VISA จับมือ KBank เปิดตัว 'VISA B2B Connect' ระบบชำระเงินระหว่างภาคธุรกิจบน Blockchain | Techsauce

VISA จับมือ KBank เปิดตัว 'VISA B2B Connect' ระบบชำระเงินระหว่างภาคธุรกิจบน Blockchain

VISA จับมือธนาคารกสิกรไทย (KBank) เริ่มโครงการ 'VISA B2B Connect' โครงการนำร่องพัฒนาระบบการชำระเงินระหว่างภาคธุรกิจด้วย Blockchain โดยตอนนี้อยู่ใน Regulatory Sandbox ของ ธปท. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Photo: VISA

'VISA' ประกาศร่วมมือกับ 'ธนาคารกสิกรไทย' (KBank) ริเริ่มโครงการนำร่อง 'VISA B2B Connect' ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้สถาบันการเงินสามารถประกอบธุรกรรมชำระเงินข้ามประเทศระหว่างธุรกิจด้วยความไม่ยุ่งยาก รวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งมีความโปร่งใสมากขึ้น

โครงการนำร่องดังกล่าว เป็นแพลตฟอร์มการทำธุรกรรมสำหรับภาคธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานเทคโนโลยี Blockchain ออกแบบมาเพื่อดำเนินธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงระหว่างธนาคาร ในนามของลูกค้าองค์กร

ซึ่งขั้นตอนการทำธุรกรรมจะอยู่ภายใต้การบริหารโดย VISA พร้อมทั้งมีการนำเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย การกำกับดูแล และเทคโนโลยีรายการเดินบัญชีแบบกระจายตัว หรือ Distributed Ledger มาใช้ด้วย

ซึ่ง Visa B2B Connect ได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับปรุงการชำระเงินแบบ B2B ให้ระบบมีคุณสมบัติดังนี้

  • คาดการณ์ได้และโปร่งใส: ธนาคารและลูกค้าของธนาคาร(ซึ่งเป็นภาคธุรกิจ) จะได้รับการแจ้งเตือนอย่างรวดเร็วเกือบจะในทันทีหลังจากธุรกรรมการชำระเงินสิ้นสุดลง
  • ปลอดภัย: การทำธุรกรรมที่ให้มีการลงนามและเชื่อมโยงรหัสข้อมูลได้รับการออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าระบบบันทึกข้อมูลมีความปลอดภัยและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
  • ความไว้วางใจ: ทุกฝ่ายในเครือข่ายเป็นผู้เข้าร่วมที่ต่างก็รู้จักกันในเครือข่าย Blockchain ส่วนตัว ที่ได้รับอนุญาตและดำเนินการโดยวีซ่า

โดย ธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ นอกเหนือจากธนาคารอื่นๆ อีกหลายแห่งทั่วโลก ซึ่งโครงการนำร่องดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกล่องทรายทดสอบธุรกรรม (Regulatory Sandbox) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

นอกจากนี้ทาง VISA ระบุว่าตั้งใจที่จะพัฒนาการชำระเงินในรูปแบบ B2B ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการใช้เวลาที่สั้นลงในการประมวลผล และเพิ่มชัดเจนในการติดตามขั้นตอนกระบวนการการทำธุรกรรมให้สูงขึ้น

โดยผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น คือ การลดต้นทุนและลดทรัพยากรที่เดิมธนาคารและลูกค้าจำเป็นต้องใช้ในการรับส่งข้อมูลการใช้จ่ายทางธุรกิจจำนวนมากให้ลดลงไปได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...