Buddy Home Care กิจการแก้ปัญหาผู้สูงอายุและเด็กชาวเขาที่ขาดโอกาส หนึ่งใน 5 ทีมบริษัทผู้ชนะโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA | Techsauce

Buddy Home Care กิจการแก้ปัญหาผู้สูงอายุและเด็กชาวเขาที่ขาดโอกาส หนึ่งใน 5 ทีมบริษัทผู้ชนะโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA

“Buddy Home Care” กิจการเพื่อสังคมที่ช่วยแก้ปัญหาผู้สูงอายุ และเด็กชาวเขาที่ขาดโอกาส หนึ่งใน 5 ทีมบริษัทผู้ชนะโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA กับแผนการดำเนินงานธุรกิจที่ส่งเสริมสังคมให้ยั่งยืน

คุณเจน เจนวิทย์ วิสุดสงคราม กรรมการบริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Buddy Home Care ได้กล่าวถึงความรู้สึกเกี่ยวกับโครงการ “Accelerate Impact with PRUKSA” ตลอดระยะเวลาร่วม 5 เดือนที่ได้เข้าร่วมโครงการ

ความรู้สึกที่ได้ร่วมงานในโปรเจ็ค Accelerate Impact with PRUKSA 

ตั้งแต่ตอนที่ได้รู้ข่าว ว่าจะมีโครงการดีๆเช่นนี้เกิดขึ้น ทางเราดีใจมากเลยนะครับ เพราะปกติแล้วงานในด้าน Social Enterprise มันจะเป็นงานที่ Entrepreneur หรือผู้ร่วมก่อตั้งลุยกันเอง ด้วยเรื่องงบประมาณที่จำกัดหรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ ต้องใช้ความสามารถในการประกวด เพื่อที่จะได้หาเงินมาสร้าง Impact ให้กับสังคม พอทราบข่าวว่าทางพฤกษาได้เปิดรับโครงการตรงนี้ ทางเราก็ไม่รอช้า ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทันที เพราะเราเริ่มเห็นว่า ผู้เข้าร่วมที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ให้ความสำคัญกับงานด้านสังคมมากขึ้น เป็นเรื่องที่เราประทับใจตั้งแต่แรก เลยตัดสินใจไม่นานที่สมัครเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วเรื่องของวัตถุประสงค์ทของทางพฤกษา บังเอิญว่าสอดคล้องกับสิ่งที่ทาง Buddy Home Care ได้ตั้งไว้

จากโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA รู้สึกได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง

ตอนที่เราสมัครเข้ามาตอนแรก เราเข้าใจว่าทางพฤกษาจะสนับสนุน และมีส่วนช่วยเหลือในด้านงบประมาณเท่านั้น ตอนแรกเลยมองว่าจริงๆแล้ว เราแค่มาขอรับเป็นทุนการศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดให้กับน้องๆเยาวชนชนเผ่า ให้เขามีอาชีพเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุแค่นี้ก็น่าจะพอแล้ว แต่ว่าพอได้เข้ามามีโอกาสพูดคุยปรากฏว่าทางพฤกษานั้นมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาสังคม จากเรื่องราวที่เป็นรากของปัญหานั้นจริงๆ โดยการสนับสนุนให้กับทาง Social Enterprise ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งส่วนนี้เป็นมิติที่ผมคิดว่ามันเป็นมิติใหม่ของการเข้ามาส่งเสริม และมีส่วนช่วยการเดินในเรื่องของการทำธุรกิจในเรื่องของ Social Enterprise และ Social Entrepreneur หรืองานภาคสังคม การแก้ปัญหาของสังคมนั้น เราเอง ได้ทำเรื่องนี้มายาวนาน บางครั้งเราใช้กลยุทธ์และวิธีการแบบเดิมๆ ที่ต้องการจะแก้ปัญหานี้ ซึ่งมันก็ยังคงดำเนินต่อไป และเห็นได้ว่า ปัญหาเดิมๆก็ยังคงอยู่ แต่สิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงหรือเป็นเรื่องราวที่เราประทับใจมากกับการที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ก็คือการแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวคิด อีกทั้งเรายังมีพี่เลี้ยงซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ยืนอยู่กับเราด้วยกันตลอด ทางทีมพฤกษาไม่ได้แค่สนับสนุนด้านการลงทุนเป็นตัวเงินเท่านั้น แต่ยังมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการเข้ามาแก้ไขปัญหา และมีอีกทั้งการแชร์เทคนิค วิธีการแก้ปัญหา ไอเดียต่อยอด แล้วยังเปิดรับฟัง ช่วยกันปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเพื่อให้นำสู่ความยั่งยืน ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่าธุรกิจอยู่ได้ สังคมอยู่ได้ เราก็จะสามารถยั่งยืนไปด้วยกันได้

เหตุการณ์ที่ทางทีมพฤกษาได้เข้ามามีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทางในโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA

ในส่วนของทางทีมพฤกษาที่เข้ามาช่วยเหลือเรา มันสะท้อนตั้งแต่ตอนที่เขามาฟังเรานำเสนอแผนไอเดียธุรกิจในวันแรกที่เรามาแล้ว ทางทีมพฤกษารับรู้ปัญหาแล้วก็ตัดสินใจเลือกเรา ในการได้เข้ามาเป็นหนึ่งใน 5 ทีมบริษัท ตรงนี้เป็นจุดแรกที่ทำให้เห็นแล้วว่า สิ่งที่พวกเราพยายามแก้ปัญหามานานนั้น มันก็คือปัญหาสังคมที่ไม่ได้ถูกซุกอยู่ใต้พรม มีคนที่อยู่ในภาคธุรกิจขนาดใหญ่มองเห็นปัญหานี้เช่นกัน แล้วก็พร้อมที่จะสนับสนุนเรา สิ่งที่ประทับใจมากๆก็คือ ทางทีมพฤกษาไม่ได้แค่นั่งให้คำแนะนำอยู่ในห้องแอร์ แต่ทีมพฤกษาเข้ามาทำงานร่วมกับ Buddy Home Care ทำงานกันแบบถึงลูกถึงคน และยังร่วมกันเดินทางไปกับเราเพื่อลงไปสัมผัสพื้นที่จริง บางครั้งการทำงานที่จะเข้าใจปัญหาสังคมที่แท้จริงนั้น มันไม่ใช่แค่ได้รับรู้แค่ปัญหา แต่การเข้าไปมีประสบการณ์กับปัญหานั้น มันจะทำให้เขาเข้าใจถึงรากของปัญหาและให้คำแนะนำกับ Social Enterprise แบบเราได้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้ ทาง Buddy Home Care อยากฝากอะไรถึงกลุ่มคนที่มีแนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมบ้าง

สำหรับคนที่มีความสนใจที่จะแก้ปัญหาสังคม อาจจะลองมองกลับมาที่ตัวเราเองก่อนว่า ตัวเราเองมีความรู้สึกอัดอั้นต่อปัญหาเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน เราเข้าใจปัญหานั้นมากน้อยแค่ไหน และเรามีความตั้งใจจริงไหมที่จะแก้ปัญหานั้น เพราะว่าปัญหามันมีความซับซ้อนในบริบทของปัญหา มันไม่ใช่แค่ดีดนิ้วครั้งเดียวแล้วเราจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้เลย ปัญหาหลายๆอย่างมันดำเนินต่อไปและมันก็มีวัฒนาการของปัญหา ปัญหามันจะค่อยๆเปลี่ยนและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา สำหรับน้องๆ ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA ในปีต่อๆไป ก็คิดว่าควรจะเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง เริ่มต้นลงมือทำอะไรบางอย่าง คุณจะต้องรู้สึกถึงการเป็นผู้ประกอบการที่ไม่ได้แค่อยากจะแบมือขอเงินใคร เพื่อที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาสังคม แต่คุณนำเสนอแนวทาง หรือโมเดลบางอย่าง ที่จะแก้ปัญหาทางสังคมไปด้วยกัน และผมเชื่อว่าทางทีมพฤกษาก็พร้อมที่จะคอยให้คำแนะนำ และสนับสนุนทุกการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ 

สำหรับโครงการดีๆที่จะช่วยส่งเสริมสังคมในอนาคต สามารถติดตามรายละอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่  https://www.pruksaimpact.com/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Tokenization Summit 2024 by Token X พบกูรูระดับโลกเจาะลึกวิสัยทัศน์การปฏิวัติ Digital Asset

เวทีสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ “Tokenization Summit 2024” ภายใต้หัวข้อ Unveiling the Next Big Thing ขนทัพผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ มาให้ความรู้ แ...

Responsive image

TikTok จับมือ ลาลีกา สานต่อความร่วมมือ ยกระดับคอมมูนิตี้คนรักฟุตบอล

TikTok จับมือ ร่วมมือ LALIGA (ลาลีกา) ลีกฟุตบอลของประเทศสเปน เดินหน้าความร่วมมือต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังจากความสำเร็จในการร่วมมือกันครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำไปสู่การขยายความร่วมมื...

Responsive image

จับตา ‘ไทยในฐานะ Digital Asset Hub’ เตรียมจัดงานบล็อกเชนระดับโลก SEA Blockchain Week และ Devcon ปีนี้

ไทยกำลังได้รับความสนใจจากวงการเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก ด้วยการเป็นสถานที่จัดงานสำคัญระดับนานาชาติถึง 2 งาน ได้แก่ SEA Blockchain Week (SEABW) ในวันที่ 22-28 เมษา...