3 เทคนิคการจัดการการสื่อสารที่นักสื่อสารยุค COVID-19 ต้องมี | Techsauce

3 เทคนิคการจัดการการสื่อสารที่นักสื่อสารยุค COVID-19 ต้องมี

ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาและสถาณการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นกระทันหัน การเปลี่ยนโลกธุรกิจ ได้ก่อให้เกิดความหลากหลายเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภค นำมาซึ่งผลประโยชน์ที่แตกต่างกันในการติดต่อดำเนินธุรกิจ และบ่อยครั้งก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้อยู่เสมอ ความขัดแย้งต่างๆ เหล่านี้ได้พัฒนากลายเป็นประเด็นปัญหาและลุกลามจนทำให้เกิดภาวะวิกฤต ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์วางระเบิดใจกลางเมือง ณ สี่แยกราชประสงค์ เหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 เหตุการณ์ กู้ภัย13 ชีวิตทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง เป็นต้น 

และในปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญ กับโรคไวรัสตัวร้ายภัยคุกคามโลก “COVID 19” ที่กำลังแพร่การแพร่ระบาด มีผลกระทบอย่างมากต่อวิถีชีวิตของผู้คนจำนวนมาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีการทำงาน และวิธีการซื้อขาย ของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สุดในเวลานี้สำหรับธุรกิจในแวดวงการตลาดและการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือเรื่อง การจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤต หรือ Crisis Communication Management  ที่ในหลายๆหน่วยงานได้นำเทคนิคในด้านการสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับเครื่องมือต่างๆ ขั้นตอนวิธีการการวางแผนการสื่อสาร รวมถึงการใช้กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการจัดการในภาวะวิกฤตอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤติอย่างรอบด้าน 

ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชันส์ จำกัด ธุรกิจให้บริการด้านการปรึกษางานประชาสัมพันธ์แนวหน้าของเมืองไทย กล่าวว่า “บริษัทฯ เราเป็น PR Agency ที่ได้รับผลกระทบเหมือนกันกับธุรกิจอื่น ๆ แต่อาจจะแตกต่างกันในบริบทของธุรกิจ ซึ่งในวิกฤตสถานการณ์ช่วงนี้ อันดับแรกเราให้ความสำคัญและทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤตโรคไวรัสโควิด-19 ที่จะต้องตั้งรับ ปรับจูนให้ลูกค้าได้มีความเข้าใจอย่างเท่าทันในเรื่องของการรับมือรวมถึงแนวทางการสื่อสารที่จำเป็นเพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้จริง”

แม้ในช่วงวิฤตนี้ ประเทศไทย ได้ประกาศ ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานทั่วประเทศในช่วงเวลา 22.00 -04.00 น. รวมถึงการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หนึ่งมาตรการลดการแพร่ระบาดของเชื้อที่ติดต่อทางละอองฝอยหรือการสัมผัส ที่หลายๆองค์กรได้มีมติให้พนักงาน Work From Home ในทางกลับกันเราก็ได้พลิกวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาสสำหรับลูกค้าได้รับความรู้และผลประโยชน์ในเรื่องการจัดการสื่อสารในภาวะวิกฤต โดยจัดการอบรบออนไลน์ให้กับลูกค้าในรูปแบบ VDO Conference นำร่องหน่วยงานแรก “กรมสรรพากร” เราได้แชร์แนวคิด เทคนิคการสื่อสารรวมไปถึงกลยุทธ์ของการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่ผู้เข้าอบรมครั้งนี้นำไปต่อยอดและสามารถปรับใช้ได้จริง

ดร.ดนัย แนะนำให้ลูกค้าในการอบรมออนไลน์รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ได้ยึดหลักสำคัญในการสื่อสารในภาวะวิกฤต 3 ประการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติงานจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คือ

  1. ต้องวางแผนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรในภาวะวิกฤต ควรวางแผนรองรับเหตุฉุกเฉินหรือ disruption ต่างๆ ให้ครอบคลุมทั้งแผนการสื่อสารเชิงรุกและเชิงรับ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความโปร่งใส พร้อมทั้งกำหนดทีมงาน ผู้มีส่วนในการตัดสินใจ รวมถึงมีการสื่อสารในองค์กรล่วงหน้าให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ เตรียมการทุกด้านที่เกี่ยวข้องให้พร้อม สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันทีอย่างมีประสิทธิภาพ  
  2. การสื่อสารอย่างโปร่งใส ด้วยความฉับไวทันท่วงที มีความยืดหยุ่นและจริงใจ คือหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ดียิ่งขึ้น องค์กรต้องใส่ใจทุกคนในองค์กรรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึง เริ่มต้นจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่ระบาดและการดูแลสุขภาพอนามัยของบุคลากรภายในองค์กรทั้งหมด รวมทั้งการเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ เพื่อให้กระบวนการทำงานมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ต้องขจัดความเชื่อและความเข้าใจที่ผิดด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว ต้องก้าวทันสถานการณ์และพร้อมชี้แจงแนวทางการรับมือ ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน
  3. แยก Fact vs. Fake News ป้องกันความสับสนของข้อมูลข่าวสาร และพร้อมตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทุกที่ ไม่ว่าจะทำงานจากที่บ้านหรือทำงานในออฟฟิศ ทุกฝ่ายจะต้องวางแผนและเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งในยุคนี้มีเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป รวมถึงการสื่อสารภายในองค์กร เช่น การแถลงข่าวออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ หรือการประชุมและจัดการอบรมผ่านแอปพลิเคชันที่มีให้เลือกมากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก

แม้ว่าวิกฤตนี้จะรุนแรงขึ้นทุกวัน เราต้องสื่อสารได้ด้วยความเข้าใจอย่างท่องแท้ เพราะวิกฤตการณ์มันอาจจะเป็นโอกาสให้กับหลายๆองค์กรได้มีกิจกรรมตลอดจนการสร้างคุณค่าและความรับผิดชอบต่อสังคม อันจะนำมาซึ่งชื่อเสียงที่ดีในระยะยาว แม้วิกฤตจะสิ้นสุดลงแต่ถ้าเรายึดมั่นในการสื่อสารที่ดี ภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากการสื่อสารอย่างโปร่งใส่ถึงจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังตราตรึงในหัวใจของสาธารณชนทั่วประเทศ

สำหรับองค์กรที่สนใจอบรมออนไลน์ในหลักสูตรการสื่อสารในภาวะวิกฤตและการประชาสัมพันธ์ของ บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชันส์ จำกัด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.dcconsultants.co.th และ Facebook Fanpage : DCConsultants 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...

Responsive image

AstraZeneca รับรางวัล Most Innovative Company จาก BCCT จากความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม AI ด้านสุขภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข้ารับรางวัล Most Innovative Company (รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม) จาก สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู...