อนาคต ‘อวกาศ’ ของไทยที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมมือ | Techsauce

อนาคต ‘อวกาศ’ ของไทยที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมมือ

อวกาศ’ จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนไทยอีกต่อไป เมื่อ Axelspace สตาร์ทอัพผู้ผลิต
ดาวเทียมสําารวจอวกาศสัญชาติญี่ปุ่น ได้จุดประกายเส้นทางธุรกิจใหม่ให้กับสตาร์ทอัพและ
นวัตกรไทย เพื่อร่วมมือกันนําาร่องสร้างธุรกิจอวกาศมูลค่ามหาศาลให้กับเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ในอนาคต



Yuya Nakamura, Co-founder Axelspace Corporation ได้กล่าวถึงการเริ่มต้นไอเดียทําธุรกิจนี้บนเวทีทอล์คหัวข้อ “Global Startup in Space Industry” ภายในงาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2021 ว่า เขาคิดเพียงแค่ ‘อยากให้อวกาศอยู่แค่เอื้อมมือของทุกคน’ และอยากเปลี่ยนทัศนคติที่มันดูเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งในช่วงแรกของการเริ่มต้นทําาธุรกิจแทบไม่มีใครเห็นด้วยกับเขาเลยว่าอวกาศมันจะสร้างผลประโยชน์มหาศาลได้ รวมถึงต้องต่อสู้ในเรื่องของ ‘เงินทุน’ ด้วย

แต่ความไม่ยอมแพ้ของ Axelspace ทําาให้ในปัจจุบันบริษัทดําาเนินธุรกิจมาได้ถึง 13 ปี มีพนักงานประจําาจากหลากหลายสัญชาติถึง 85 คน และส่งดาวเทียมสําารวจขึ้นไปบนอวกาศแล้วกว่า 9 ดวง

ถ้าเราพยายาม จะมีคนเห็นความพยายามของเราสักวัน


Weathernews บริษัทเอกชนเจ้าแรกที่มีความต้องการตรงกันกับ Axelspace คือ ดาวเทียมสําารวจสภาพอากาศและติดตามดูภูเขาน้ำแข็ง เพื่อพยากรณ์เส้นทางเดินเรือล่วงหน้า ซึ่งจะทําให้ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนค่าเชื้อเพลิง รวมถึงต้องการความแม่นยําในการประเมินสถานการณ์ให้กับเรือสินค้าที่ฉับไว โครงการธุรกิจอวกาศของ Axelspace จึงได้เกิดขึ้น จากนั้นจึงได้ต่อยอดให้เกิดเป็นดาวเทียมในการสําารวจอื่นๆอีกมากมาย

ทําไมต้องมี ‘ดาวเทียม’ ของเราเอง

แน่นอนว่าสิ่งที่เราได้เป็นหลักจากดาวเทียม คือ ภาพในมุมมองระยะไกลที่มีความแม่นยํา เพื่อให้นําใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจโดยเฉพาะ การตวรจดูสภาพอากาศด้วยการซื้อภาพจากที่อื่น อาจจะทําาให้เราไม่ได้ระยะความสูงหรือองศาในการสําารวจที่เราต้องการใช้งาน ทั้งยังมีราคาแพงกว่าการส่งดาวเทียมขึ้นไปเองอีกด้วย ซึ่งประโยชน์จากการมีดาวเทียมของตัวเองจะทําให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทั้งทางเรือทางบก สามารถติดตามรถหรือเฝ้าดูโรงงานเหมือนกล้องวงจรปิด พยากรณ์ภัยพิบัติธรรมชาติล่วงหน้าได้ สามารถประเมินการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืชได้ บอกได้แม้กระทั่งว่าการใส่ปุ๋ยปริมาณเท่านี้ จะให้ปริมาณการผลิตทางการเกษตรเท่าไหร่ และพยากรณ์ผลผลิตล่วงหน้าได้ 

ดาวเทียมยังสามารถสําารวจทรัพยากรได้ทั้งบนผืนดิน,ใต้ผืนดิน รวมทั้งภาคพื้นทะเล เพื่อช่วยประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ กระตุ้นเศรษฐกิจจากดาต้าต่างๆที่อาจจะบอกใครไม่ได้

ประเทศไทยและความเป็นไปได้ทางด้าน ‘อวกาศ’

ประเทศไทยมีศักยภาพที่เอื้อต่อการเติบโตด้านอวกาศ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพที่มีความสามารถ ด้านภูมิภาคก็ยังสามารถสร้างการสําารวจใหม่ๆเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมาย รวมถึงการสนับสนุนจากรัฐบาลและเอกชนด้วย ซึ่งคาดว่าในอนาคตธุรกิจทางด้าน ‘อวกาศ’ จะสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ แต่ทั้งนี้ก็ต้องเข้าใจว่า DEEPTECH เป็นเรื่องการวิจัยที่ใช้เวลา กว่าที่เราเองจะมีดาวเทียมดวงแรกก็ใช้เวลาถึง 5 ปี เราจึงมองว่าในตอนนี้หากนโยบายของประเทศมีแนวโน้มในการสนับสนุนอย่างจริงจัง ทาง Axelspace ก็พร้อมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจด้านนี้ด้วยกัน 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...