พร้อมระบบบริหารร้านจาก Bento Web | Techsauce

UOB x Lazada ปล่อยสินเชื่อที่ไม่ต้องมีหลักประกันให้ SMEs ออนไลน์พร้อมระบบบริหารร้านจาก Bento Web

ธนาคาร UOB เปิดตัว UOB BizMerchant ปล่อยสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันสำหรับธุรกิจ E-commerce บนแพลตฟอร์ม Lazada สินเชื่อดังกล่าวมอบวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท โดยมีกำหนดระยะเวลาสัญญา 12 เดือน อนุมัติวงเงินภายภายใน 1 วัน เมื่อได้รับเอกสารครบ ลดระยะเวลาจากเดิม 7 วัน ในการขอสินเชื่อธุรกิจแบบเดิม เนื่องจากธนาคารจะใช้ข้อมูลเชิงลึกจาก Lazada ในการพิจารณาการให้สินเชื่อ 

เกณฑ์การขอสินเชื่อ UOB BizMerchant

ผู้ประกอบการ E-commerce ในนามบุคคลทั่วไปหรือจดทะเบียนนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจบน Lazada มาอย่างน้อย 6 เดือน และมีรายได้รวมเฉลี่ยในรอบ 6 เดือนล่าสุดมากกว่า 500,000 บาทขึ้นไป สามารถยื่นขอสินเชื่อ UOB BizMerchant ได้ และรับสิทธิพิเศษใช้บริการจาก Bento Web ฟรี 3 เดือนแรก เพื่อบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน ทั้งในเรื่องการจัดการคลังสินค้า การคำนวณค่าจัดส่ง บริหารคำสั่งซื้อจากหลายช่องทาง การตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขาย เป็นต้น  

คุณสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคาร UOB (ไทย) กล่าวว่า

 “เราเล็งเห็นถึงความต้องการในกลุ่มผู้ค้า E-commerce ในด้านความต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว  นอกจากนั้นแล้ว ธุรกิจเอสเอ็มอีปัจจุบันต้องใช้ช่องทาง E-commerce รวมถึงสื่อโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ เพื่อทำการตลาดและเพิ่มยอดขายโดยรวม เราเข้าใจความท้าทายในเรื่องการบริหารจัดการออร์เดอร์และสต็อกสินค้าผ่านช่องทางการขายหลายช่องทาง จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกับ Lazada และ Bento Web ในครั้งนี้ ที่จะทำให้เราสามารถช่วยผู้ค้า ทั้งในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่รวดเร็ว พร้อมเครื่องมือในการช่วยจัดการระบบร้านค้า”

คุณณัฐเศษ ศิรินันท์ธนานนท์ ผู้ก่อตั้ง Bento Web กล่าวว่า 

“เรายินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการร่วมผลักดันธุรกิจ E-commerce ไปด้วยกันกับ UOB และ  Lazada แพลตฟอร์มของ Bento Web ครอบคลุมการบริหารจัดการธุรกิจ E-commerce ในทุกด้าน เหมาะกับทั้งผู้เริ่มต้นใหม่ที่ไม่มีความรู้ด้าน E-commerce หรือธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการ และรับมือกับการเติบโต ด้วยการจัดการช่องทางการขายแบบรวมศูนย์ ลดภาระความยุ่งยากในการติดตามออร์เดอร์และการจัดส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

โอกาสและทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

เศรษฐกิจ Digital ของประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตสะสมต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 33 ระหว่างช่วงปี 2558-2562 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปีนี้ เป็น 18,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายในปี 2568  แนวโน้มการเติบโตอันมหาศาลนี้หมายถึงโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ ที่สามารถสร้างยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนหมุนเวียนที่ทันท่วงที

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

TikTok เตรียมจำกัดการใช้ฟิลเตอร์ปรับหน้าสวย ป้องกันค่านิยม Beauty Standard ในเด็กต่ำกว่า 18 ปีทั่วโลก

ฟิลเตอร์ไม่ตรงปกเด็กห้ามใช้ เมื่อ TikTok ประกาศจำกัดการใช้งานฟิลเตอร์ปรับหน้าสวยในเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปีทั่วโลกเร็วๆนี้ หวังป้องกันค่านิยม Beauty Standard...

Responsive image

ทำไมตลาดรถยนต์ไทยถึงอาจซบเซาสุดในรอบ 15 ปีแม้ว่ารถ EV จะขายดีก็ตาม ?

ตลาดรถยนต์ไทยมองผิวเผินอาจจะดูเหมือนเติบโตจากการเข้ามาของแบรนด์ EV จีน ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันทั้งทางฝั่งรถ ICE รวมถึงการทำสงครามราคาเพื่อดึงดูดผู้ซื้อ แต่ในความเป็นจริงแล้วตลาดรถย...

Responsive image

AOT เปิดใช้ระบบ Biometric สแกนใบหน้า เริ่มต้น 1 ธันวาคม 2567 ผู้โดยสารระหว่างประเทศใช้งานได้

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดตัวระบบ Biometric ที่ใช้เทคโนโลยีสแกนใบหน้า (Facial Recognition) เพื่อช่วยให้การเดินทางของผู้โดยสารสะดวกและรวดเร็วขึ้น...