Deloitte เผย วิกฤตโควิด-19 เร่งการเปลี่่ยนแปลงในธุุรกิจเอกชน ผู้บริหารส่วนใหญ่มอง Resilience มีความสำคัญต่อกลยุทธ์ของบริษัท | Techsauce

Deloitte เผย วิกฤตโควิด-19 เร่งการเปลี่่ยนแปลงในธุุรกิจเอกชน ผู้บริหารส่วนใหญ่มอง Resilience มีความสำคัญต่อกลยุทธ์ของบริษัท

ดีลอยท์ (Deloitte) ได้เผยแพร่ รายงานกลุ่มตลาดบริษัทเอกชนทั่วโลก เรื่อง Crisis as catalyst: Accelerating transformation โดยเปิดเผยว่า แม้ว่าจะมีความท้าทายในกลุ่มตลาดในปีที่แล้ว ธุรกิจเอกชนมากมายเชื่อว่าธุรกิจของตนสามารถตอบสนองและฟื้นตัว (Resilience) ได้ดีขึ้นหลังจากวิกฤติโควิด-19  มากกว่าสองในสามของผู้นำธุรกิจเอกชนที่ตอบแบบสำรวจเชื่อมั่นว่าองค์กรของตนจะประสบความสำเร็จในระยะเวลาอีก 12 เดือนข้างหน้า 

Deloitte

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เร่งการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมบางประเภทขององค์กร ข้อมูลจากรายงานแสดงให้เห็นว่า 

  • 69 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทเอกชนที่ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นส่วนสำคัญที่เร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตัล โดยไม่ได้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่เป็นตัวจุดระเบิดเร่งการนำระบบดิจิตัลมาใช้ในองค์กร
  • 63 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทเอกชน คาดว่าจะสร้างพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ๆ 
  • 67 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจ เชื่อว่าห่วงโซ่อุปทานมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอันเป็นผลกระทบโดยตรงจากการระบาดใหญ่ 

ในการสำรวจผู้บริหารบริษัทเอกชน 2,750 คน ใน 33 ประเทศทั่วโลก ระหว่างวันที่ 21 มกราคม – 9 มีนาคม 2564 ดีลอยท์พบว่า องค์กรส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการสร้างรากฐานในการตอบสนองและฟื้นตัวด้วยองค์ประกอบทั้ง 7 ประการ ได้แก่ กลยุทธ์ การเติบโต การดำเนินการ เทคโนโลยี แรงงาน เงินทุน และสังคม ผู้ที่ตอบแบบสำรวจให้คะแนนความสามารถในการตอบสนองและฟื้นตัวขององค์กรของตนเอง โดยการนำองค์ประกอบทั้งเจ็ดมาปรับใช้ภายในองค์กร โดยผลการสำรวจได้จัดประเภทองค์กรเป็น องค์กรที่มีระดับ Resilience สูง องค์กรที่มีระดับ Resilience กลาง และองค์กรที่มีระดับ Resilience ต่ำ

จากการสำรวจพบว่า บริษัทที่มีระดับ Resilience สูง มองศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของตนในเชิงบวกมากกว่าองค์กรที่มีระดับ Resilience ต่ำ  โดย 52 เปอร์เซ็นต์ มีความเชื่อมั่นค่อนข้างสูงในแนวโน้มการเติบโตธุรกิจของตนในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า เมื่อเทียบกับองค์กรที่มีระดับ Resilience ต่ำกว่า ที่มีความเชื่อมั่นเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ในระดับภูมิภาค ผู้นำองค์กรในสหรัฐอเมริกามีความเห็นเชิงบวกมากที่สุดเกี่ยวกับรายได้ กำไร และผลผลิตในปีถัดไปเมื่อเทียบกับผู้นำองค์กรเอกชนอื่นๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ ผู้บริหารเชื่อว่าทั้งการเติบโตและเทคโนโลยี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตัล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์การที่มีความสามารถในการตอบสนองและฟื้นตัวได้ 

“การยึดมั่นพันธสัญญาตามเป้าหมายของบริษัทเอกชนตลอดปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้นำเร่งปรับตัวในการตอบสนองต่อความไม่แน่นอนอันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19” มร. เจสัน ดาวน์นิ่ง รองประทาน Deloitte LLP, and ผู้นำ Deloitte Private ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าว “รายงานเราแสดงให้เห็นว่าองค์กรเอกชนมีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าในหลากหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตัล การปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทาน และอนาคตการทำงาน การวิจัยยังเน้นย้ำระดับคะแนนที่แตกต่างกันระหว่างองค์กรที่มีระดับ Resilience ต่ำและสูง โดยองค์กรที่มีระดับ Resilience สูงมีแนวโน้มที่จะลงทุนเพื่อการเติบโตและประเมินเป้าหมายขององค์กรในสังคมวงกว้างมากขึ้น”

“การวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับลูกค้าดีลอยท์จำนวนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรธุรกิจ เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่แน่นอน แม้ว่าจะเห็นได้ชัดว่ามีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง แต่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงยังเป็นสิ่งที่ท้าทาย Digital Solutions มีความสำคัญต่อบริษัทต่างๆ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากซีอีโอพยายามปรับการดำเนินงานปัจจุบันให้เหมาะสมในขณะที่สร้างแพลตฟอร์มสำหรับนวัตกรรมในอนาคตและความได้เปรียบในการแข่งขัน” มร. ริชาร์ด ลอย ผู้นำ Deloitte Private ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสิงคโปร์ กล่าว

ประเด็นสำคัญอื่นๆ จากรายงานการสำรวจฉบับนี้ ได้แก่

การคาดการณ์การเติบโตและวางแผนอัตรากำลังพล

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เชื่อว่าบริษัทของตนจะฟื้นตัวจากวิกฤติภายในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่ยังเชื่อว่าผลกระทบในวงกว้างจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่องในอีกหลายปีถัดมา บริษัทเอกชนดูเหมือนได้วางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงกำลังคน โดยจัดการให้มีความยืดหยุ่นในการทำงานและปรับรูปแบบองค์กรให้มีความคล่องตัว และมุ่งความสำเร็จของงานมากขึ้นด้วยโครงสร้างทีมงานขนาดเล็กลง มีความอิสระ จากผลสำรวจ พบว่า

  • องค์กรที่มีระดับ Resilience สูง จำนวน 19 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่า พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานในองค์กรอย่างเต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว และ 38 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าองค์กรของพวกได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงมาได้แล้วครึ่งทาง
  • องค์กรที่มีระดับ Resilience สูง จำนวน 66 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มกำลังคนของตนในปีถัดไปมากกว่าองค์กรที่มีระดับ Resilience ต่ำ คิดเป็นจำนวน 48 เปอร์เซ็นต์

การให้ความสำคัญกับประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้

ผู้บริหารมีความคาดหวังเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนในเทคโนโลยีขององค์กรเอกชนในหลากหลายด้าน และพวกเขาวางแผนจะเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจ พบว่า 

  • องค์กรที่มีระดับ Resilience สูง จำนวนมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับองค์กรที่มีระดับ Resilience ต่ำ (โดยคิดเป็น 80% และ 43% ตามลำดับ) กล่าวว่าการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้ในองค์กรเริ่มขึ้นก่อนการระบาดหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการ 
  • ความแตกต่างในการให้ความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเติบโตขององค์กรระหว่างองค์กรที่มีระดับ Resilience สูง และองค์กรที่มีระดับ Resilience ต่ำอยู่ที่ 18% 

บริษัทยังขยายขอบเขตการลงทุนในเทคโนโลยีให้กว้างขึ้น ภายในอีก 12 เดือนข้างหน้า 39% ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดว่าเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลสารสนเทศจะได้รับความนิยมในการลงทุนมากที่สุด และเทคโนโลยีเกี่ยวกับบริการ cloud computing (38%) และการวิเคราะห์ข้อมูล (37%) จะได้รับความนิยมการลงทุนในสัดส่วนที่ลดหลั่นลงมา

ให้ความสำคัญกับจุดมุ่งหมายหลักขององค์กรมากขึ้น

Jason Downing

จุดมุ่งหมายและความไว้วางใจเป็นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกกันขาดจากวัฒนธรรมองค์กรเอกชน แต่ได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปี 2020 จากผลสำรวจ พบว่า 

  • เกือบ 70% ของผู้ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า วิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้จุดมุ่งหมายหลักมีความสำคัญต่อบริษัทของตนมากยิ่งขึ้น
  • องค์กรที่มีระดับ Resilience สููง อยู่ในระดับแนวหน้าในประเด็นนี้ โดย 84 เปอร์เซ็นต์ ของผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวระบุว่าพวกเขาได้ให้ความสำคัญต่อจุดมุ่งหมายหลักมากขึ้น 

“จากการแพร่ระบาดครั้งนี้ เราได้เรียนรู้ว่าวิธีที่บริษัทคิด ดำเนินการ และลงทุน เป็นลักษณะเด่นของการตอบสนองและฟื้นตัวและการเร่งการเปลี่ยนแปลง และมีแนวโน้มที่จะยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรและการคงไว้ซึ่งอำนาจขององค์กรต่อไป” มร. เจสัน ดาวน์นิ่ง กล่าวเสริม

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Deloitte Private, “Crisis as catalyst: Accelerating transformation” สามารถเข้าชมผ่านทางเว็บไซต์ www.deloitte.com/insights/deloitte-private-global-survey-2021


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...