Microsoft เผย 1 ใน 3 ของคอมพิวเตอร์ที่ SME ใช้ในปัจจุบันมีอายุมากกว่า 4 ปี และมีระบบล้าสมัย | Techsauce

Microsoft เผย 1 ใน 3 ของคอมพิวเตอร์ที่ SME ใช้ในปัจจุบันมีอายุมากกว่า 4 ปี และมีระบบล้าสมัย

1 ใน 3 ของคอมพิวเตอร์ที่ SME ใช้ในปัจจุบันมีอายุมากกว่า 4 ปี และ/หรือ มีระบบปฏิบัติการณ์ที่ล้าสมัย

สาเหตุที่ SME ไม่เปลี่ยนอุปกรณ์ไอทีให้ทันสมัยเพราะกลัวว่าอุปกรณ์ใหม่จะไม่รองรับกับระบบที่ใช้อยู่ อีกทั้งไม่เห็นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยน และในบางรายระบุว่าไม่มีงบประมาณ

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการแข่งขันทางธุรกิจ SME ควรเปลี่ยนระบบปฏิบัติการณ์ Windows 7 ก่อนการสนับสนุนจะสิ้นสุดลงในเดือนมกราคม 2020

แม้เทคโนโลยีจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรและขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMB ในประเทศไทยยังคงใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เก่า อีกทั้งขาดการวางแผนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สำคัญอย่าง คลาวด์ และ โมบิลิตี้

จากผลสำรวจพบว่า 1 ใน 3 หรือราว 34% ของ SMB ในประเทศไทยยังคงใช้คอมพิวเตอร์ที่มีอายุมากกว่า 4 ปี และใช้ระบบปฏิบัติการณ์คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน แต่ยังสร้างความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างมหาศาลให้แก่ธุรกิจ โดยจากผลสำรวจ มากกว่า 63% ของ SMB ในประเทศไทยยอมรับว่า พวกเขาเคยประสบปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปีที่ผ่านมากับตัวเอง และเมื่อกล่าวถึงนโยบายด้านโมบิลิตี้ ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่ามีเพียง 1 ใน 4 ของ SMB เท่านั้นที่มีการวางแผนการใช้งานโมบิลิตี้ในธุรกิจ

ผลสำรวจดังกล่าวจัดทำขั้นโดยไมโครซอฟท์เอเชีย1 ซึ่งได้ร่วมมือกับบริษัทสำรวจและจัดเก็บข้อมูลสำหรับธุรกิจ SMB ระดับโลกอย่าง TechAisle ซึ่งทำการสำรวจธุรกิจประเภท SMB ในประเทศไทยกว่า 330 ราย

คุณสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร, ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร ขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารพันธมิตร, ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “เทคโนโลยีคือตัวสร้างโอกาสที่แท้จริงให้กับธุรกิจทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ผู้ประกอบการ SMB ในประเทศควรให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาธุรกิจทั้งในปัจจุบันและเพื่ออนาคต ประเทศไทยมีธุรกิจขนาดเล็กและกลางอยู่มากถึงราว 3 ล้านราย2และแรงงานในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี2ซึ่งเป็นช่วงอายุที่คุ้นเคยและให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะช่วย SMB ในประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว เพื่อธุรกิจจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่องในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจมีอยู่มาก”

เทคโนโลยีที่สำคัญที่ SMB สามารถใช้เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้แก่ การใช้งานอุปกรณ์ผ่านระบบคลาวด์ โดย 54% ของ SMB ในประเทศไทยที่ถูกสำรวจกล่าวว่า พวกเขารู้จักบริการ PC-as-a-Service หรือการเช่าใช้คอมพิวเตอร์ และ 38% มีการวางแผนที่จะใช้บริการดังกล่าวใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งสาเหตุที่ธุรกิจต้องการเปลี่ยนมาใช้บริการดังกล่าวเป็นเพราะ ต้องการอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้เร็วขึ้น(72%) และช่วยลดงานด้านไอทีซัพพอร์ทสำหรับธุรกิจ (62%)

นอกจากนี้  Windows-as-a-Service หรือการเช่าใช้ระบบปฏิบัติการณ์ Windows  ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ SMB สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากระบบปฏิบัติการณ์ใหม่มีการอัปเดตระบบให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ช่วยปิดช่องโหว่ที่อาจส่งผลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ธุรกิจ   ระบบปฏิบัติการณ์ Windows 10 นั้นรองรับแอปพลิเคชั่นที่หลากหลายได้มากกว่าระบบปฏิบัติการณ์รุ่นเดิม มาพร้อม app telemetry, รองรับ ISV partnerships สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและสร้าง feedback loops  และในอนาคตอันใกล้ที่การสนับสนุน Windows 7 จะสิ้นสุดลง ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ที่ยังใช้ระบบปฏิบัติการณ์ Windows 7 ไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการอัปเดตซอฟต์แวร์จาก Windows Update อีกต่อไป   ผู้ประกอบการณ์ SMB ควรเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการณ์รุ่นใหม่     เพื่อรองรับการอัปเดตด้านความปลอดภัย, non-security hotfixes, บริการความช่วยเหลือทั้งแบบฟรีและมีค่าใช้จ่าย และการอัปเดตเนื้อหาทางด้านเทคนิคออนไลน์

ลดช่องว่างในการปรับตัว

จากผลสำรวจพบว่า สาเหตุที่ทำให้ SMB ในประเทศไทยมีการปรับตัวทางเทคโนโลยีช้าเนื่องจาก SMB มีความกังวลว่า ระบบความพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่จะไม่รองรับกับระบบและอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม ทำให้ต้องลงทุนเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากการอัปเกรดอุปกรณ์ (53%) นอกจากนี้ มากกว่าครึ่งหรือราว 56% ของ SMB ที่ถูกสำรวจกล่าวว่า บริษัทไม่ได้ทำตามนโยบายในการอัปเกรดอุปกรณ์ไอที อีกทั้งบางบริษัทที่ตอบแบบสอบถามไม่มีนโยบายเกี่ยวกับการอัปเกรดอุปกรณ์ไอที

การที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMB ไม่มีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในการเปลี่ยนหรืออัปเกรดอุปกรณ์ไอทีนั้นอาจส่งผลเสียระยะยาวให้แก่ธุรกิจ รายงานจากไมโครซอฟท์ระบุว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอายุมากกว่า 4 ปีนั้นมีโอกาสเสียมากกว่าอุปกรณ์ใหม่ถึง 3.3 เท่า ซึ่งเทียบเป็นเงินราว 1,631 USD ต่อเครื่อง (หรือราว 50,561 บาท) และเสียเวลาในการทำงานมากถึง 208 ชั่วโมงต่อปี

เทคโนโลยีที่สำคัญที่ SMB สามารถใช้เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้แก่ การใช้งานอุปกรณ์ผ่านระบบคลาวด์ โดย 54% ของ SMB ในประเทศไทยที่ถูกสำรวจกล่าวว่า พวกเขารู้จักบริการ PC-as-a-Service หรือการเช่าใช้คอมพิวเตอร์ และ 38% มีการวางแผนที่จะใช้บริการดังกล่าวใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งสาเหตุที่ธุรกิจต้องการเปลี่ยนมาใช้บริการดังกล่าวเป็นเพราะ ต้องการอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้เร็วขึ้น(72%) และช่วยลดงานด้านไอทีซัพพอร์ทสำหรับธุรกิจ (62%)

นอกจากนี้  Windows-as-a-Service หรือการเช่าใช้ระบบปฏิบัติการณ์ Windows  ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ SMB สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากระบบปฏิบัติการณ์ใหม่มีการอัปเดตระบบให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ช่วยปิดช่องโหว่ที่อาจส่งผลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ธุรกิจ   ระบบปฏิบัติการณ์ Windows 10 นั้นรองรับแอปพลิเคชั่นที่หลากหลายได้มากกว่าระบบปฏิบัติการณ์รุ่นเดิม มาพร้อม app telemetry, รองรับ ISV partnerships สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและสร้าง feedback loops  และในอนาคตอันใกล้ที่การสนับสนุน Windows 7 จะสิ้นสุดลง ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ที่ยังใช้ระบบปฏิบัติการณ์ Windows 7 ไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการอัปเดตซอฟต์แวร์จาก Windows Update อีกต่อไป   ผู้ประกอบการณ์ SMB ควรเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการณ์รุ่นใหม่     เพื่อรองรับการอัปเดตด้านความปลอดภัย, non-security hotfixes, บริการความช่วยเหลือทั้งแบบฟรีและมีค่าใช้จ่าย และการอัปเดตเนื้อหาทางด้านเทคนิคออนไลน์


 

 

 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เดลต้า ประเทศไทย ชูธงนวัตกรรม ESG คว้าดัชนี FTSE4Good ตอกย้ำความเป็นเลิศ

เดลต้าได้รับคัดเลือกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE4Good Index Series ซึ่งจัดทำโดย FTSE Russell ผู้ให้บริการด้านดัชนีและข้อมูลระดับโลก...

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...

Responsive image

รู้จัก MoneyThunder แก้หนี้นอกระบบด้วย AI แอปสินเชื่อออนไลน์จาก ABACUS Digital

สำรวจปัญหาหนี้นอกระบบในไทยที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 21 ล้านคน พร้อมทำความรู้จัก MoneyThunder แอปสินเชื่อ AI ที่ช่วยคนไทยเข้าถึงเงินทุนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน...