Bosch จัดแสดง Solution ที่เชื่อมต่อกันสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ตั้งแต่อุตสาหกรรม 4.0 เกษตรกรรมอัจฉริยะ ไปจนถึงการขับเคลื่อนแห่งอนาคต ที่ส่วนจัดแสดง Bosch Innovation House ภายในงาน Techsauce Global Summit 2019 โดยเทคโนโลยี AI (artificial intelligence-AI) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง (cloud computing) เป็นหัวใจสำคัญของบริษัทฯ ในการสร้างโลกที่เชื่อมต่อกัน
Bosch ให้ความสำคัญกับการพัฒนา AI Solution หรือปัญญาประดิษฐ์อย่างมาก โดยตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรม AI ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการต่าง ๆ ของบริษัทฯ โดยวางแผนเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ของบริษัทขึ้นถึง 4 เท่า จาก 1,000 คน เป็น 4,000 คน ภายในปี 2021 และภายในกลางทศวรรษหน้า ผลิตภัณฑ์ Bosch ทั้ง 100% จะต้องประกอบด้วยเทคโนโลยี AI ทุกชิ้น หรืออย่างน้อยจะต้องมีส่วนใช้ AI ในกระบวนการพัฒนาและการผลิต
คุณโจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการ Bosch ประเทศไทย เน้นย้ำความสำคัญของนวัตกรรมในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อของ Bosch ว่า “ผู้เข้าร่วมงานจะมีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ที่ Bosch Innovation House โดยจะได้เห็นว่าการเชื่อมต่อ (connectivity) ได้สอดแทรกเข้าไปอยู่ในทุกอณูของแต่ละภาคธุรกิจอย่างไร ซึ่ง Bosch จะมีบทบาทในการสร้างกรอบและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการขับเคลื่อนและการเชื่อมต่อด้วย IoT เป็นพิเศษ” คุณโจเซฟ กล่าว
เอไอมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การขับเคลื่อนแห่งอนาคต โดยจะเป็นในรูปแบบที่จำเพาะบุคคล เป็นระบบอัตโนมัติ เชื่อมต่อถึงกันได้ และขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งรวมไปถึงยานยนต์ที่ใช้เอไอบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ สามารถตรวจจับคนที่สัญจรบนทางเท้า คนขี่จักรยาน และแม้กระทั่งไฟเลี้ยวจากรถคันอื่นผ่านโปรแกรมการรู้จำวัตถุ (object recognition) นอกจากนี้ ระบบ Bosch Automotive Cloud Suite ยังพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพของการเชื่อมต่อ โดยเป็นพื้นฐานรองรับบริการทั้งหมดที่เกี่ยวกับรถยนต์ที่เชื่อมต่อกัน เทคโนโลยีคลาวด์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงบริการด้านการขับเคลื่อน ตัวอย่างเช่น สัญญาณเตือนเมื่อขับรถผิดทาง และบริการหาที่จอดรถในชุมชน
Bosch มองเห็นแนวทางของธุรกิจในอนาคตว่าควรจะมีลักษณะที่แตกต่างกันมากขึ้น และมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการจำเพาะบุคคลได้มากขึ้น สำหรับศักยภาพด้านการผลิต จะต้องสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป Solution Bosch Industry 4.0 จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลไปปรับปรุงการทำงานทุกขั้นตอนตั้งแต่กระบวนการผลิต โลจิสติกส์ ไปจนถึงการบำรุงรักษา ตัวอย่างเช่น ActiveCockpit ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอินเทอร์แอคทีฟที่ช่วยจัดการและแสดงภาพข้อมูลในกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ โดย ActiveCockpit จะเชื่อมโยงแอปพลิเคชั่นของเครือข่ายไอทีเข้าด้วยกัน อาทิ การวางแผนการผลิต และระบบจัดการข้อมูลด้านคุณภาพ
นอกจากนี้ Bosch ยังมี Manufacturing Analytics Solutions (MAS) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI MAS เป็น Solution การวิเคราะห์ข้อมูลหลักที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับโรงงานผลิตได้ โดยจัดการกระแสข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบ Big data อันทรงพลัง นับเป็นการยกระดับโรงงานระบบดิจิทัลให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น
กิจกรรมด้านเกษตรกรรมส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจที่เหมาะสม และการบริหารเครือข่ายคุณค่าได้ลงตัวที่สุด ช่วยให้เกิดผลผลิตและคุณภาพที่ดีที่สุด ในเรื่องนี้ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ การบริหารจัดการข้อมูลด้าน IoT และสมรรถนะของระบบวิเคราะห์ข้อมูลของ Bosch ซึ่งมีซอฟต์แวร์ การบริการ และโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่น่าเชื่อถือเป็นตัวรองรับ ได้เข้ามาช่วยในกระบวนการตัดสินใจที่ซับซ้อน และการควบคุมระบบเกษตรกรรมดิจิทัลได้อย่างเบ็ดเสร็จ เทคโนโลยีนี้ช่วยติดตามพืชผล ปริมาณผลผลิต และช่วยป้องกันโรค รวมถึงการจัดหาแหล่งชลประทานที่เหมาะสมได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย ได้แก่ AquaEasy ซึ่งเป็นโซลูชั่นคลาวด์ระบบดิจิทัลครบวงจรสำหรับฟาร์มกุ้ง อุปกรณ์เซ็นเซอร์ของ AquaEasy จะช่วยเกษตรกรติดตามคุณภาพของน้ำและรวบรวมข้อมูลการดำเนินงาน จึงช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ FUJI Plantect ซึ่งเป็นโซลูชั่นอัจฉริยะที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยในการปลูกพืชในเรือนเพาะชำให้ได้ผลดีที่สุด ก็ใช้วิธีการทำงานในแบบเดียวกัน
ผู้เชี่ยวชาญของ Bosch ในงาน Techsauce Global Summit 2019
คุณฟรองซัวส์ แวร์วิอัล ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Bosch ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ “เปิดโลกการขับเคลื่อนแห่งอนาคต (Exploring the Future of Mobility)” โดยกล่าวว่า Bosch ได้ริเริ่มโครงการด้าน Solution เทคโนโลยีแห่งการขับเคลื่อนทั่วภูมิภาคอย่างจริงจัง “ประเทศไทยมีโอกาสมากมาย สามารถจะพัฒนาไปได้อีกไกล ทั้งในเมืองหลวงคือ กรุงเทพฯ และในจังหวัดที่เติบโตเร็วทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านทางเลือกการคมนาคมที่สะอาด ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า และเทคโนโลยีการขับเคลื่อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยการนำ Solution แห่งการเชื่อมต่อมาใช้ประโยชน์ โดย Bosch พร้อมให้การสนับสนุนและสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ระบบนิเวศด้านระบบขับเคลื่อนของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการปรับระบบเป็นดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยีแห่งการเชื่อมต่อ”
คุณซานดีฟ ชาร์มา ผู้จัดการฝ่ายการพัฒนาธุรกิจของ Bosch ประจำอินเดีย กล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับ “ความเอนเอียงของข้อมูล (data bias)” และแนวทางการทำให้ AI ช่วยชีวิตผู้คนได้ ในขณะเดียวกันก็คุ้มครองความเป็นส่วนตัวด้วย “ AI จะมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ช่วยนำพาเราไปที่ต่าง ๆ โดยรถยนต์ จัดการเรื่องนัดหมาย ช่วยตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ไปจนถึงช่วยดูแลบ้านอัจฉริยะของเรา อย่างไรก็ตาม คุณประโยชน์อนันต์เหล่านี้จะต้องดูแลด้วยความรับผิดชอบ บริษัทและภาคประชาสังคมต่าง ๆ ต้องทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมที่สอดคล้อง” คุณชาร์มากล่าว
Bosch เชื่อว่าเราสามารถรับประกันเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลได้ด้วย “การออกแบบโซลูชั่นส์ที่ปลอดภัยและคุ้มครองความเป็นส่วนตัว” เช่นเดียวกับแนวคิดการคุ้มครองความปลอดภัยในหลายระดับ หัวข้อสำคัญทั้งสองเรื่องที่ตัวแทนของ Bosch กล่าวในงานประชุม Techsauce Global Summit 2019 ได้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของบริษัทฯ ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า การปรับระบบการทำงานเป็นดิจิทัล และเทคโนโลยีแห่งการเชื่อมต่อ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยทั้งสามส่วนหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีการขับเคลื่อน อุตสาหกรรม 4.0 และเกษตรกรรมอัจฉริยะ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด