Zilingo ตลาดแฟชั่นออนไลน์ใน SEA ระดมทุนครั้งใหม่จาก Sequoia และ Venturra ด้วยยอดเงินทุน 8 ล้านเหรียญฯ | Techsauce

Zilingo ตลาดแฟชั่นออนไลน์ใน SEA ระดมทุนครั้งใหม่จาก Sequoia และ Venturra ด้วยยอดเงินทุน 8 ล้านเหรียญฯ

Zilingo ชื่อนี้อาจยังใหม่สำหรับใครหลายคนในตลาดไทย แต่ล่าสุดบริษัท E-commerce แห่งนี้ที่อาจจะเคยคลาดสายตาใครหลายๆ คนไป ได้รับเงินระดมทุนระดับ Series A ที่ 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ โดยผู้ลงทุนหลักในครั้งนี้คือ Sequoia เช่นเคย

รายชื่อนักลงทุนในรอบนี้ประกอบด้วย Sequoia อินเดีย, Venturra Capital อินโดนีเซีย และ Susquehanna International Group ร่วมกับ Wavemaker Partners, Beenext, Beenos และ Digital Garage โดยก่อนหน้านี้ Zilingo ระดมทุนไปได้ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และรวมครั้งนี้เป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Zilingo ก่อตั้งโดย Ankiti Bose อดีตนักวิเคราะห์ของ Sequoia India และ Dhruv Kapoor อดีต Software engineer ของ Yahoo (CTO ของ Zilingo) หลังจากที่ธุรกิจในกรุงเทพฯ ของพวกเขาทำให้เกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับธุรกิจแฟชั่นใน Southeast Asia มาแล้ว โดยบริการของพวกเขาก็คือการเป็นตลาดรวบรวมสินค้าแฟชั่นในไทย สิงคโปร์ และ อินโดนีเซีย (ในเร็วๆนี้)  ถือเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ริเริ่มโมเดลธุรกิจแบบมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น เพื่อไม่ให้ซ้ำรอย Lazada และ Zalora อีก

zilingo-cofounder

Bose และ Kapoor  Co-founder ของ Zilingo

จากการระดมทุนครั้งนี้ Zilingo วางแผนที่จะปล่อยสินค้าในอินโดนีเซียเพิ่ม โดย Bose ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จะย้ายไปอยู่ที่จาการ์ตาเพื่อที่เธอจะได้เข้าถึงการทำตลาด local อย่างแท้จริง และยังมีแผนจะเพิ่มทั้งเทคโนโลยีและการตลาดรูปแบบใหม่ๆ อีกด้วย

ความจริงแล้ว หนึ่งในผลผลิตล่าสุดที่พลิกโฉมใหม่ให้กับ Mobile App ของ Zilingo ก็คือการเพิ่ม Video Coverage ของสินค้าต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบให้เปลี่ยนทุกๆ 3 วัน ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว จะทำให้ลูกค้าก็จะกลับเข้ามาดูอีกเรื่อยๆ เพื่อเช็คว่าสินค้าตัวไหนกำลังเป็นที่นิยม

zilingo-screenshot-2

ในปัจจุบัน ยอดขายกว่า 80% ของ Zilingo มาจากประเทศใน Southeast Asia เอง  แต่ Bose เผยว่า ยังมีบริษัทค้าส่งในยุโรปและเอเชียแปซิฟิคที่ให้ความสนใจ โดยพวกเขาเล็งเห็นว่าเป็นบริการที่สะดวกสบายและเป็นการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำสินค้าเข้ามาขายต่อในตลาดของพวกเขา และแม้ตอนนี้จะยังไม่มีแผนที่จะเพิ่มบริการอื่นที่ตอบรับ Demand นี้ แต่ในอนาคตก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้หาก Supply สูงพอ

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญตอนนี้ก็คือ การทำให้ธุรกิจ local มากขึ้น เพื่อเอาชนะคู่แข่งอย่างเช่น Zalora และ Orami ซึ่ง Bose ทิ้งท้ายไว้ว่า “เราต้องการเพิ่มสินค้าให้มากขึ้น ขยายสู่อินโดนีเซีย และเอาชนะในตลาดค้าขายสินค้าแฟชั่นให้ได้”

ที่มา Techcrunch

สำหรับใครที่สนใจโมเดลธุรกิจอีคอมเมิร์ซเชิงลึกเพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...