AppMan จัดงานเสวนา ภายใต้หัวข้อ AI: Next Future in Financial World หรือ เอไอ โลกใบใหม่ ของธุรกิจการเงิน เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนธุรกรรมการเงินที่ดีที่สุดในบริษัทขนาดเล็ก , SME และ ประชาชนทั่วไป
คุณธนภูมิ เจริญศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แอพแมน จำกัด และ หนึ่งในสมาชิกสมาคมฟินเทคประเทศไทย จัดงานเสวนา ภายใต้หัวข้อ AI: Next Future in Financial World หรือ เอไอ โลกใบใหม่ ของธุรกิจการเงิน โดยมี คุณชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอนันดาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นประธานเปิดงานต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ พร้อมทั้งคุณกรณ์จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์รองหัวหน้าพรรค และทีมเศรษฐกิจใหม่ พรรคประชาธิปัตย์, คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด, คุณชลเดช เขมะรัตนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มโรโบเวลธ์ และ คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ให้เกียรติมาแชร์ประสบการณ์ กรณีศึกษา และ อัพเดทเทรนด์ ด้านการปรับใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น ฟินเทค (Fintech), บล็อกเชน (Blockchain), กิจกรรมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Mutual Fund Brokerage Securities) และ สินเชื่อ (Finance) เป็นต้น
ภายในงานแบ่งออกเป็นปาฐกถาพิเศษจาก คุณกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเรื่องการพัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเงิน (Fintech) อาทิ Blockchain, AI หรือ RobotTech เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนธุรกรรมการเงินที่ดีที่สุดในบริษัทขนาดเล็ก,เอสเอ็มอี และ ประชาชนทั่วไป พร้อมเปิดเผยเป้าหมายสำคัญ 4 ข้อ ของสมาคมฟินเทคประเทศไทย ดังนี้
1. Financial Access ทุกคนมีความเสมอภาคต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2. Financial Cost การลดต้นทุนทางการเงินโดยใช้เทคโนโลยี
3. ส่งเสริม Fintech StartUp ประเทศไทย ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริม Fintech ประเทศไทย มีศักยภาพเพียงพอที่จะแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
พร้อมทั้งการแสดงวิสัยทัศน์จาก คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรค และทีมเศรษฐกิจใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ เรื่องบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย และสนับสนุนการสร้างอาชีพใหม่ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี ผู้ช่วยสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงินให้ดำเนินชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น พร้อมช่วยส่งเสริมประเทศไทยก้าวสู่โมเดล Thailand 4.0โดยสมบูรณ์แบบ
หลังจากนั้นมีการจัดเสวนา แบบ Panel Discussion แสดงให้เห็นถึง AI ถูกนำเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆ อย่างแพร่หลาย อาทิ กลุ่มธุรกิจการเงิน การธนาคาร และ สินเชื่อ ใช้ AI ในการตอบคำถามพื้นฐานเสมือนจริงผ่านคอลเซ็นเตอร์ และ ใช้ข้อมูล บิ๊กดาต้า (Big Data) มาวิเคราะห์ และ การคาดการณ์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ การบริการในหลากหลายภาคส่วน เช่น การอนุมัติบัตรเครดิต และ การอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้น่าพอใจอย่างยิ่ง ทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ส่วนกลุ่มธุรกิจบล็อกเชน (Blockchain) ใช้ AI สำหรับการบริหารจัดการกระบวนการรู้จักลูกค้าและพิสูจน์ตัวตนลูกค้า หรือเรียกกันว่า Know Your Customer-KYC ในการออนบอร์ดดิ้ง (Onboarding) ของลูกค้า ซึ่งสามารถช่วยดูแลลูกค้าที่มาใช้บริการจำนวนมหาศาลต่อวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วกว่าเดิม
ด้านกลุ่มธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ ได้นำ อัลกอริทึ่มเทรดดิ้ง (Algorithmic Trading) หนึ่งในเครือข่าย AI พร้อมทั้งการใช้ข้อมูล บิ๊กดาต้า (Big Data) มาช่วยวิเคราะห์ และ ช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้เล่นในตลาด และเป็นตัวช่วยที่สำคัญแก่ทีมผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) และ ทีมนักวิเคราะห์กองทุนรวม (Fund Analyst) สามารถทำงานได้คล่องตัว รวดเร็ว สะดวก และมีการตัดสินใจที่ถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น
และกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี แบ่งปันประสบการณ์การทำงานร่วมกับกลุ่มธุรกิจไฟแนนซ์ ที่มีปัญหาปริมาณงานเอกสารจำนวนมหาศาล เช่น เอกสารหลักฐานการแสดงตัวตน (KYC) การเคลม หรือ การขอสินเชื่อ พนักงานต้องบันทึกข้อมูลซ้ำๆ ทำให้เกิดความล่าช้าในการบริการ ต้นทุนค่าแรงงานก็สูงขึ้นตาม ดังนั้นจึงใช้ Optical Character Recognition (OCR) เพื่อเป็นเครื่องมือแปลงไฟล์ภาพเอกสารให้กลายเป็นไฟล์ข้อความตัวอักษร ขจัดปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อน
สุดท้ายนี้การเลือกใช้กลุ่มเทคโนโลยี AI มีรูปแบบที่แตกต่างกันตามประเภทธุรกิจ แต่มีหนึ่งประเภทในเทคโนโลยี AI ที่ทุกธุรกิจนำมาใช้เหมือนกัน คือ Optical Character Recognition หรือ OCR เนื่องจากในอนาคตอันใกล้นี้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และ กระบวนการรู้จักลูกค้าและพิสูจน์ตัวตนลูกค้า (KYC) จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการข้อมูลธุรกิจโดยตรง เราสามารถใช้ OCR ช่วยดูแลข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ ลดระยะเวลาการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ป้องกันความเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในองค์กร
และเพื่อเป็นการตอบโจทย์ความต้องการทางด้านเทคโนโลยี AppMan พัฒนา OCR เพื่อเป็นเครื่องมือแปลงไฟล์ภาพเอกสารทุกรูปแบบเอกสารให้กลายเป็นไฟล์ข้อความตัวอักษร บันทึกข้อมูลที่เราต้องการลงในฐานข้อมูล เรียกใช้งานข้อมูลง่ายเและยังปลดล็อกขีดจำกัดของ AI ที่เดิมยังอ่านภาษาไทยที่มีโครงสร้างสระและวรรณยุกต์ซับซ้อนไม่เสถียร ให้มีความแม่นยำในการอ่านภาษาไทยสูงถึง 98% ส่วนเรื่องความปลอดภัย การดูแลไซเบอร์ซีเคียวริตี้ก็หายห่วง เพราะได้การรับรองมาตรฐาน Banking Grade Security, CSA- Star Level2, ISO / IEC27001: 2013 เพื่อปกป้องข้อมูลลูกค้าของคุณ
สำหรับผู้ที่สนใจการเสวนาครั้งนี้ สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3aG9w6G
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด