Zilingo ตลาดแฟชั่นออนไลน์ใน SEA ระดมทุนครั้งใหม่จาก Sequoia และ Venturra ด้วยยอดเงินทุน 8 ล้านเหรียญฯ | Techsauce

Zilingo ตลาดแฟชั่นออนไลน์ใน SEA ระดมทุนครั้งใหม่จาก Sequoia และ Venturra ด้วยยอดเงินทุน 8 ล้านเหรียญฯ

Zilingo ชื่อนี้อาจยังใหม่สำหรับใครหลายคนในตลาดไทย แต่ล่าสุดบริษัท E-commerce แห่งนี้ที่อาจจะเคยคลาดสายตาใครหลายๆ คนไป ได้รับเงินระดมทุนระดับ Series A ที่ 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ โดยผู้ลงทุนหลักในครั้งนี้คือ Sequoia เช่นเคย

รายชื่อนักลงทุนในรอบนี้ประกอบด้วย Sequoia อินเดีย, Venturra Capital อินโดนีเซีย และ Susquehanna International Group ร่วมกับ Wavemaker Partners, Beenext, Beenos และ Digital Garage โดยก่อนหน้านี้ Zilingo ระดมทุนไปได้ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และรวมครั้งนี้เป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Zilingo ก่อตั้งโดย Ankiti Bose อดีตนักวิเคราะห์ของ Sequoia India และ Dhruv Kapoor อดีต Software engineer ของ Yahoo (CTO ของ Zilingo) หลังจากที่ธุรกิจในกรุงเทพฯ ของพวกเขาทำให้เกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับธุรกิจแฟชั่นใน Southeast Asia มาแล้ว โดยบริการของพวกเขาก็คือการเป็นตลาดรวบรวมสินค้าแฟชั่นในไทย สิงคโปร์ และ อินโดนีเซีย (ในเร็วๆนี้)  ถือเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ริเริ่มโมเดลธุรกิจแบบมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น เพื่อไม่ให้ซ้ำรอย Lazada และ Zalora อีก

zilingo-cofounder

Bose และ Kapoor  Co-founder ของ Zilingo

จากการระดมทุนครั้งนี้ Zilingo วางแผนที่จะปล่อยสินค้าในอินโดนีเซียเพิ่ม โดย Bose ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จะย้ายไปอยู่ที่จาการ์ตาเพื่อที่เธอจะได้เข้าถึงการทำตลาด local อย่างแท้จริง และยังมีแผนจะเพิ่มทั้งเทคโนโลยีและการตลาดรูปแบบใหม่ๆ อีกด้วย

ความจริงแล้ว หนึ่งในผลผลิตล่าสุดที่พลิกโฉมใหม่ให้กับ Mobile App ของ Zilingo ก็คือการเพิ่ม Video Coverage ของสินค้าต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบให้เปลี่ยนทุกๆ 3 วัน ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว จะทำให้ลูกค้าก็จะกลับเข้ามาดูอีกเรื่อยๆ เพื่อเช็คว่าสินค้าตัวไหนกำลังเป็นที่นิยม

zilingo-screenshot-2

ในปัจจุบัน ยอดขายกว่า 80% ของ Zilingo มาจากประเทศใน Southeast Asia เอง  แต่ Bose เผยว่า ยังมีบริษัทค้าส่งในยุโรปและเอเชียแปซิฟิคที่ให้ความสนใจ โดยพวกเขาเล็งเห็นว่าเป็นบริการที่สะดวกสบายและเป็นการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำสินค้าเข้ามาขายต่อในตลาดของพวกเขา และแม้ตอนนี้จะยังไม่มีแผนที่จะเพิ่มบริการอื่นที่ตอบรับ Demand นี้ แต่ในอนาคตก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้หาก Supply สูงพอ

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญตอนนี้ก็คือ การทำให้ธุรกิจ local มากขึ้น เพื่อเอาชนะคู่แข่งอย่างเช่น Zalora และ Orami ซึ่ง Bose ทิ้งท้ายไว้ว่า “เราต้องการเพิ่มสินค้าให้มากขึ้น ขยายสู่อินโดนีเซีย และเอาชนะในตลาดค้าขายสินค้าแฟชั่นให้ได้”

ที่มา Techcrunch

สำหรับใครที่สนใจโมเดลธุรกิจอีคอมเมิร์ซเชิงลึกเพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แรงงานฟิลิปปินส์อ่วม Call Center อาชีพประจำชาติ กำลังถูก AI ยึดครอง

ขณะที่ทั่วโลกกำลังถกเถียงกันเรื่อง AI ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรในการทำงาน ชาวฟิลิปปินส์กำลังสัมผัสประสบการณ์นี้แล้ว เมื่อเจ้าตลาด Call center อย่างฟิลิปปินส์ได้เริ่มใช้ AI ในอุตสาหกรร...

Responsive image

ถ้า Tesla ใช้หุ่นยนต์แทนคน อาจเซฟเงินได้มากถึงปีละ 1.7 หมื่นล้านบาท คาดปี 2025 จะมีหุ่นยนต์ 1,000 ตัวทำงานที่โรงงาน Tesla

Tesla อาจประหยัดเงินได้มากถึง 1.9 ล้านบาทต่อปีสำหรับพนักงาน 1 ตำแหน่งที่ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ หรือหากคิดรวมๆ แล้วอาจช่วยให้ Elon Musk ประหยัดได้มากถึงปีละ 1.7 หมื่นล้านบาท...

Responsive image

10 เหตุผลที่ Mate XT มือถือพับ 3 ทบ จาก Huawei ยอดจองทะลุ 4 ล้านเครื่อง! แม้ราคาเฉียดแสน

Huawei สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในตลาดสมาร์ทโฟนอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว Mate XT สมาร์ทโฟนจอพับ 3 ทบรุ่นแรกของโลก ที่มาพร้อมกับยอดจองล่วงหน้าทะลุ 4 ล้านเครื่อง ทั้งๆ ที่ราคาเปิดตัวสู...