รวมไฮไลท์ Adobe Summit กับนวัตกรรม AI/ML และ Mixed Reality ที่ทำให้ Marketing ง่ายขึ้น | Techsauce

รวมไฮไลท์ Adobe Summit กับนวัตกรรม AI/ML และ Mixed Reality ที่ทำให้ Marketing ง่ายขึ้น

ทุกๆ ปี Adobe จะระดมมุมมองความคิดเห็น ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจจากพนักงานของ Adobe กว่า 21,000 คนทั่วโลก ตั้งแต่ วิศวกร Data Scientist ไปจนถึง UX designer, Product Manager มาสกัดเป็นไอเดียเพื่อพัฒนาแนวทางหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยให้แบรนด์ต่างๆใช้สื่อสาร และตอบสนองความต้องการของลูกค้า วันนี้เราได้รวบรวมเทคโนโลยีล่าสุดจากการนำเอาศักยภาพของ AI/ML และ Mixed Reality (MR) ไว้ใน 7 โปรเจกต์ที่ยอดเยี่ยม ภายในงาน Adobe Summit 

ไฮไลท์ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับงาน Adobe Summit ที่เราไม่พูดไม่ถึงไม่ได้ คือ โชว์เคสรอบ Sneak ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมของ Adobe ตลอดเวลา 9 ปีที่ทีมของเราได้ร่วมกันสร้างสรรค์ไอเดียจนต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่ช่วยแบรนด์ต่างๆ บริหารจัดการประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience Management - CXM) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าด้วย Adobe Analytics คือหนึ่งในผลงานล่าสุดที่นำศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) มาช่วยแบรนด์ทำการบ้านในการหาวิธีให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้งในโลกดิจิทัลและโลกจริง ระหว่างช่วง Sneaks เราได้หยิบตัวอย่างธุรกิจค้าปลีกที่แบรนด์ได้ทดลองใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการใช้ดิจิทัลดึงดูดให้ลูกค้ากลับไปใช้บริการหน้าร้าน รอบ Sneaks ในงาน Adobe Summit 2020 มีโชว์เคสที่เป็นไฮไลท์ดังนี้: 

เปลี่ยนเสื้อผ้าด้วยพลังจาก AI เมื่อช้อปผ่าน e-commerce 

ร้านค้าปลีกออนไลน์พยายามอย่างหนักเพื่อปล่อยคอลเลคชั่นแฟชั่นออกมาในแต่ละไตรมาส เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคด้วยแฟชั่นล่าสุด แบรนด์ดังอย่าง Zara ที่ส่งคอลเล็กชั่นใหม่ๆ สู่ตลาดแฟชั่นมากถึง 12,000 แบบต่อปี ซึ่งโดยทั่วไป เราได้เห็นแบรนด์เก็บคอลเล็กชันเสื้อผ้า รองเท้า และไอเท็มที่คนต้องมี ในรูปแบบภาพถ่ายแฟชั่น ผ่านเลนส์กล้องของช่างภาพจะเน้นอารมณ์นางแบบ นายแบบที่ถ่ายทอดเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อดึงดูดเหล่านักช้อปให้เห็นถึงสไตล์ของแบรนด์และการสวมใส่บนเรือนร่างจริง แต่งานนี้ Adobe นำเสนอโชว์เคสโปรเจกต์ X ผ่าน Adobe Experience Manager ที่ดึงเอา AI มาช่วยจัดการในกระบวนการดังกล่าวให้ง่ายดายขึ้น โดยแต่ละครั้งที่มีการเปิดตัวคอลเลคชันใหม่ๆ ออกมา AI จะเข้ามาช่วยจัดวางเสื้อผ้าให้เข้ารูปกับส่วนโค้งส่วนโค้งของนางแบบ นายแบบ ซึ่งช่วยให้ทีมงานได้ภาพโปรโมทแฟชั่นจากหลายมุมมอง จากผลการศึกษาล่าสุดระบุว่า มากกว่า 75% ของสาวนักช้อปพึงพอใจแบรนด์ที่สามารถนำเสนอความหลากหลายของนางแบบ นายแบบจากหลายเชื้อชาติในโฆษณา นอกจากนี้ในฝั่งของผู้บริโภค เทคโนโลยีเดียวกันในโปรเจกต์ X ยังเปิดโอกาสให้นักช้อปสามารถเห็นชุดเสื้อผ้าแบบเต็มๆบนตัวนางแบบได้ทุกมุม

สนับสนุนให้บุคคลทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงคอนเทนต์การตลาดได้มากขึ้น

องค์การอนามัยโลกประเมินว่า 285 ล้านคนทั่วโลกทรมานกับความบกพร่องทางการมองเห็น ในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีประชากรมากกว่า 43 ล้านคนเผชิญกับโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) คือ ความบกพร่องในการอ่านและเขียน หรือความผิดปรกติเฉพาะด้านการเรียนรู้ เมื่อผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ที่ตนชื่นชอบ พวกเขามักจะได้รับประสบการณ์ดิจิทัลร่วมกับแบรนด์ได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น โปรเจกต์ X ของ Adobe ช่วยให้นักการตลาดสามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ในแคมเปญที่แตกต่างออกไป ไม่ว่าจะอยู่บนอีเมลล์หรือแลนดิ้งเพจกลุ่มบุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น หรือความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก็สามารถมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้ โดยการผนวกรวมเข้ากับแอปอย่าง Adobe Campaign ซึ่งมีวิดเจ็ตตรวจจับภาพ หรือลอก (copy) ประเด็นที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของ Web Content Accessibility Guidelines (คล้ายๆการตรวจสอบการสะกดคำ) ระบบจะชี้นำจุดที่มีปัญหาเรื่องการตัดกันของสี สำหรับกลุ่มคนที่มีปัญหาทางสายตาอย่างถาวร ระบบจะทำให้มั่นใจว่า screen readers จะอ่านข้อมูลอย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่แบรนด์ประสบพบเจอมาอย่างยาวนาน แล้วนักการตลาดก็สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดโดยไม่รบกวนเวิร์คโฟลว์ที่มีอยู่

AI สำหรับครีเอทภาพทีเซอร์ และแคปชั่น

เมื่อคอนเทนต์ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกโพสต์ของแบรนด์ในช่วงวันหยุด หรือมาในรูปแบบบทความท่องเที่ยวก็ตาม นักการตลาดย่อมต้องใช้ภาพทีเซอร์เพื่อดึงดูดความสนใจผู้อ่าน ในแต่ละปีมีบทความจากแบรนด์ต่างๆ มากกว่าพันชิ้นถูกตีพิมพ์ออกมา ผ่านกระบวนการที่ยากลำบากและใช้เวลานาน และบ่อยครั้งที่ทีเซอร์ถูกเลือกโดยปราศจากการอ้างอิง หรือไม่มีการใช้ดาต้ามาวิเคราะห์กลุ่มผู้อ่านแต่ละกลุ่ม แต่ด้วยโปรเจกต์ X ของ Adobe ที่ได้พลัง AI มาช่วย ทำให้กระบวนการการผลิตทีเซอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงใจกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Adobe Sensei จะเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากคอนเทนต์ จากนั้นจึงผลิตภาพและแคปชั่นโดยอ้างอิงจากเรื่องราว เลเยอร์ชั้นข้อมูลของ Personalization จะใช้ AI ช่วยคัดเลือกภาพให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน เช่น บางกลุ่มต้องการคอนเทนต์ที่เป็น informative มากกว่าดูภาพ รวมถึงการเลือกใช้แคปชั่นที่มีผลต่ออารมณ์และความสนใจของผู้อ่าน

สร้าง Customer Segments ด้วย Natural Language

ด้วยการทำงานของ Adobe Experience Platform แบรนด์สามารถรวบรวมข้อมูลจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ บันทึกข้อมูลการขาย (POS) หรือแม้แต่ข้อมูลจากคอลเซ็นเตอร์ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ (new customer segments) และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามการสร้างกลุ่มเป้าหมายต้องอาศัยการจัดเก็บข้อมูลเชิงลึก หาความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย และรวบรวมและนำไปใช้ในทางที่ถูกต้อง Adobe จึงนำเสนอโปรเจกต์ X การทดลองใช้อินเทอร์เฟส language-based ใน Adobe Experience Platform เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ว่าจะอยู่เลเวลไหนก็สามารถสร้างกลุ่มลูกค้าที่มีประสิทธิภาพโดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลถูกสร้างมาอย่างไร นั่นหมายถึงนักการตลาดสามารถเข้าถึง “สาวนิวยอร์กที่เพิ่มรายการช้อปปิ้งรองเท้าไว้ในตะกร้าออนไลน์ และจะไปรับของที่ร้าน” โดยระบบจะทำการวิเคราะห์คำถาม เจาะลึกข้อมูลเชิงลึกด้วย Adobe Experience Platform และนำเสนอกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้งาน

เพิ่มคำอธิบายสุดล้ำในเอกสารดิจิทัลด้วย Mixed Reality

การทำงานบนเครื่องมือดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งจะง่ายกว่าที่ผ่านมา แต่หลายคนยังคงอยากอ่านข้อมูลจากเปเปอร์ฉบับจริง ทว่าการแชร์ไอเดียระหว่างเอกสารดิจิตอลกับโลกจริงแทบจะเป็นไปไม่ได้ ทว่าปัจจุบัน Adobe คลอดโปรเจกต์ใหม่จาก Adobe Document Cloud และ Adobe Experience Platform  ซึ่งใช้  Augmented Reality (AR) มาช่วยแก้ปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างโลกดิจิตอลกับโลกจริง เช่น ฝ่ายการตลาดและฝ่ายครีเอทีฟสามารถอัพเดทแคตาล็อกสินค้าในเวลาเดียวกันได้ โดยฝ่ายครีเอทีฟสามารถคอมเมนต์ภาพสินค้าจากเครื่องมือใน Document Cloud ขณะที่ฝ่ายการตลาด (ที่กำลังเดินทางโดนรถไฟ) สามารถอ่านคอมเมนต์ต่างๆ ของฝ่ายครีเอทีฟบนแคตาล็อกตัวจริงได้จากการแค่ “หมุนโทรศัพท์มือถือของตัวเอง” เหนือแคตาล็อกตัวจริงผ่านการทำงานของ AR โดยที่ฝ่ายการตลาดยังสามารถเพิ่มคอมเมนต์ด้วยการพูดผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยคำพูดเหล่านั้นจะถูกแปลงเป็น text ในไฟล์ PDF เพื่อให้ฝ่ายครีเอทีฟสามารถอ่านได้ทันที

สร้าง Customer Journey เชิงลึกแบบเรียลไทม์

จินตนาการถึงสถานการณ์เมื่อแบรนด์ต้องการสร้างสัมพันธภาพอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มลูกค้าประเภทที่ “เงียบหายไปเป็นเดือน” ทีมการตลาดจะเริ่มต้นสร้าง journey ที่แตกต่างกันออกไป โดยเริ่มต้นจากการแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเดียวกันออกเป็นกลุ่มๆ จากนั้นจึงออกแบบวิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ลูกค้ากลุ่มหนึ่งอาจถูกจัดอยู่ในจำพวก “ยอมให้กับสินค้าลดราคา” (Discount Lovers) แบรนด์จึงต้องรอเวลานานกว่า journey ของลูกค้าจะจบ (อาจใช้เวลานานกว่าสัปดาห์) จึงจะทราบว่าแผนการตลาดที่ใช้นั้นเวิร์คหรือไม่ Adobe จึงพัฒนาโปรเจกต์ X ใน Adobe Campaign ที่ช่วยให้แบรนด์สามารถติดตาม journey ของผู้บริโภคได้แบบเรียลไทม์ และแนะนำวิธีการสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างตรงโจทย์ ตัวอย่างเช่น ทีมทราบว่ามีเพียง 1% เท่านั้นของกลุ่มลูกค้าที่ “ยอมให้กับสินค้าลดราคา” เข้าร่วมแคมเปญโปรโมชั่นที่แบรนด์จัด Adobe Sensei จะใช้พลังของ AI และ M/L มาช่วยวิเคราะห์รูปแบบและระบุหาสาเหตุของการไปไม่ถึงเป้านี้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะเป็นเพราะลูกค้าต้องการรับข้อมูลข่าวสารที่ตอบคำถามพวกเขาเรื่อง “วิธีการใช้บริการ” ที่ไม่ใช่ส่วนลดอีกต่อไป โดย Adobe Sensei จะช่วยสร้าง journey ใหม่ๆที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้ลูกค้ากลับมามีส่วนร่วมกับแบรนด์เหมือนเดิม 

แนวคิด No-Code Interface สำหรับการผนวกรวมระบบที่สร้างขี้นเอง

เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน (productivity) สูงสุด แบรนด์จึงสร้างแอปพลิเคชั่น (custom apps) เพื่อให้เทคโนโลยีของพวกเขาสามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนคอนเทนต์ และข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ใน Adobe Exchange มีหลายแอปที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องมือใน Adobe Creative Cloud, Experience Cloud และ Document Cloud ด้วยเทคโนโลยีภายนอก Adobe จึงพัฒนาในโปรเจกต์ X ซึ่งเป็น No-Code Interface ในการสร้างแอปพลิเคชัน (custom apps) และสร้างเวิร์คโฟลว์ใหม่ในการทำงาน ผู้จัดการด้านอีคอมเมิร์ซสามารถใช้แพลตฟอร์ม Adobe Experience Manager (AEM) เพื่อเข้าถึงภาพบนเว็บไซต์ ทีมงานสามารถจัดเรียงลำดับกิจกรรมที่อัพโหลดภาพแคมเปญผ่าน Adobe Creative Cloud และใช้ AI จาก Adobe Sensei มาเซตขนาด และความคมชัดภาพของตามข้อบังคับของแต่ละแบรนด์ รวมถึงช่วยแต่งภาพนางแบบตั้งแต่คางจนถึงนิ้วมือ หรือการสวอชภาพด้วย Photoshop ก่อนปิดท้ายด้วย Adobe I/O ติดแท็กเพื่อให้ภาพค้นหาได้ง่ายในอนาคต ทุกขั้นตอนที่กล่าวมานั้นสามารถทำได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดใดๆ เพียงแค่ใช้ประสิทธิภาพขั้นสูงจาก Adobe Experience Cloud เมื่อภาพถูกเปิดใช้ ผู้จัดการอีคอมเมิร์ซก็จะมีคลังภาพ (ก่อนการปรับแต่ง) ตามกฎข้อบังคับของแต่ละแบรนด์ ช่วยให้ประหยัดเวลาและพลังงาน และสามารถเอาเวลาไปทำงานอย่างอื่นที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจมากกว่า

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...