ประเทศไทยนับได้ว่ามีโอกาสการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกสูงกว่าประเทศอื่นในอาเซียนด้วยเหตุหลายปัจจัย อาทิ ทรัพยากรทางธรรมชาติ, การสนับสนุนจากภาครัฐที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นต้นเเบบของการใช้พลังงานทางเลือกของอาเซียน หนึ่งในโอกาสที่นับได้ว่าเป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกอย่างพลังงานเเสงอาทิตย์ในวันนี้คือการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคการเงิน กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก แบบครบวงจรภายใต้ชื่อ
โครงการ U-Solar เเพลตฟอร์มที่สนับสนุนระบบนิเวศของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรแห่งแรกของเอเชีย ซึ่งนอกจากประเทศไทยแล้วโครงการนี้ยังมีโอกาสได้เริ่มนำไปใช้ที่อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์
โครงการ U-Solar คือ โครงการที่เปรียมเสมือนเหมือนโปรโมชั่นสำหรับการช่วยให้ กลุ่มบริษัท ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป ที่สนใจเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเรื่องง่ายและครอบคลุมถึงการเริ่มต้นลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวด้านพลังงานโดยธนาคาร UOB จะเป็นเสมือนตัวกลางที่เข้าไปเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และช่วยในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานสะอาด
ซึ่งการร่วมมือกันครั้งนี้ช่วยให้ผู้ที่สนใจเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกสามารถลดต้นทุนในการเริ่มต้นติดตั้งเเหล่งหลังงานเเสงอาทิตย์ พร้อมข้อเสนอทางการเงินที่เหมาะสมโดยนำเสนอโซลูชันทางการเงินแก่ผู้พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ได้แก่ สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการพัฒนาโครงการ และสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างพอร์ตโฟลิโอ ตลอดจนการบริหารเงินสด ส่วนผู้รับเหมาออกแบบติดตั้ง (EPC Contractor) ซึ่งทางธนาคารจะช่วยด้านการจัดการทางการเงินที่ครอบคลุมในทุกเรื่อง ตั้งแต่ หนังสือค้ำประกันการยื่นซองประมูลราคา เอกสารยืนยันการชำระเงิน หนังสือค้ำประกันการปฏิบัติงานตามสัญญา และเงินทุนหมุนเวียน
นอกจากนี้โครงการ U-Solar ยังครอบคลุมถึงการจัดหาผู้ให้บริการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นพันธมิตรของธนาคาร UOB ในตลาดอื่นๆ ทั่วภูมิภาค โดยปัจจุบันทางธนาคารมีพันธมิตรด้านพลังงานสะอาดอย่าง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), บางกอก โซลาร์ พาวเวอร์ และ เค.จี.โซล่า ที่พร้อมให้บริการที่เหมาะเเก่การเริ่มต้นติดตั้งไปจนถึงดูแลในเรื่องต่างๆ อาทิ การประเมินพื้นที่, ติดตั้งอุปกรณ์, การบำรุงรักษา ให้เเก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
ในงานเปิดตัวครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายอานุภาพ คูวินิชกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้เกียรติร่วมงาน
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จากปี 2562 ที่มีสัดส่วน 10% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด เพิ่มเป็น 37% หรือ 20,755 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อาทิ มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ feed-in tariff และรูปแบบ feed-in premium
คุณสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า "เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ออกนโยบายโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และโรงไฟฟ้าประเภท ไฮบริด ระหว่างชีวมวล ก๊าซชีวภาพ กับพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม สอดคล้องตามนโยบายพลังงานเพื่อทุกคน “Energy for All” ของกระทรวงพลังงาน ที่มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยได้เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนมากขึ้น ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาชุมชนอีกด้วย”
ด้านคุณตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า "ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตในภาคพลังงานหมุนเวียนนี้ เราเชื่อว่าโครงการยู-โซลาร์ จะสามารถเข้าไปช่วยสนับสนุนความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาคธุรกิจและภาคประชาชน และเชื่อว่าจะสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตสีเขียวให้กับประเทศไทย”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด