การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นก็เสมือนกับการสร้างหน้าร้านในโลกออนไลน์ให้ผู้ใช้บริการได้แวะเวียนเข้ามาเลือกดูสินค้า โดยต้องพึ่งคนกลางที่มีเทคโนโลยีและระบบสนับสนุนเชื่อมต่อเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นั่นก็คือ ‘เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ หรือ ACOM ซึ่งเป็นผู้ให้บริการธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร และได้ชื่อว่าเป็นผู้นำรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน หลังจากเปิดทำการมาร่วมสิบปี
บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACOM ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 โดยเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อหลากหลายช่องทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งระบบของบริษัทฯ ได้เชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) แล้วกว่า 300 รายการ ซึ่งประกอบด้วยแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (E-commerce Platform) ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการรับชำระเงิน แพลตฟอร์มสินค้าคงคลังและลูกค้าสัมพันธ์ และเครื่องมือระบบนิเวศอื่น ๆ ที่ให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ แก่ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ปัจจุบันบริษัทฯดำเนินธุรกิจใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดย ACOM ยังขึ้นแท่นเป็นผู้ประกอบธุรกิจ E-Commerce Enabler อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากพิจารณาจากยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) ซึ่งมีมูลค่าเป็น 1.8 เท่า เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุด และมีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 16.5% จากข้อมูลของ Euromonitor ในปี 2563
แม้จะอยู่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซเหมือนกันแต่โมเดลธุรกิจของ ACOM แตกต่างจากโมเดลธุรกิจของ Marketplace โดย ACOM เป็นผู้่เชื่อมต่อผู้ซื้อและผู้ขายผ่านแพลตฟอร์มการขายสินค้าออนไลน์ โดยไม่ได้เป็นตัวกลางเหมือน Marketplace แต่เป็นผู้ช่วยบริหารจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแบรนด์เพื่อให้แบรนด์สามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างต่อเนื่องในโลกออนไลน์ผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่เฉพาะเพียง Marketplace เท่านั้น รวมถึงช่องทาง Social Media ต่างๆ เว็บไซต์ของแบรนด์เอง และการเชื่อมต่อระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
1) EcommerceIQ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อไปยังเทคโนโลยีอื่น ๆ โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่าง ๆ โดยมีคุณสมบัติทั้งหมดดังนี้
2) EcommerceIQ SaaS เปิดตัวในปี 2564 โดยปัจจุบันให้บริการในสองรูปแบบ ได้แก่
(1)บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาด (Market Insight) ซึ่งให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งแบบกึ่งเรียลไทม์ (Near Real-Time) เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนแบ่งทางการตลาดของชั้นวางสินค้าดิจิทัล (Digital Shelf) การมองเห็นจากการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด (Search Visibility and Keywords)
(2) บริการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร (Client Analytics) โดยมีหน้าจอสรุปผลชุดข้อมูล (Dashboards) รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งวิเคราะห์การตั้งราคาและส่งเสริมการขายของตนเองได้ในเชิงลึก คาดว่าในปี 2565 - 2567 บริษัทฯ จะสามารถให้บริการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ การบริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้อในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์และการขายออนไลน์แบบตรงถึงผู้บริโภค (Direct-To-Consumer หรือ DTC) การสร้างการมีส่วนร่วม และการรักษาลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขายให้บริษัทฯ ได้อีกด้วย
3) Value Added Services หรือบริการเสริมอื่น ๆ ตามความต้องการของลูกค้า เป็นบริการเฉพาะด้านที่บริษัทฯ ได้เสนอให้แก่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ การทำการตลาด โลจิสติกส์ และการจัดการคลังสินค้า
ACOM ได้ลงทุนกว่า 850 ล้านบาท เพื่อวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์ม ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯมีแพลตฟอร์มที่สามารถจัดการกับธุรกรรมที่มีความซับซ้อนได้และรองรับธุรกรรมจำนวนมากได้ดีกว่าคู่แข่งซึ่งยังคงเน้นการทำงานแบบแมนนวล (Manual) พร้อมมีแผนลงทุนเพิ่มเติมเพื่อการเติบโตที่มากขึ้น และเพิ่มความสามารถในการรองรับความต้องการต่าง ๆ ของลูกค้า โดยแต่ละปีจะมีการแบ่งสัดส่วนการลงทุนหลัก ๆ ดังนี้
บริษัทฯ มีลูกค้าแบรนด์ดังระดับโลก อาทิ ยูนิลิเวอร์ 3M นารายา และยังมีลูกค้า13 แบรนด์ซึ่งอยู่ใน100 อันดับแรกแบรนด์ดังระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดในปี 2564 อีกทั้งยังมีสัญญาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH (หรือชื่อเดิมคือดีทแฮล์ท) ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าให้แบรนด์รายใหญ่ของเอเชียแปซิฟิก โดยมีแบรนด์ใน Portfolio กว่าพันแบรนด์ ส่งผลให้ ACOM มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Rights) ในการให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซกับลูกค้าของ DKSH สำหรับธุรกิจ B2C ออนไลน์ในประเทศที่ ACOM ดำเนินธุรกิจอยู่ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับการแนะนำและโอนผู้ใช้บริการของ DKSH ที่ดำเนินธุรกิจออนไลน์แบบ B2C โดยเฉพาะในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนั้น ACOM ยังมีโอกาสขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น หากแบรนด์อื่นๆใน Portfolio ของ DKSH ต้องการขยายธุรกิจไปสู่โลกออนไลน์ในอนาคต์
ข้อมูลจาก Euromonitor เผยว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2559 - 2563 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 54.2% และคาดว่าจะมีโอกาสเติบโตจากปัจจัยรายได้เฉลี่ยของผู้บริโภคที่สูงขึ้น ระบบการจัดส่งสินค้าและระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงพฤติกรรมซื้อสินค้าออนไลน์ โดยประเมินว่าในปี 2563 - 2568 จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี 19.8% นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่การเติบโตของตลาดผู้ให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 62.4 ในช่วงปี 2559-2563 และคาดว่าตลาดจะมีการเติบโตต่อไปในอนาคตอีกห้าปีด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 35.7 และจะมีมูลค่าตลาดเป็น 10,740 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตที่เร็วกว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในภาพรวม
บริษัทฯมีการเติบโตของรายจากการขายและการให้บริการระหว่างปี 2562-2564 ถึงร้อยละ 41.4 ต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.7 ในไตรมาส 1 ปี 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของการเติบโตแม้ว่าโลกกำลังก้าวข้ามสถานการณ์โควิด-19 แล้วก็ตาม นอกจากนั้น บริษัทฯได้รับประโยชน์จากการเติบโตจาก economy of scale โดยสามารถเจรจาต่อรองค่าขนส่งและคลังสินค้าเมื่อยอดขายมีปริมาณมากขึ้น อีกทั้งบริษัทฯมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนเพื่อมุ่งสู่เส้นทางสู่การทำกำไรในอนาคตอันใกล้
อ้างอิง :
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด