CEA ร่วมกับ กกพ. เผยความสำเร็จโครงการ Wonder Waste เปิดตัว 4 พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะเพื่อการผลิตไฟฟ้า | Techsauce

CEA ร่วมกับ กกพ. เผยความสำเร็จโครงการ Wonder Waste เปิดตัว 4 พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะเพื่อการผลิตไฟฟ้า

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชนหรือ CEA ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพเผยผลสำเร็จโครงการสร้างนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ Wonder Waste! เปิดตัว พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะเพื่อการผลิตไฟฟ้า ผ่านการนำร่อง พื้นที่ ย่านเจริญกรุง ย่านหนองแขม กรุงเทพฯ ย่านศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น และย่านเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต คาดพัฒนาสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมปลอดขยะ

ดรบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEAได้เปิดตัว 4 พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะเพื่อการผลิตไฟฟ้า บนพื้นฐานของการศึกษาพฤติกรรมผู้ทิ้งในระดับครัวเรือนและชุมชนในจำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ ย่านเจริญกรุง ย่านหนองแขม กรุงเทพฯ ย่านศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น และย่านเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ Wonder Waste! โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2563 โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้เกิดการตระหนักเรื่องการจัดการขยะให้ได้คุณภาพ ก่อนนำไปกำจัดหรือเพิ่มทางเลือกด้วยการนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าที่เป็นพลังงานหมุนเวียนต่อไป

“กกพ. ให้ความสำคัญเรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือCircular Economy และสนับสนุนนโยบายรัฐที่จะก้าวไปสู่สังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) ที่มุ่งเน้นการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในปี 2561 เผยว่าประเทศไทยมีขยะมูลฝอยสูงถึง 27.8 ล้านตัน แต่พบว่ายังมีขยะ 7.3 ล้านตันหรือ 27% ที่ยังกำจัดไม่ถูกวิธี ประกอบกับส่วนหนึ่งประชาชนยังขาดความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะ รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้กำจัดขยะยังใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โครงการ Wonder Waste! จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์รูปแบบหรือนวัตกรรมการคัดแยกขยะใหม่ ๆ ที่ชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่มีส่วนร่วม เพื่อเป็นต้นแบบในการนำไปสู่การใช้งานได้จริง และเพิ่มทางเลือกในการผลิตเชื้อเพลิง” ดร.บัณฑูรกล่าว

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า “CEA เป็นหน่วยงานที่อยู่ตรงกลางระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ที่ประกอบด้วยบุคลากรสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการ หน่วยงาน สมาคมต่าง ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงกันระหว่างทุกภาคส่วน จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนและเมือง

โครงการ Wonder Waste! นำเสนอแพลตฟอร์มจัดการขยะครัวเรือนและชุมชน ผ่านการนำเสนอต้นแบบ 4 นวัตกรรมที่เกิดจากการนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาใช้เพื่อการระดมความคิดเห็นและแก้ปัญหาด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ร่วม (co-create) กับประชาชนในพื้นที่ ในการพัฒนาสู่แนวคิดในการคัดแยกขยะ ให้เป็น 4 แพลตฟอร์มที่แตกต่างกันตามบริบทการใช้งานและพฤติกรรมของผู้ทิ้งในระดับครัวเรือนและชุมชน ที่พร้อมขยายผลไปสู่องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจนำไปแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไปทดลองและปฏิบัติใช้ได้ เพื่อรณรงค์ให้เกิดการคัดแยกขยะที่มีคุณภาพ สำหรับการนำไปกำจัดหรือทำเป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานต่อไป” นายอภิสิทธิ์กล่าว

สำหรับเนื้อหาและแพลตฟอร์มแยกขยะ ประกอบด้วย 4 ต้นแบบ ดังนี้ 

1. PowerPick   

พัฒนาโดย : บริษัท ขอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

พื้นที่ติดตั้ง : ลานใบไม้ บริษัท ยิบ อิน ซอย จำกัด ถนนมหาพฤฒาราม บางรัก กรุงเทพฯ

แพลตฟอร์มที่มีแนวคิดแก้ไขปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นหลังบริโภคจากฟู้ดเดลิเวอรีในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยแพลตฟอร์มนี้จะเข้ามาบริหารคัดแยกบรรจุภัณฑ์ อาหาร และเครื่องดื่มประเภทพลาสติกเบา รวมทั้งกระดาษในรูปแบบ Pop-Up ที่มีบริการรับถุงแยกขยะรีไซเคิลด้วยตู้อัตโนมัติ และเคาน์เตอร์เซอร์วิส พร้อม Lab ที่ทำหน้าที่ทั้งรับ บด ล้าง อบ และแพ็กขยะ สู่การแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) พร้อมใช้จักรยานเพาเวอร์พิกไฟฟ้าบรรทุก หรือ PowerPick WtE eBike บริการรับแยกขยะแบบเคลื่อนที่ผ่านแอปพลิเคชันในการกำหนดเวลารับขยะถึงที่

2. care4

พัฒนาโดย : พิเศษ วีรังคบุตร และทีมงาน

พื้นที่ติดตั้ง : หมู่บ้านจิตรณรงค์ 21 ใกล้โรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม กรุงเทพฯ

แพลตฟอร์มระบบเก็บขยะเพื่อส่งเข้าโรงเผาขยะด้วยเทคนิคลดความชื้นขยะ ด้วยวิศวกรรมและการออกแบบ มาใช้ร่วมกับระบบคัดแยกเพื่อทำให้การเผาขยะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการปรับปรุงคุณภาพขยะ และลดขั้นตอนการคัดแยกให้มีความซับซ้อนน้อยลง ด้วยกระบวนการแยกขยะ - รับขยะ - พักขยะ - ส่งขยะ สำหรับการแยกขยะ จะมีถุงและถังขยะที่ออกแบบให้เหมาะสม วางไว้ในแต่ละจุดของบ้านพร้อมเอกสารแนะนำเพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีการคัดแยก มีการรับขยะถึงหน้าบ้านเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับคนในพื้นที่ โดยมีจักรยานเข้าไปรับขยะมาจัดการตามแต่ชนิดของขยะ และการพักขยะโดยการลดความชื้นด้วย Solar Waste Dryer ก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครต่อไป

3. บุญบุญ

พัฒนาโดย : FabCafe Bangkok

พื้นที่ติดตั้ง : พื้นที่ศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น 

หุ่นยนต์แมวเก็บขยะ ที่สร้างแรงจูงใจ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่นำเทคโนโลยี Delivery Robot ด้วยการนำถังขยะมาหาคน ให้ถังขยะมีบทบาทเป็นสื่อกลางให้ข้อมูล (Information Agent) และความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะ ประกอบด้วยหุ่นยนต์แมวใช้ภายในร้านคาเฟ่ ‘บุญเล็ก’ ที่วิ่งไปรับบริจาค ขยะที่ใช้ภายในร้านค้าที่เป็นเครือข่าย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เรื่องการทิ้งขยะ  แก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ และหุ่นยนต์แมวใช้ภายนอก ‘บุญใหญ่’ ที่รับขยะจากร้านค้าที่มีการคัดแยกไว้แล้วตั้งแต่ต้นทาง ผ่านระบบ Line Official โดยมีสถานีคอยรับขยะจากหุ่นยนต์ทั้งภายในและภายนอก พร้อมทั้งมีการต่อยอดด้วยการจัดแคมเปญ Activity Waste Information ร่วมกับพื้นที่อีกด้วย

4. BABA Waste

พัฒนาโดย : วีระชัย ปราณวีระไพบูลย์ และทีมงานอาร์ ดี เอ็ม สตราติจีส

พื้นที่ติดตั้ง : พื้นที่เมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต

แพลตฟอร์มการจัดการขยะสำหรับธุรกิจคาเฟ่และบ้านเรือน โดยใช้ถุงสีแยกขยะตามประเภทเพื่อเป็นการสื่อสารระหว่าง (ครัวเรือน ร้านค้า) - กลางทาง (คนเก็บขยะ) - ปลายทาง (ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม จังหวัดภูเก็ต) พร้อมนำเสนอโมเดลธุรกิจควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดการจัดการที่สมบูรณ์และความยั่งยืน ประกอบด้วย BABABIN ถังขยะสำหรับใช้ภายในคาเฟ่หรือบ้านเรือน และสำหรับใช้ภายนอก BABABAG ถุงขยะสีที่ช่วยแยกประเภทขยะ ขยะแห้ง ขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และ BABACONE ชุดแปรรูปเศษอาหารเพื่อนำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...