5 AI Startups เปิดตัว AI Developer Group ความร่วมมือแก้ปัญหาโครงสร้างอุตสาหกรรม AI ไทย | Techsauce

5 AI Startups เปิดตัว AI Developer Group ความร่วมมือแก้ปัญหาโครงสร้างอุตสาหกรรม AI ไทย

5 AI Startups ได้แก่ AThenaAI, Perceptra, Gowajee, Eidy และ Float16 ได้ร่วมกับเปิดตัว AI Startup Alliance และ AI Developer Group 

AI Startup Alliance คือความร่วมมือระหว่างบริษัททั้ง 5 บริษัท เนื่องมาจากปัญหาสำคัญที่พบในอุตสาหกรรม AI ของประเทศไทย คือเกิดจากโครงสร้างของอุตสาหกรรม AI ที่ยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม AI ของประเทศชั้นนำของโลก 

ตัวอย่างโครงสร้าง Value chain สำหรับอุตสาหกรรม AI ในต่างประเทศแบ่งออกเป็น 5 ลำดับขั้น ได้แก่ 

  1. Infrastructure (Datacenter, ต้นน้ำ) 
  2. Manage service 
  3. AI Model 
  4. Application (Startup, Software house)
  5. Service and Solution (Turnkey solution, System integrator, ปลายน้ำ)

ปัญหาหลักของ AI Startup ในปัจจุบัน คือความจำเป็นต้องทำทุกอย่างตั้งแต่ต้นน้ำ (การซื้อหรือเช่าเซิร์ฟเวอร์เอง) ไปจนถึงปลายน้ำ (การให้บริการ AI ผ่านแอปพลิเคชันของตนเอง) เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้ ส่งผลให้ต้องใช้ทีมงานขนาดใหญ่และต้องทำงานในส่วนที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญหลักของผู้ก่อตั้งบริษัท

ความร่วมมือระหว่าง 5 AI Startup ที่มารวมตัวกันในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์ใหม่ในวงการ AI Startup ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการ โครงสร้างหรือระบบนิเวศที่มีผู้เล่นหลากหลาย เพื่อทดแทนการสร้างทุกอย่างอย่างโดดเดียว อันอาจส่งผลให้ AI ไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ 

เป้าหมายของระบบนิเวศนี้คือการสร้างพื้นที่ให้นักพัฒนา AI ในส่วนต่างๆ ของ Value chain มีที่จุดร่วมและจุดเริ่มต้นในอุตสาหากรรม AI โดยมีการเชิญชวนสตาร์ทอัพอื่นๆ ให้เข้าร่วมกลุ่มมากขึ้น ด้วยความคาดหวังว่าหากการริเริ่มครั้งนี้ประสบความสำเร็จ จะเกิดความร่วมมือในลักษณะนี้มากขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน 

5 AI Startup ที่ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ได้ตกลงร่วมมือกันใน 4 มิติ ได้แก่

1. ชุมชนนักพัฒนาและเทคโนโลยีขั้นสูง (AI Developer Group) เนื่องจากตลาดของอุตสาหกรรม AI ต้องการความรู้พื้นฐานและความเข้าใจ AI อย่างยิ่งยวด ประกอบกับสื่อและความเท่าทันด้านเทคโนโลยีในประเทศไทยยังตามหลังประเทศชั้นนำระดับโลก

ส่งผลให้การบริโภค AI Software ในประเทศไทยเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมีกระบวนการก่อนการขาย (Pre-sale) ที่ยาวนานและต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าเพิ่มเติมเพื่อให้องค์กรไทยยอมรับและใช้เทคโนโลยี เมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ ทำให้มีต้นทุนแฝงที่มากขึ้น

จึงมีแผนที่จะร่วมมือกันสร้าง AI Developer Group เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการพัฒนา AI ที่มีมาตรฐานและการนำ AI ไปใช้งานอย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ Developer ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรม AI ยังขาดวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน สังเกตได้จากการที่บริษัท Software ไทย ส่วนใหญ่ไม่มี Developer Advocate หรือ Developer Relationship ที่ช่วยให้บริการต่างๆ เชื่อมต่อกันได้ 

อีกทั้งยังขาดความเข้าใจภาพรวมของ Value chain เช่น การทำธุรกิจแบบ API first หรือการทำธุรกิจแบบ Infrastructure จึงมีความตั้งใจที่จะรวมตัวกันเพื่อสร้างองค์ความรู้และแหล่งข้อมูลการศึกษาในส่วนของ Developer เพิ่มขึ้น

2. การวิจัย มีการตระหนักถึงความซ้ำซ้อนและโอกาสในการร่วมกันพัฒนาการวิจัยระหว่าง Startup โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อใช้สำหรับพัฒนา AI ของแต่ละ Startup การร่วมมือทำงานวิจัยร่วมกันจะช่วยให้เกิดการแบ่งปันความรู้และทำให้ผู้พัฒนาแต่ละรายสามารถพัฒนาเทคโนโลยีของตนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและต้นทุนถูกลง

3. GPUs เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการขยายธุรกิจของ Startup การเข้าถึง H100 จำนวน 4,096 ใบ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ AI Startup Alliance สามารถมั่นใจในการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศและรองรับการใช้งานให้ครอบคลุมสำหรับผู้ใช้งานทั่วทั้งเอเชียและทั่วโลก

4. ชุมชนนักลงทุนและผู้ก่อตั้ง มีความยินดีที่จะส่งเสริมผู้ก่อตั้ง AI Startup รายอื่นๆ ในการเข้าถึงนักลงทุนหรืองานอีเวนต์ระดับโลกที่จะสร้างการรับรู้และศักยภาพการเติบโตให้กับ Startup ไทย โดยจะมีการรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับนักลงทุน, VC และงานอีเวนต์ระดับโลกให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้สตาร์ทอัพไทยได้ปรากฏตัวในเวทีระดับโลกอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่เราจะทำ

  1. การสร้างสื่อประเภท Edutainment เกี่ยวกับเทคโนโลยี AI และการประยุกต์ใช้ API หรือ AI เป็นส่วนหนึ่งของ Feature ใน Application หรือ Solution สำหรับ System Integrator ตลอดจนการสร้างแหล่งข้อมูลการศึกษาสำหรับ Developer ในด้านการพัฒนา AI ที่ได้มาตรฐาน
  2. การแลกเปลี่ยนและปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานซอฟต์แวร์ กฎหมายของแต่ละประเทศ รายชื่อนักลงทุนและกองทุน รวมถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นในภูมิภาคเอเชียระหว่างพันธมิตรในเครือข่าย
  3. Float16 มีภารกิจในการแสวงหาโอกาสนำเสนอ Alliance แก่ภาคเอกชนและภาครัฐในต่างประเทศ ตลอดจนการเข้าร่วมงานหรือการประชุมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Alliance
  4. Float16 รับผิดชอบในการสร้างชุมชนนักวิจัย AI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA AI researcher community) โดยร่วมมือกับทีม Sailor และ SeaLLM โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงนักวิจัย AI เข้าด้วยกัน
  5. เสริมสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเชิงลึกที่จำเป็นในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานทั้ง Value Chain

การมีส่วนร่วม

Developer & Software house

สามารถใช้ developer resource อาทิ เช่น youtube playlist, tutorial, ตัวอย่างโปรเจค และ คู่มือการใช้งาน AI เพื่อศึกษาและทดลองนำไปเป็นหนึ่งใน Feature ของ Application หรือโปรเจค

SI

สามารถ Upskill ด้าน AI use case ของตนเอง ได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์และสื่อที่เผยแพร่ทาง Youtube และสามารถถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับ AI Application หรือ Use case ได้ใน Social group

โดย SI สามารถ Request ของ demo, sell handbook และ app catalog จากทาง Alliance เพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งของ Solution ของตนเอง 

Startup

สามารถ Upskill ด้าน AI Application ของตนเอง ได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์และสื่อที่เผยแพร่ทาง Youtube และสามารถถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับ AI Application หรือ Use case ได้ใน Social group

โดย Startup สามารถ Request ขอการ Training, Consult และการ Launch product ออกสู่ตลาด

VC

VC สามารถแนะนำ AI Event ที่ควรเข้าร่วมและ Introduce ทาง Alliance ให้กับทาง Partner ที่ Focus เกี่ยวกับ AI โดยเฉพาะ ได้ตลอดเวลา ผ่านอีเมล [email protected] (Broadcast email)

ระยะเวลาสิ้นสุดความร่วมมือ

6 เดือน (31 ธ.ค. 2567) เพื่อเตรียมสรุปผลและทิศทางต่อไปในอนาคต

รายชื่อ Startup

  • AThenaAI (https://athenaai.co)

  • Perceptra (https://perceptra.tech)

  • Eidy (https://eidy.cloud)

  • Gowajee (https://gowajee.ai)

  • Float16 (https://float16.cloud)

รายชื่อ ผู้แถลงข่าว

  • ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต CEO AThenaAI

  • ดร.วราสิณี ฉายแสงมงคล Co-Founder Perceptra

  • พญ.นวพร นะลิตา CEO Eidy

  • นายพิสุทธิ์ หวง CEO Gowajee

  • นายมติชน มณีกาศ CEO Float16.cloud

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...