Deloitte ชี้ Cross-Border E-Commerce ในเอเชียแปซิฟิก กำลังโตจากยุคดิจิทัล สู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน | Techsauce

Deloitte ชี้ Cross-Border E-Commerce ในเอเชียแปซิฟิก กำลังโตจากยุคดิจิทัล สู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน

ดีลอยท์ (Deloitte) เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับ “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” (Technology-empowered Digital Trade in Asia Pacific) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ล่าสุดด้านการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ทุกสิ่งกำลังพัฒนาไปสู่ดิจิทัล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนาคตที่ยั่งยืน โดยธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยมีบทบาทสำคัญอย่างมาก 

รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นขององค์กรธุรกิจที่มีส่วนร่วมในระบบการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ โดยคาดการณ์ว่าการค้าดิจิทัลในภูมิภาคนี้จะเติบโตรวดเร็วขึ้น เนื่องจากกิจกรรม cross-border e-commerce ที่คึกคัก ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งคาดว่าภูมิภาคนี้จะเข้าสู่ยุคทองของการค้าดิจิทัลในอีกสามปีข้างหน้า 

เทยเลอร์ แลม รองประธานและหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี มีเดียและเทเลคอมมูนิเคชั่น ดีลอยท์ ประเทศจีน กล่าวว่า “ช่วงการแพร่ระบาด การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและความร่วมมือระหว่างภูมิภาคได้พัฒนาไปสู่การค้าดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนำเสนอโอกาสการพัฒนาของแบรนด์ใหม่ ๆ และ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP นั้นจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภูมิภาค และอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการค้าดิจิทัลต่าง ๆ” 

แกรี่ วู หัวหน้าทีมฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของตลาดทั่วโลกดีลอยท์ กล่าวว่า “เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาช่วยผู้ค้าทั่วโลกให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศ โดยปราศจากมาตรการกีดกันทางการค้าใด ๆ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่องจะช่วยแก้ปัญหาที่เป็นข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศหลัก ๆ สองประการ ได้แก่ ลอจิสติกส์ และ การชำระเงิน ได้เป็นอย่างดี ขณะที่ เทคโนโลยีบล็อกเชนก็มีส่วนช่วยสร้างพื้นที่ใหม่ ๆ ในการค้าดิจิทัล”

ข้อมูลเชิงลึกในระดับภูมิภาค

การค้าโลกเข้าสู่ยุคของระบบอัจฉริยะ 

  • ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในด้านการค้าก็ขยายตัวเป็นวงกว้างและเจาะลึกมากขึ้น   กล่าวได้ว่าการค้าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของระบบอัจฉริยะ และดาต้าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก 
  • โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบ 5G จะช่วยสร้างแพลตฟอร์มการกระจายข้อมูลและสถาปัตยกรรมเครือข่ายใหม่ๆ และรองรับ Internet of Everything (IoE)  ขณะเดียวกัน การเก็บรวบรวมบิ๊กดาต้าจำนวนมหาศาล ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจที่ชาญฉลาด 
  • ในภาพรวม การค้าโลกในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจาก “ระบบดิจิทัล”ไปสู่ “ระบบอัจฉริยะ” โดย “การค้าดิจิทัล” เป็นรูปแบบการพัฒนาล่าสุด

 พัฒนาการและการเติบโตของการค้าดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิก 

  • เศรษฐกิจระดับภูมิภาคส่วนใหญ่ถูกประเมินเพื่อการพัฒนาการและการเติบโตของการค้าดิจิทัล โดยอ้างอิงดัชนีชี้วัดสองอย่างคือ อี-คอมเมิร์ซระหว่างประเทศ (60%) และการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (40%) และผลลัพธ์ที่ได้มีดังนี้:
    1. ตลาดที่พัฒนาแล้ว: จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น 
    2. ตลาดกำลังพัฒนา: ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ 
    3. ตลาดที่อยู่ในขั้นเริ่มต้น: เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และบรูไน
  • ในประเทศไทย อัตราการขยายตัวของตลาด cross-border e-commerce ถือว่าค่อนข้างสูง และมีโครงสร้างทางด้านดิจิทัลที่แข็งแรง แต่การพัฒนายังอยู่ในระดับที่จำกัด

การเติบโตขององค์กรธุรกิจข้ามชาติขนาดเล็ก (Micro-Multinational Enterprise - mMNE) เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการค้าดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิก

  • ธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อเป็นองค์กรธุรกิจข้ามชาติขนาดเล็ก หรือ mMNE เพราะเข้าร่วมใน cross-border e-commerce ในตลาดต่างๆ ทั่วโลก 
  • ธุรกิจรายย่อยเหล่านี้นำเสนอ “ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น” หลากหลายประเภท ควบคู่กับการปรับรูปแบบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั่วโลก โดยธุรกิจในกลุ่มนี้ครองสัดส่วนกว่า 85% ของกิจกรรม cross-border e-commerce ในเอเชีย-แปซิฟิก
  • คุณลักษณะที่สำคัญของ mMNE:
    1. ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่ว
    2. มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปแล้วมีพนักงานไม่ถึง 100 คน
    3. มีการดำเนินงานครอบคลุมทั่วโลก โดยเฉลี่ยแล้วมีร้านสาขาในต่างประเทศ 3.56 แห่ง

การชำระเงิน และการขาย” เป็นสองฟังก์ชั่นทางการค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงสุด

  • ระบบชำระเงินดิจิทัลมีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 55% ส่วนระบบการขายแบบดิจิทัลมีอัตราการใช้งาน 53% 
  • ตลาดที่พัฒนาแล้วมีการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า ทั้งในส่วนของการชำระเงิน การขาย และลอจิสติกส์
  • ในตลาดกำลังพัฒนา การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในด้านการผลิตและการค้าอยู่ในระดับที่สูง

แฟรงกี้ ฟาน ผู้บริหาร WorldFirst ประจำประเทศจีน ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการชำระเงินระหว่างประเทศ กล่าวว่า “ธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีบทบาทอย่างมากต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาค”

“การมีการซื้อขายออนไลน์ระหว่างประเทศและการชำระเงิน รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีหน้า เอสเอ็มอีในภูมิภาคจะได้รับความมั่นคงในการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ที่ WorldFirst เรามุ่งมั่นในการนำเสนอบริการด้านการเงินแบบครบวงจรแบบ one-stop ครอบคลุมทั้งการชำระเงิน การเก็บเงิน และการแลกเปลี่ยนเงินให้แก่บริษัทต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างเต็มที่” แฟรงกี้ กล่าว


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Tokenization Summit 2024 by Token X พบกูรูระดับโลกเจาะลึกวิสัยทัศน์การปฏิวัติ Digital Asset

เวทีสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ “Tokenization Summit 2024” ภายใต้หัวข้อ Unveiling the Next Big Thing ขนทัพผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ มาให้ความรู้ แ...

Responsive image

TikTok จับมือ ลาลีกา สานต่อความร่วมมือ ยกระดับคอมมูนิตี้คนรักฟุตบอล

TikTok จับมือ ร่วมมือ LALIGA (ลาลีกา) ลีกฟุตบอลของประเทศสเปน เดินหน้าความร่วมมือต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังจากความสำเร็จในการร่วมมือกันครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำไปสู่การขยายความร่วมมื...

Responsive image

จับตา ‘ไทยในฐานะ Digital Asset Hub’ เตรียมจัดงานบล็อกเชนระดับโลก SEA Blockchain Week และ Devcon ปีนี้

ไทยกำลังได้รับความสนใจจากวงการเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก ด้วยการเป็นสถานที่จัดงานสำคัญระดับนานาชาติถึง 2 งาน ได้แก่ SEA Blockchain Week (SEABW) ในวันที่ 22-28 เมษา...