true ผนึกจุฬาฯ และกลุ่ม Startup ส่งหุ่นยนต์ระบบคลาวด์ 5G ช่วยเเพทย์สู้วิกฤต COVID-19 | Techsauce

true ผนึกจุฬาฯ และกลุ่ม Startup ส่งหุ่นยนต์ระบบคลาวด์ 5G ช่วยเเพทย์สู้วิกฤต COVID-19

true ร่วมมือกับคณะวิศวฯ จุฬาฯ พร้อมด้วยบริษัท Startup HG Robotics และ Obodroid ส่งหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะระบบคลาวด์ผ่าน True5G สนับสนุนบริการทางการแพทย์ ช่วงวิกฤต COVID-19 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

true ขอร่วมดูแลไทยเพื่อก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน โดยร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยบริษัทสตาร์ทอัพ HG Robotics และ Obodroid ภายใต้โครงการ CU-RoboCovid ติดตั้งหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะระบบคลาวด์ผ่าน True5G อำนวยความสะดวกบุคลากรทางการแพทย์ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เครือข่ายTrue5G ควบคุมการเชื่อมต่อหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะ (Quarantine Delivery Robot) ผ่านระบบสื่อสารทางไกล (Quarantine Telepresence) รวมทั้งควบคุมรถเข็นได้จากระยะไกล (Remote Cart) เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดการเสี่ยงติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ซึ่งการพัฒนาและทดสอบหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะพร้อมอุปกรณ์ควบคุมของโครงการ CU-RoboCovid นี้ กลุ่มทรูได้ร่วมส่งมอบโซลูชั่นพร้อมซิม True 5G-Ready และอุปกรณ์รับสัญญาณ CPE 5G เพื่อเพิ่มศักยภาพในการควบคุมทางไกลและเพิ่มความแม่นยำในการทำงานของหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่จะแบ่งเบาภาระการปฎิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี

รายละเอียดการทำงานของหุ่นยนต์ขนส่ง (Quarantine Delivery Robot)

• หุ่นยนต์ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ที่จำเป็น พร้อมระบบสื่อสารทางไกล Telepresence ที่จะเข้ามาช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดอัตราการใช้อุปกรณ์การแพทย์จากการถอดเปลี่ยนชุดทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนโซนการรักษาที่มีความเสี่ยง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์

• ระบบสื่อสารทางไกล (Quarantine Telepresence) เทคโนโลยีการสื่อสารทางไกล Telepresence ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ แท็บเล็ตจากฝั่งของเจ้าหน้าที่ และแท็บเล็ตจากฝั่งคนไข้ เชื่อมต่อกันด้วยโปรแกรมที่ทางทีมได้พัฒนาขึ้น ผ่านเครือข่ายTrue 5G สื่อสารได้รวดเร็ว สอดส่องอาการได้ง่าย ชัดเจน

• รถเข็นควบคุมจากระยะไกล (Remote Cart) รถเข็นที่พัฒนามาเพื่อให้สามารถควบคุมจากระยะไกลได้ผ่านเครือข่ายTrue 5G สามารถนำมาใช้ในการขนส่งอาหาร ยาหรือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ เคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ สามารถติดตั้งมาพร้อมกับแท็บเล็ตที่มีระบบสื่อสารทางไกล (Telepresence) บนรถเข็นเพิ่มความสามารถในการทำงานควบคู่กับการสื่อสารกับคนไข้ได้แบบ 2 ทาง โดยบุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดชื้อ สร้างความอุ่นใจทั้งบุคลากรและคนไข้ในสถานการณ์โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณข้อมูล: PR true

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NITMX เผยสถิติพร้อมเพย์ ปี 67 ยอดธุรกรรมโตแตะ 2,096 ล้านต่อเดือน ผู้ใช้พุ่งสูงถึง 79 ล้านราย

NITMX เผยข้อมูลสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านธุรกรรมดิจิทัลทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคสั...

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...