dtac คุมเข้มมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน ตั้งเป้า Zero accident | Techsauce

dtac คุมเข้มมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน ตั้งเป้า Zero accident

dtac ประกาศคุมเข้มมาตรการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ (Zero accident) พร้อมออกแนวปฏิบัติและคู่มือปฏิบัติการทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสิทธิแรงงานไทย เนื่องในวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยประเทศไทย 10 พฤษภาคม  

คุณชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac กล่าวว่า “การเคารพสิทธิแรงงานเป็นหนึ่งในคุณค่าที่บริษัทให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยตระหนักถึงความเท่าเทียมกันในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ dtac มีเป้าหมายในการยกระดับและส่งเสริมสิทธิของพนักงานตลอดจนซัพพลายของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพนักงานภายในบริษัท คู่ค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างผลกระทบทางบวกแก่สังคม ตลอดจนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน” 

ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในประเด็นที่ dtac ให้ความสำคัญ โดยกำหนดอยู่ใน dtac ธรรมภิบาล และเพื่อให้สอดคล้องกับคุณค่าหลักของบริษัทในเรื่องของการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยตั้งเป้าลดการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ (Zero accident) โดย dtac ได้ออกนโยบายและมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับธุรกิจในทุกประเภทกิจการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ข้อสำคัญดังนี้  

1. จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องหลักปฏิบัติของบริษัทคู่ค้า (Supplier Conduct Principles: SCP) โดยให้ความสำคัญในเรื่องการทำงานอย่างปลอดภัย อาทิเช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล รวมถึงการต่อต้านการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

2. จัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทคู่ค้าในการสำรวจ ตรวจประเมินและให้ความรู้และคำแนะนำในเรื่องความปลอดภัยและการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นงานสร้างเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ หรืองานติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการทำงานให้ dtac

นอกจากนี้ dtac ยังมีการติดตามผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากการเข้าตรวจประเมินหน้าไซต์งานหรือโรงงานเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน แม้จะไม่ได้ร่วมธุรกิจกับ dtac แล้วก็ตาม

สำหรับในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้น dtac ได้กำหนดมาตรการเฉพาะขึ้น โดยมอบสิทธิประกันคุ้มครองการติดเชื้อโควิด-19 แก่พนักงานทุกคน ขณะที่ผู้รับเหมาทุกรายต้องจัดทำเอกสารยืนยันการเดินทางไปประเทศเสี่ยงและสัมผัสกับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ติดเชื้อ (certificate letter on COVID-19) แจกหน้ากากชนิดผ้าและเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือให้แก่ทีมงานผู้รับเหมาในการเข้าปฎิบัติงานแต่ละจุดของการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจัดทำแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Business Continuity Plan: BCP)

ทั้งนี้ ในวันที่ 10 พฤษภาคมของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็น “วันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยประเทศไทย” เพื่อรำลึกและส่งเสริมสิทธิแรงงาน อันเนื่องมาจากเหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาและของเด็กเล่น ในปี 2536 โดยนับเป็นความสูญเสียแรงงานครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิต 188 ราย บาดเจ็บ 469 คน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความสามารถในการช่วยเหลือชีวิตกันเองของพนักงานต่ำ โรงงานก่อสร้างโดยไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีระบบป้องกันอัคคีภัยและไม่มีสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไม่มีการซ้อมอพยพหนีไฟ และฝ่าฝืนคำสั่งให้แก้ไขของเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

RELATED ARTICLE

Responsive image

Deloitte เผยผลสำรวจ Global GenZ and Millennial Survey 2023 ชี้คนรุ่นใหม่ไทยกังวลเรื่องค่าครองชีพมากที่สุด

Deloitte เผยผลสำรวจ Global GenZ and Millennial Survey 2023 ชี้คนรุ่นใหม่ไทยกังวลเรื่องค่าครองชีพมากที่สุด...

Responsive image

Thailand Influencer Awards 2023 รางวัลอินฟลูเอนเซอร์แห่งปี ใครคว้ารางวัลอะไรบ้าง

Thailand Influencer Awards 2023 (TIA) งานประกาศรางวัลอินฟลูเอนเซอร์แห่งปี ที่เปิดพื้นที่ให้แฟนๆ ได้พบปะอินฟลูเอนเซอร์คนโปรด มีใครคว้ารางวัลอะไรบ้าง...

Responsive image

ลงทุนอย่างยั่งยืน ให้ Startup ไทยเติบโตอีกครั้งกับ Krungsri Finnovate

Krungsri Finnovate ส่งเสริม Digital Economy ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการเปิดประตูแห่งโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SME และStartup ไทย ได้สร้างการเติบโตของธุรกิจบนเวทีโลก...