Banpu Next รุกขยายพอร์ต Solar ในนิคมอุตสาหกรรมไทย ยกระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียว | Techsauce

Banpu Next รุกขยายพอร์ต Solar ในนิคมอุตสาหกรรมไทย ยกระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียว

‘Banpu Next’ บริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด ลุยขยายพอร์ต Solar ในนิคมอุตสาหกรรมของไทย โชว์ความสำเร็จโครงการโซลาร์ลอยน้ำนิคมฯ หลักชัยเมืองยาง เตรียมเปิดจ่ายไฟกลางปี 2565 คาดช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้ากว่า 15 ล้านบาทต่อปี เสริมภาพลักษณ์นิคมฯ ต้นแบบความยั่งยืน 

‘Banpu Next’ บริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด ลุยขยายพอร์ต Solar ในนิคมอุตสาหกรรมของไทย โชว์ความสำเร็จโครงการโซลาร์ลอยน้ำนิคมฯ หลักชัยเมืองยาง เตรียมเปิดจ่ายไฟกลางปี 2565 คาดช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้ากว่า 15 ล้านบาทต่อปี เสริมภาพลักษณ์นิคมฯ ต้นแบบความยั่งยืน

ล่าสุด Banpu Next ได้โอกาสทำโปรเจกต์ใหญ่โครงการโซลาร์ลอยน้ำ นิคมฯ Apex Green Industrial Estate กำลังผลิตรวมสูงถึง 32 เมกะวัตต์ นำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานมาออกแบบระบบโซลาร์ได้ทุกรูปแบบ รวมถึงโซลาร์ลอยน้ำที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม มีดิจิทัลแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันมอนิเตอร์ระบบแบบเรียลไทม์ ช่วยธุรกิจสร้างความคุ้มค่าระยะยาว ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และยกระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คุณชนิต สุวรรณพรินทร์ ผู้อํานวยการอาวุโส – บริหารการตลาดและการขาย บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จํากัด กล่าวว่า “Banpu Next  ดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ Greener & Smarter ของกลุ่มบ้านปู มุ่งมั่นนำเสนอ Solution พลังงานฉลาดเพื่อความยั่งยืน ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง”  

“ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ เดินหน้าขยายบริการ Solution ฉลาดผลิต (Smart Energy Generation) หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับลูกค้าในไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งขณะนี้โครงการโซลาร์ลอยน้ำขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จ.ระยอง ของบริษัทไทร เบคก้า เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด กำลังการผลิตรวม 16 เมกะวัตต์ ที่ติดตั้งคืบหน้าแล้วเสร็จกว่า 95% คาดว่าจะเปิดจ่ายไฟฟ้าได้ในกลางปีนี้”  

“พร้อมทั้งติดตั้งดิจิทัลแพลตฟอร์มและแดชบอร์ดที่ช่วยให้นิคมฯ มอนิเตอร์คุณภาพและระดับน้ำ รวมถึงการทำงานของระบบโซลาร์ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของบ่อน้ำ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 11,000 ตันต่อปี ทั้งยังเสริมภาพลักษณ์ต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มุ่งพัฒนานิคม ชุมชน และพนักงานตามหลักความอย่างยั่งยืนอีกด้วย” 

สำหรับปี 2565 Banpu Next วางแผนรุกติดตั้งโซลาร์ทุกรูปแบบในไทยให้กับอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยเฉพาะกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 

โครงการโซลาร์ลอยน้ำ ในนิคมฯ เอเพ็กซ์กรีน อินดัสเตรียล เอสเตท ถือเป็นโครงการโซลาร์ลอยน้ำภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของไทย ติดตั้งบนพื้นที่บ่อน้ำขนาด 200 ไร่ กำลังผลิตรวม 32 เมกะวัตต์ คาดว่าหากติดตั้งแล้วเสร็จ และเริ่มจ่ายไฟเข้าระบบจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละกว่า 36 ล้านบาท และช่วยส่งเสริมระบบนิเวศบริเวณนิคมฯ สิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้างให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

‘Banpu Next’ บริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด ลุยขยายพอร์ต Solar ในนิคมอุตสาหกรรมของไทย โชว์ความสำเร็จโครงการโซลาร์ลอยน้ำนิคมฯ หลักชัยเมืองยาง เตรียมเปิดจ่ายไฟกลางปี 2565 คาดช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้ากว่า 15 ล้านบาทต่อปี เสริมภาพลักษณ์นิคมฯ ต้นแบบความยั่งยืน

“ปัจจุบัน Banpu Next ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าหลากหลายธุรกิจ ทั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โรงงาน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ โรงเรียน โรงแรม ตลาด สถานีบริการน้ำมัน ฯลฯ เนื่องจากเชื่อมั่นในจุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญในการติดตั้งโซลาร์ทุกประเภท ทั้งโซลาร์รูฟท็อป โซลาร์คาร์พอร์ต โซลาร์ลอยน้ำ และโซลาร์ฟาร์ม”  

“การดำเนินงานที่ยึดหลักความต้องการของลูกค้าเป็นความสำคัญ (Customer centric) เริ่มจากการใช้ Solution ฉลาดวิเคราะห์มาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พลังงานของลูกค้าแต่ละราย และนำ Data มาออกแบบระบบโซลาร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการและปัญหา (Pain point) เหมาะสมกับการใช้พลังงาน”  

“ที่สำคัญมีดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ลูกค้าตรวจสอบการผลิต การใช้ไฟฟ้าทั้งจากระบบโซลาร์ และแหล่งไฟฟ้าอื่น รวมถึงดูผลประหยัดค่าไฟ และลด CO2 ได้แบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชัน ทั้งยังสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุขัดข้องได้ทันทีในแอปเดียว นอกจากนี้ Banpu Next ยังมี Solution พลังงานฉลาดอื่นๆ ที่จะเข้าไปช่วยสร้างความคุ้มค่าในธุรกิจมากขึ้น และลดต้นทุนค่าพลังงานในทุกๆ มิติอีกด้วย” คุณชนิต กล่าวสรุป


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

WHA Group ดึงไฮเออร์ลงทุน 10,000 ล้านบาท ตั้งฐานการผลิตในไทย

WHA Group ดึงไฮเออร์ลงทุน ปักหมุดฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศครบวงจรมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาทในไทย ที่นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์น ซีบอร์ด 3...

Responsive image

NITMX เปิดตัว Hack to the Max Digital Infrastructure ชวนคนรุ่นใหม่ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัลของไทย

NITMX เปิดตัวโครงการ "Hack to the Max: Digital Infrastructure" Hackathon ระดับชาติ เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจนวัตกรรมการเงินดิจิทัล เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเงินของไทยให้ก้าวไก...

Responsive image

SCB ‘Tap To Pay’ รับเงินผ่านบัตรเครดิต-เดบิต ง่ายแค่แตะผ่านแอปฯ ไม่ต้องพึ่งเครื่องรูดบัตร!

ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัว ‘SCB Tap To Pay’ นวัตกรรมรับชำระเงินที่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนให้เป็นเครื่องรับชำระเงินได้ทันที ตอบรับกระแสสังคมไร้เงินสดที่กำลังมาแรง...