โครงการ “AI for Earth” จาก Microsoft เปิดโอกาสให้นักวิจัยทั่วโลกยื่นขอทุนได้แล้ววันนี้ | Techsauce

โครงการ “AI for Earth” จาก Microsoft เปิดโอกาสให้นักวิจัยทั่วโลกยื่นขอทุนได้แล้ววันนี้

Microsoft ชูศักยภาพ AI ขับเคลื่อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก พร้อมเน้นตัวอย่างความสำเร็จจากโครงการ “AI for Earth” ที่มอบทุนวิจัยให้กับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมไปแล้วกว่า 236 โครงการใน 63 ประเทศ พร้อมก้าวเข้าสู่ปีที่สามของการสานฝันของนักวิจัยให้เป็นความจริงอย่างยั่งยืน เปิดให้ยื่นโครงการขอทุนได้แล้ววันนี้ จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2019

โครงการ “AI for Earth” ของ Microsoft ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2017 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำนวัตกรรม AI และคลาวด์มาเติมศักยภาพให้ทีมวิจัย สถาบันการศึกษา และองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม สามารถเฝ้าสังเกตการณ์ จำลอง คาดการณ์ บริหารจัดการ และปกป้องสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและระบบนิเวศต่างๆ ได้ด้วยวิธีการใหม่ๆ หรือประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยพิจารณามอบทุนวิจัยในรูปของทรัพยากรคลาวด์บนแพลตฟอร์ม ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ ให้กับโครงการวิจัยเชิงสิ่งแวดล้อมใน 4 ด้านใหญ่ๆ ได้แก่ เกษตรกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ ความแปรปรวนของสภาพอากาศ และทรัพยากรน้ำ

“ตลอดรอบปีที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนต่างก็ให้ความสนใจในเทคโนโลยี AI กันอย่างมากมาย โดยมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลัก แต่ที่จริงแล้ว AI ยังสามารถทำอะไรได้อีกมากให้กับมนุษย์” คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Microsoft (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “AI for Earth เป็นโครงการระดับโลกที่เปิดให้ทีมวิจัย องค์กร และสถาบันจากทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสเสนอแนวคิดใหม่ๆ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อปกป้องโลกของเราให้รักษาไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของทั้งมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนโลกใบนี้”

ปัจจุบัน เป็นที่คาดการณ์กันว่ามีขยะพลาสติกรวมกว่า 5 ล้านล้านชิ้นล่องลอยอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก หรือคิดรวมกันเป็นน้ำหนักถึง 250,000 ตัน โดยขยะเหล่านี้ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำแล้ว ยังลอยเข้าฝั่งมาสร้างความเสียหายทั้งในทางสภาพแวดล้อมและทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากกรณีการปิดฟื้นฟูอ่าวมาหยาอย่างไม่มีกำหนดในประเทศไทยเอง หรือการปิดเกาะโบราไกย์ในฟิลิปปินส์ เพื่อให้ความงดงามทางธรรมชาติของสถานที่เหล่านี้ได้ฟื้นคืนมา แต่กลับต้องแลกมาด้วยความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยในกรณีการปิดเกาะโบราไกย์เป็นเวลา 6 เดือนนั้น เท่ากับเป็นการสูญเสียมูลค่าทางการท่องเที่ยวไปถึง 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

องค์กรการกุศล Sustainable Coastlines จากประเทศนิวซีแลนด์ ได้มุ่งทำงานเพื่อแก้ปัญหาขยะในท้องทะเลมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ทั้งในนิวซีแลนด์เองและประเทศอื่นๆ ตามแนวฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และด้วยพลังจาก AI พวกเขาจึงสามารถพัฒนาโซลูชั่นใหม่ที่ช่วยให้ทุกภาคส่วนทำความเข้าใจในปริมาณและแนวโน้มสถานการณ์ขยะในพื้นที่ชายหาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

โครงการฐานข้อมูลขยะของ Sustainable Coastlines พัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยี Enlighten Designs กรมอนุรักษ์ธรรมชาติ กระทรวงสิ่งแวดล้อมประเทศนิวซีแลนด์ และสถาบันสถิติแห่งนิวซีแลนด์ โดยมีแพลตฟอร์ม Microsoft  Azure เป็นพื้นฐานรองรับการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ระบบนี้เปิดให้ประชาชนจิตอาสาและนักวิจัยอิสระได้เข้าถึงฐานข้อมูลนี้ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายได้เรียนรู้ถึงสถานการณ์ปริมาณขยะ ประเภทขยะ และแหล่งขยะในพื้นที่ชายฝั่ง ก่อนจะนำไปต่อยอดในรูปของกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อรักษาความสะอาดและฟื้นฟูชายหาดสู่สภาวะปกติอีกครั้ง

ในฐานะหนึ่งในทีมวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการ AI for Earth ของ Microsoft ทาง Sustainable Coastlines มีแผนที่จะพัฒนาระบบ machine learning เพื่อคาดการณ์รูปแบบการกระจายตัวของขยะในมหาสมุทร และจุดที่ขยะอาจพัดพาไปกองสุมได้ในอนาคต นอกจากนี้ ทางทีมยังตั้งใจที่จะขยายระบบออกไปใช้งานในพื้นที่อื่นๆ นอกประเทศนิวซีแลนด์ โดยจะเริ่มใช้งานที่ฮาวายและปาปัวนิวกินีเร็วๆ นี้

อีกหลากหลายนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม จากมันสมองนักคิดทั่วโลก

โครงการฐานข้อมูลขยะของ Sustainable Coastlines เป็นเพียงหนึ่งในหลากหลายนวัตกรรมที่ก้าวจากแนวคิดสู่ความเป็นจริงภายใต้โครงการ AI for Earth โดยยังมีตัวอย่างผลงานเด่นในโครงการนี้อีกมากมาย

Wild Me องค์กรไม่แสวงผลกำไรจากสหรัฐฯ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน Wildbook ขึ้น เพื่อให้นักวิจัยและอาสาสมัครทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการปกป้องและติดตามสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ด้วยระบบ AI และคลาวด์ที่สามารถตรวจจับ จดจำ และติดตามลักษณะเฉพาะของสัตว์แต่ละตัว เช่นสี ลายบนผิวหนัง โทนเสียง และอื่นๆ ผ่านทางข้อมูลภาพและเสียงที่บันทึกโดยใครก็ตามที่ได้พบเห็นสัตว์ตัวนั้น โดยระบบจะใช้ข้อมูลที่ทุกคนร่วมกันเก็บจากพื้นที่จริงมาช่วยในการติดตาม เก็บข้อมูล วิเคราะห์พฤติกรรม และสนับสนุนการปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ต่อไป

ส่วน FarmBeats นำข้อมูลจากอุปกรณ์เซนเซอร์มากมายมาเก็บข้อมูลจากพื้นที่ทำการเกษตร นับตั้งแต่ตัวตรวจวัดความชื้น สารอาหาร และอุณหภูมิในหน้าดิน ไปจนถึงภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่ และอื่นๆ มาวิเคราะห์ด้วยระบบ machine learning เพื่อสรุปออกมาเป็นคำแนะนำให้เกษตรกรวางแผนการปลูกและเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ให้ได้ผลผลิตดีที่สุด

โครงการ AI for Earth เปิดให้ทีมวิจัยจากทั่วโลกสามารถยื่นขอการสนับสนุนได้ตลอดปี โดยจะมีการพิจารณาอนุมัติปีละ 4 ครั้ง สำหรับการพิจารณาอนุมัติรอบต่อไป จะปิดรับการยื่นรายละเอียดโครงการในวันที่ 9 กรกฎาคม 2019 เวลา 13:59 น.

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ AI for Earth ได้ที่ https://www.microsoft.com/en-us/ai/ai-for-earth หรือยื่นเอกสารขอรับการสนับสนุนได้ที่ https://msrprograms.cloudapp.net/AI4EARTHGrants

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

กรุงศรีตั้ง ปาลิดา อธิศพงศ์ นั่งรักษาการกรรมการผู้จัดการของ Krungsri Finnovate เดินหน้าสตาร์ทอัปไทย

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประกาศแต่งตั้ง นางสาวปาลิดา อธิศพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการ Krungsri Finnovate...

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...