หมอชนะ-ไทยชนะ เหมือนกันหรือไม่ ต่างกันอย่างไร | Techsauce

หมอชนะ-ไทยชนะ เหมือนกันหรือไม่ ต่างกันอย่างไร

นับว่าตั้งแต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นเกิดขึ้น บุคคลากรแนวหน้า ทั้งบุคคลากรทางการแพทย์และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องทางตรงและทางอ้อมนั้นทำงานกันอย่างหนักในการป้องกันไม่ให้การติดเชื้อนั้นขยายวงกว้าง รวมถึงฝั่งประชาชนที่ช่วยเหลือปฎิบัติตามกฎต่างๆ อย่างเคร่งครัด จนตัวเลขผู้ติดเชื้อนั้นเหลือ 0 ในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีนั้นเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือบุคคลากรเหล่านี้ให้ทำงานได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นและทำให้ประชาชนนั้นสามารถที่จะติดตามความเสี่ยงของตัวเองได้ง่าย เราอาจจะเห็นหลายๆ แอปพลิเคชั่นหรือแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ถูกพัฒนามาช่วยในเรื่องของ COVID-19 โดยเฉพาะ 

ซึ่ง ‘หมอชนะ’ และ ‘ไทยชนะ’ ก็เป็นอีกสองแอปพลิเคชันที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือให้ป้องกันการแพร่ระบาด หลายๆ คนก็อาจจะสงสัยว่าทั้งสองแอปฯ นี้ใช่แอปฯ เดียวกันหรือไม่ มาดูกันว่าระหว่างแอปฯ หมอชนะและไทยชนะ นั้นเหมือนกันหรือไม่ และแตกต่างกันอย่างไร

รู้จักแอปฯ หมอชนะ-ไทยชนะ

เรียกได้ว่าแอปฯ หมอชนะนั้นเกิดขึ้นจากปัญหาที่ทางบุคลลาการทางการแพทย์นั้นได้พบเจอและเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างมาก นั่นก็คือการที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนั้นปกปิดข้อมูลการเดินทาง ทำให้แพทย์และพยาบาลนั้นมีความเสี่ยงมากขึ้นจากการติดเชื้อ ดังนั้นแอปพลิเคชัน หมอชนะ จึงเกิดมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งจะใช้ GPS และ Bluetooth เพื่อติดตามตำแหน่งของผู้ใช้แอปฯ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ได้เดินทางผ่านพื้นที่เสี่ยงมาหรือไม่ หากผู้ใช้ไปพื้นที่เสี่ยงมาทางแอปฯ ก็จะแจ้งเตือนค่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น และถ้าหากผู้ใช้แอปฯ ไปเข้ารับบริการทางการแพทย์ ก็สามารถที่จะแสดงแอปฯ ให้แพทย์ได้ดู เพื่อที่พวกเขาจะสามารถประเมิน วิเคราะห์และสามารถที่จะจัดลำดับการรับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ในส่วนของแอปฯ ไทยชนะ หรือ www.ไทยชนะ.com นั้นเกิดขึ้นมาเพื่อติดตามความเสี่ยงจากจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในการล็อกดาวน์ครั้งที่ผ่านมา โดยประชาชนสามารถที่จะแสกน QR Code เพื่อเช็กอินและเช็กเอาท์ตามสถานที่ต่างๆ ที่ได้ไปมา โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บและสามารถที่จะย้อนกลับไปตรวจสอบย้อนหลัง เมื่อพบเจอผู้ติดเชื้อ COVID-19 และสามารถที่จะแจ้งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงผ่าน SMS หรือทางโทรศัพท์ เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงนั้นสามารถที่จะเข้ารับการตรวจได้ทันที

หมอชนะ-ไทยชนะ ต่างกันอย่างไร

1. ระบบการติดตามข้อมูล

  • หมอชนะ: ระบบบอกพิกัดจาก GPS และ Bluetooth รวมถึงการเช็กอินตามสถานที่ต่างๆ ผ่าน QR Code หมอชนะ

  • ไทยชนะ: ระบบจะจัดเก็บข้อมูลผ่านการเช็กอินและเช็กเอาท์ตามสถานที่ต่างๆ ผ่าน QR Code ไทยชนะ

2. การลงทะเบียนใช้งานหมอชนะ-ไทยชนะ

  • หมอชนะ: การลงทะเบียนใช้งานในหมอชนะนั้นเป็นการลงทะเบียนใช้งานแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous) โดยทางแอปฯ จะไม่มีการขอข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชื่อ บัตรประชาชนหรือโทรศัพท์ เพียงแค่ต้องการรูปถ่ายหน้าของผู้ใช้งานรูปเดียวในการเข้าใช้งานครั้งแรกเท่านั้น

  • ไทยชนะ: หากผู้ใช้ไม่มีแอปพลิเคชันไทยชนะก็สามารถที่จะสแกน QR Code เพื่อเช็กอินและเช็กเอาท์ได้เลยโดยแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์เท่านั้น เช่นเดียวกันกับการใช้แอปฯ ไทยชนะ ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนผ่านเบอร์โทรศัพท์และรอ OTP คอนเฟิร์มการลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น

3. การใช้งานและการแจ้งเตือนความเสี่ยง

  • หมอชนะ: โดยเมื่อเริ่มใช้งานแอปฯ หมอชนะ จะต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนเป็นอย่างแรก เมื่อทำเสร็จแล้วระบบจะประเมินความเสี่ยงของผู้ใช้ออกมา โดยแบ่งออกเป็น 4 ค่าสี ซึ่งถ้าหากผู้ใช้มีประวัติเดินทางเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ทางแอปฯ นั้นจะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รู้ถึงค่าสีใหม่ที่ได้เปลี่ยนไป

    • สีเขียว สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่ำมาก
    • สีเหลือง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงน้อย
    • สีส้ม สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยง
    • สีแดง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงมาก

  • ไทยชนะ: ผู้ใช้สามารถที่จะเช็กอินและเช็กเอาท์ผ่านการสแกน QR Code ได้ทันที หากใช้ผ่านแอปฯ ก็จะมีการแสดงผลการเดินทางอยู่บนหน้าแรก และถ้าหากผู้ใช้งานนั้นได้เดินทางไปพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ทางหน่วยงานก็จะแจ้งผู้ใช้งานไปผ่านทาง SMS และผ่านทางโทรศัพท์

4. ผู้พัฒนาแอปฯ

  • หมอชนะ: หมอชนะนั้นเกิดจากความร่วมมือของหลายๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งนำโดยกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระชื่อว่า  “Code for Public” และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้ชื่อ “กลุ่มช่วยกัน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา เครือข่ายโรงพยาบาลและองค์กรสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรธุรกิจจำนวนมาก

  • ไทยชนะ: ไทยชนะของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) นั้นเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้กระทรวงสาธารณะสุข ที่ได้พัฒนาแอปฯ โดยธนาคารกรุงไทย

จากการเปรียบเทียบระหว่างหมอชนะและไทยชนะ เราอาจจะเห็นข้อแตกต่างระหว่างสองแอปฯ หลักๆ นั้นอยู่ที่การใช้งาน โดยหมอชนะนั้นจะติดตามพิกัดของผู้ใช้ผ่านทั้งทาง GPS, Bluetooth และการเช็กอินผ่านสถานที่ต่างๆ และระบบนั้นจะทำการเปลี่ยนสีค่าความเสี่ยงหากเราไปพื้นที่หรืออยู่ใกล้ผู้ที่ติดเชื้อ และจะแจ้งเตือนผ่าน Notification ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงนั้นได้ทราบ แต่สำหรับไทยชนะแล้ว ผู้ใช้นั้นจะต้องเช็กอินและเช็กเอาท์ตามสถานที่ต่างๆ และระบบจะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ เมื่อพบผู้ติดเชื้อ ทางหน่วยงานนั้นย้อนกลับไปตรวจสอบและสามารถที่จะแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงผ่าน SMS และผ่านโทรศัพท์

ต้องยอมรับว่าทั้งแอปฯ หมอชนะและไทยชนะนั้นได้เข้ามามีส่วนช่วยให้การจัดการควบคุมการระบาดของรัฐนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้นในการเช็กความเสี่ยง ตรวจสอบตนเอง และตื่นตัวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งในตอนนี้สถานการณ์การระบาดก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลง ดังนั้น Techsauce ก็ขอสนับสนุนให้ทุกคนนั้นยังใช้แอปฯ เหล่านี้ในการป้องกันทั้งตนเองและผู้อื่น เพื่อที่เราทุกคนจะได้รู้ตัวได้ทันเวลาและสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...

Responsive image

เข้าสู่ยุค AI TV ซัมซุงตอกย้ำผู้นำตลาดทีวีทั่วโลก เปิดตัว​ Samsung AI TV เจาะกลุ่มพรีเมี่ยม

ซัมซุง เปิดตัว Samsung AI TV จัดเต็ม 6 ไลน์อัป อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเจาะเซกเมนต์พรีเมี่ยม...