ม. เชียงใหม่และ FTI ร่วมมือนำหลักสูตร DII อุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างงานที่กำลังเป็นที่ต้องการในยุค 4.0 | Techsauce

ม. เชียงใหม่และ FTI ร่วมมือนำหลักสูตร DII อุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างงานที่กำลังเป็นที่ต้องการในยุค 4.0

   

ในปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนการทำงานเช่นที่ผ่านมาอีกต่อไป หากแต่จะหลอมรวมเข้ากับชีวิตคนอย่างแท้จริง และจะเปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต การค้าการบริการ และกระบวนการทางสังคมมากมาย

ในขณะที่เราพูดถึงประเทศไทยที่อยากจะพัฒนาตัวเองเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ประเทศไทย 4.0 หรือ ดิจิทัล 4.0 นั้นแต่หากบุคคลากรที่มีทักษะความรู้และความสามารถด้านดิจิทัลนั้นขาดแคลนอยู่มากไม่สามารถที่จะมาตอบสนองความต้องการประเทศในในยุค Digital Transformation ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี (CAMT) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (The Federation of Thai Industries :FTI) ได้สร้างความร่วมมือและมีการจัดตั้งโครงการ DII (Digital Industry Integration)

ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สามารถสร้างคนสร้างงานให้ตรงตามความต้องการและทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการฝึกทำงานตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและมีงานทำทันทีขจัดปัญหานักศึกษาที่จบไปแล้วไม่มีงานทำซึ่งทางภาคมหาวิทยาลัยมีความคาดหวังที่จะสามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานสายITส่วนทางภาคอุตสาหกรรมเองนั้นก็อยากจะเติมเต็มการศึกษาโดยนำความรู้ที่ได้จากการทำงานจริงมาสอนนักศึกษาตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามหาวิทยาลัย

DII คืออะไร

DII ย่อมาจากคำว่า ‘Digital Integration Industry’ ถือว่าเป็นหลักสูตรที่มีรูปแบบการศึกษาที่ได้ความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตร่วมกับภาคอุตสาหกรรม มีการวิภาคหลักสูตรซึ่ง AppMan ก็เป็นบริษัทหนึ่งในสมาชิกจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มาช่วยในกระบวนการตั้งแต่การคัดเลือกนักศึกษาไปจนถึงการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยให้นักศึกษามีโอกาสในการประยุกต์ความรู้ ทักษะการทํางานและทักษะเฉพาะที่จะต้องมีใช้ในที่ทำงานจริง

จะไม่มีอีกแล้วที่เราจะได้ยินคำว่า “เรียนไปทำไม เรียนไปก็ไม่ได้ใช้” เนื่องจาก DII นั้นได้สร้างสภาพแวดล้อมจริง โดยมีที่ทำงานให้กับนักศึกษา น้องๆจะได้เรียนรู้และสัมผัสถึงสิ่งที่เป็นความจริง และ ความรู้ น้องๆจะได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่สามารถนำไปใช้ในสายงานได้ทันที บอกได้ว่าน้องๆกลุ่มนี้เป็นผู้ที่รู้ตัวตั้งแต่เรียน ว่าจบไปแล้วจะทำอะไร

รูปแบบหลักสูตรของ DII

  1. ความรู้และทักษะตรงกับความต้องการของบริษัทและสามารถประยุกต์ได้ตามความต้องการ ของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
  2. มีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนเป็นพนักงานจริงของบริษัทตั้งแต่ระหว่างเรียนหรือมีสถานะเป็นพนักงานบริษัทตั้งแต่เริ่มเรียน

ความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรม

  1. วางหลักสูตร ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการเพื่อให้ได้เด็กที่ตรงตามความต้องการและมาเป็นพนักงานที่สามารถทำงานให้เราได้ทันที
  2. ร่วมคัดเลือกนักศึกษา (Co-Recruitment) ร่วมสัมภาษณ์เด็ก ม.6 เพื่อคัดเลือกเด็กที่ตรงกับคุณสมบัติ
  3. WorkShop สร้างกิจกรรมเพื่อจะช่วยสกัดความสามารถของเด็กรวมถึงสร้างความตระหนักในหลักสูตรและภาควิชาเรียน
  4. Boot Camp บริษัทส่งทีมงานไปช่วยเตรียมความพร้อมถึง 8 เดือนก่อนเข้าทำงานจริง
  5. สถานที่ทำงานจริง สภาพแวดล้อมจริง รับน้องนักศึกษาเข้ามาทำงานจริงกึ่งเป็นพนักงานบริษัท จำนวนไม่ต่ำกว่า 14 เดือน และมีการต่อสัญญาเป็นพนักงานบริษัททันที
  6. ตำแหน่งงาน ซึ่งสิ่งที่สอนนั้นล้วนเป็นตำแหน่งที่เราต้องการในงานทั้งสิ่ง ได้แก่ Front-End Developer, Back-End Developer, Full Stack Developer และ Mobile Developer.

Work Integrated Learning

DII เป็นรูปแบบหลักสูตรที่ได้ Concept มาจาก WIL (Work Integrated Learning) เกิดขึ้นมาร่วม 100 ปีมาแล้ว เป็นหลักสูตรที่ได้การยอมรับจากสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน และ แคนาดา ซึ่งสร้างสะพานเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาในปัจจุบันของนักศึกษากับวิชาชีพในอนาคต เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้และผสมผสานความรู้ทางทฤษฏี ที่ได้จากการเรียนกับประสบการณ์การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการที่อยู่ในโลกแห่งความจริงในทุกลักษณะวิชาเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของบริษัทและนักศึกษา ส่วน DII นั้นมีรูปแบบที่ใกล้เคียงเพียงแต่เราเจาะจงระหว่างการทำงานของภาคอุตสาหกรรม Digital กับ การเรียนในมหาวิทยาลัย

ซึ่งในประเทศเยอรมันนั้น ได้มีการก่อตั้งขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัย Baden - Wurtlemberg Corporate State University มีด้วยกันถึง 8 แห่ง และมีภาคอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือถึง 8,000 แห่ง มีนักศึกษาร่วม 20,000 คน ในการเรียนรูปแบบนี้

การเรียนแบบ WIL ในประเทศเยอรมันนี Source: Heinz, Kai, and Volker, 1996, p.37

แสดงให้เห็นว่าหลักสูตร DII นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด อาจารย์ของ CAMT มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ไปศึกษาการทำหลักสูตร WILจากประเทศทางเขตยุโรปมาและได้นำมาบูรณาการเป็นDIIในประเทศไทยโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนทางสายดิจิทัลทันต่อความ ต้องการกับภาคอุตสาหกรรมได้เร็วขึ้น เป็นหลักสูตรที่กระชับและสั้นขึ้นและได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยการศึกษาและปฎิบัติภายในระยะเวลาอันสั้น ทั้งยังสามารถผลิตบุคคลากรที่มีความรู้และชำนาญ พร้อมใช้งานได้จริง (Human Capital)

มีการสำรวจ ความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 2,148 คนในมหาวิทยาลัย ประเทศเเคนาดา ช่วงปี 2011 กล่าวว่าระบบการเรียนแบบWILเป็นระบบที่ให้นักศึกษาได้รับผลประโยชน์สูงสุดกว่าการเรียนปกติโดยแบ่งเป็นร้อยละ 45นักศึกษาหางานที่ตรงตาม วิชาชีพ หลังจบการศึกษา ร้อยละ 38 นักศึกษาหางานได้ง่ายขึ้น และร้อยละ21นักศึกษาเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับทางตะวันตกแต่เป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย

DII กับการเข้าสู่ระบบการศึกษาตามหลักสูตรปกติ

ปัญหาทั่วไปของการจัดตั้งหลักสูตร คือ ความล่าช้าของกระบวนการในระบบ เนื่องจากว่าต้องใช้เวลาถึง 7 ปี กว่าจะสำเร็จ เริ่มตั้งแต่การร่างหลักสูตร ที่อาจใช้เวลาร่วม 1 ปี ผ่านร่างสภา 1 ปี จัดอบรม 1 ปี และเรียนในมหาวิทยาลัยอีก 4 ปี ซึ่งมันใช้เวลาพอสมควร เป็นที่ทราบกันดีว่าความรู้ดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันของตลาดที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จึงทำให้เนื้อหาและความรู้ในหลักสูตรไม่สามารถปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเจออยู่บ่อยครั้ง

การพัฒนาจาก Analog สู่การเป็น Digital

ในโลกปัจจุบัน Technology มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นที่เห็นได้ชัด คือ สาขาธนาคารต่างๆ ที่ลดลงแต่มีการใช้เทคโนโลยีเเทนสาขา ทางด้านธุรกิจประกันภัย AppMan เองได้เล็งเห็นถึงสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ เช่นระบบการทำงาน ที่ยังคงมี การใช้กระดาษอยู่มาก ซึ่งทาง AppMan เราเองก็ได้มีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มประกันภัยชั้นนำของประเทศและเราช่วยแก้ปัญหาโดยการพัฒนา software และ Application ให้ลดการใช้กระดาษและมีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วไม่ซ้ำซ้อนซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งธุรกิจและผู้บริโภค ซึ่งตอนนี้มันมีอะไรอีกมากมายที่เราสามารถจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราให้ตอบสนองต่อ Digital Transform ได้อย่างสมบูรณ์ และสิ่งสำคัญมันจะเป็นการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด

ความคาดหวังจากนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้

นักศึกษาเหล่านี้จะถือได้ว่าเป็นนักศึกษาทักษะพิเศษ เฉพาะเชิงลึก เพราะโดนเทรนกับอุตสาหกรรมจริง รวมถึงพื้นฐานจากมหาลัย นักศึกษาสามารถย้ายไปอาชีพอื่นได้เช่นกัน เพราะพื้นฐาน Digital นั้นได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ การบิน การเเพทย์และอื่นๆ ซึ่งตอนนี้รูปแบบการเรียนการสอน DII นั้น มหาวิทยาลัยได้เน้นให้มันอยู่ในขอบเขตการผลิตคนเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัลให้เติบโตเสียก่อน เนื่องจากขาดแคลนอย่างมาก หากคนกลุ่มนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ จะสามารถแทรกซึมไปอยู่ในทุกภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมันจะเป็น ‘Back Bone ที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์’

อนึ่งแล้วทางภาคอุตสาหกรรมเองก็ไม่ได้มองระยะสั้น แต่หาก WORK FORCE ของประเทศ คือ นักพัฒนา (Developer) ซึ่งมีบทบาทและเป็นที่ต้องการอย่างมากในยุค transformation ซึ่งหลักสูตร DII สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ตั้งแต่รายบุคคล คือ ช่วยให้เค้าเป็นนักพัฒนา เมื่อบุคคลมีการพัฒนาก็จะทำให้สังคมได้รับการพัฒนาด้วย และเมื่อสังคมนั้นพัฒนา ประเทศไทยเราก็จะเป็นประเทศที่กล่าวได้ว่าพัฒนาแล้วเช่นเดียวกัน ฉะนั้นมันถึงเวลาที่เราทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันสรรสร้าง หากขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไป DII เรานั้นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นเฉกเช่นวันนี้

อุตสาหกรรมดิจิทัล + มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานร่วมกัน

เพื่อเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาบุคคลากรเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์ ทาง AppMan สนับสนุน ทุนการศึกษาเป็นค่าเทอมหลักสูตร DII กับน้องๆที่พร้อมที่จะเป็นนักพัฒนาและเติมเต็มประเทศไทย4.0ไปด้วยกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NTT DATA เดินหน้า Sustainable Device-as-a-Service ให้บริการอุปกรณ์แบบยั่งยืน

NTT DATA บริษัทชั้นนำด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการไอที ประกาศเปิดตัวโซลูชัน Sustainable Device-as-a-Service เพื่อให้บริการอุปกรณ์แบบยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับ HP โดยมีเป้าหมายเพื่อส...

Responsive image

สถาบันยานยนต์ จับมือ RX Tradex ดันนวัตกรรมยานยนต์ยั่งยืน รับมือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

สถาบันยานยนต์จับมือ RX Tradex ทะยานสู่ความยั่งยืน ขับเคลื่อนนวัตกรรมแห่งอนาคต ในสัมมนา “Automotive Summit 2024”...

Responsive image

ETDA จับมือ 80 บริษัทดิจิทัลชั้นนำ ชวน SMEs ไทยร่วม BUSINESS MATCHING ในงาน DGT2024

ETDA จับมือ 80 บริษัทผู้ให้บริการดิจิทัลชั้นนำ เปิดโซนกิจกรรม BUSINESS MATCHING & CONSULTING ในงาน Digital Momentum for the Future วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2567 ณ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ...