EIC คาดตลาดส่งออกของโลกยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ต้องจับตาการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน | Techsauce

EIC คาดตลาดส่งออกของโลกยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ต้องจับตาการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน

Key Summary

  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 2021 ขยายตัวถึง 41.6%YOY สูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี และหากหักทองคำจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 48.8%YOY โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวสูง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์
  • อัตราเติบโตในระดับสูงของเดือน พ.ค. เกิดจากปัจจัยฐานต่ำปีก่อนเป็นสำคัญ โดยหากพิจารณามูลค่าส่งออกแบบปรับฤดูกาล พบว่าการส่งออกได้ปรับลดความร้อนแรงลงมาระดับหนึ่ง สะท้อนจาก % MoM_sa ที่หดตัว อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกที่ 23,057.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือน พ.ค. ก็ถือว่าเป็นระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยรายเดือนในช่วงปี 2019 ก่อนเกิดวิกฤต และยังคงเป็นไปในทิศทางสอดคล้องกับที่ EIC คาดไว้ทั้งปี 2021 ว่าจะเติบโตที่ 15.0%YOY
  • ในช่วงที่เหลือของปี การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว โดยคาดว่าเดือน มิ.ย. จะเป็นอีกเดือนที่การส่งออกจะขยายตัวสูงจากปัจจัยฐานต่ำ ก่อนที่อัตราเติบโตจะทยอยปรับลดลง ทั้งนี้ต้องติดตามความเสี่ยงของการระบาดรอบใหม่ ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย ขณะที่ปัญหาค่าระวางเรือสูงจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ได้ทวีความรุนแรงขึ้นอีกจากการระบาดรอบล่าสุดทางตอนใต้ของจีน ซึ่งทำให้ต้นทุนการส่งสินค้าของผู้ประกอบการไทยยังอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ

Key points

มูลค่าการส่งออกเดือนพฤษภาคม 2021 ขยายตัวถึง 41.6%YOY นับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุด ในรอบเกือบ 11 ปี และหากหักทองคำการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 48.8%YOY ทำให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 มูลค่าการส่งออกขยายตัวที่ 10.8%YOY และหากไม่รวมทองคำ การส่งออกจะเติบโตถึง 18.6%YOY

ด้านการส่งออกรายสินค้า พบว่าการส่งออกสินค้าสำคัญทุกประเภทมีการขยายตัว โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวสูง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์

  • การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบขยายตัวถึง 170.3%YOY ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือนติดต่อกัน โดยตลาดหลักที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เวียดนาม (922%YOY), ออสเตรเลีย (245%YOY), นิวซีแลนด์ (535.8%YOY) และมาเลเซีย (530.2%YOY)
  • น้ำมันสำเร็จรูปขยายตัวถึง 105.5%YOY ตามราคาน้ำมันดิบที่ขยายตัวในระดับสูง โดยมีตลาดหลักที่ขยายตัวคือ  กัมพูชา (153.4%YOY), สิงคโปร์ (225.3%YOY) และมาเลเซีย (151.8%YOY)
  • ผลิตภัณฑ์ยางยังขยายตัวต่อเนื่องที่ 54.7%YOY โดยสินค้าหลักที่ขยายตัวดีคือ ถุงมือยาง (98.1%YOY)
    ตามความต้องการอุปกรณ์การแพทย์ที่ขยายตัวสูง และยางยานพาหนะ (77.3%YOY) ตามการฟื้นตัว
     ของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก
  • เม็ดพลาสติกขยายตัวดีที่ 61.4%YOY โดยเฉพาะในตลาดอินเดีย (328.3%YOY), อินโดนีเซีย (225.9%YOY)
    และเวียดนาม (92.93%YOY) ขณะที่การส่งออกเคมีภัณฑ์ก็ขยายตัวดีเช่นกันที่ 73.8%YOY โดยมีตลาดหลัก
     ที่ขยายตัวสูงคือ จีน (38.2%YOY), เวียดนาม (133.9%YOY) และญี่ปุ่น (129.9%YOY)
  • การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวดีที่ 20.5%YOY และ 5.5%YOY ตามลำดับ โดยสินค้าหลักที่ขยายตัวดีคือ ยางพารา (99.2%YOY) และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (59.2%YOY) อย่างไรก็ดี การส่งออกน้ำตาลทรายหดตัวที่ -45.7%YOY โดยหดตัวต่อเนื่อง 14 เดือนติดต่อกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการโดนเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในตลาดเวียดนาม ขณะที่การส่งออกข้าวหดตัวเช่นกันที่ -42.1%YOY โดยหดตัวต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากราคาข้าวของไทยอยู่ในระดับสูงกว่าคู่แข่ง
  • อัญมณีและเครื่องประดับหักทองคำเติบโตสูงถึง 113.3%YOY (หากไม่หักทองคำจะหดตัว -23.8%YOY) โดยสินค้าหลักที่ขยายตัวดีคือ พลอย (246.5%YOY), เครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง (195.1%YOY) และเพชร (126.3%YOY)

ด้านการส่งออกรายตลาด พบว่าการส่งออกขยายตัวทุกตลาดสำคัญ โดยเฉพาะอินเดีย สหภาพยุโรป และกลุ่มอาเซียน 5

  • การส่งออกไปอินเดียขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นมากที่ 243.8%YOY โดยมีสินค้าหลักที่ขยายตัวคือ ไขมัน
     และน้ำมันจากพืชและสัตว์ (1,095,274%YOY), รถยนต์และส่วนประกอบ (828.1%YOY), เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (364%YOY) และเม็ดพลาสติก (328.3%YOY)
  • การส่งออกไปจีนขยายตัวที่ 25.5%YOY โดยสินค้าหลักที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้ (63.0%YOY), เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (69.2%YOY) และยางพารา (69.5%YOY)
  • การส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวที่ 44.9%YOY โดยขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 12 เดือน ซึ่งมีสินค้าหลักที่ขยายตัวคือ รถยนต์และส่วนประกอบ (337.5%YOY), อัญมณีและเครื่องประดับ (172.7%YOY) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (184.7%YOY) 
  • การส่งออกไปยุโรปขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 63.1%YOY โดยมีสินค้าหลักคือ อัญมณีและเครื่องประดับ (167.6%YOY), รถยนต์และส่วนประกอบ (150.4%YOY) และเครื่องปรับอากาศ (83.2%YOY)
  • การส่งออกไปตลาดอาเซียน 5 พลิกกลับมาขยายตัวที่ 51.0%YOY จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว -4.4%YOY
     โดยสินค้าส่งออกหลักที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (404.8%YOY), น้ำมันสำเร็จรูป (158.8%YOY) และเม็ดพลาสติก (213.50%YOY)

การส่งออกเดือน พ.ค. 2021 มีการขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญและทุกตลาดสำคัญ

สินค้าส่งออกหลักที่เป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของการส่งออก ได้แก่ รถยนต์ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง และเม็ดพลาสติก ขณะที่การส่งออกทองที่หดตัวเป็นปัจจัยฉุดสำคัญ

ด้านมูลค่านำเข้าในเดือนพฤษภาคม 2021 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ 63.5%YOY ต่อเนื่องจากการขยายตัวที่ 29.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง (203.3%YOY), สินค้าทุน (35.9%YOY), สินค้าอุปโภคบริโภค (33.9%YOY) และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (71.7%YOY) 

ขณะที่การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปขยายตัวเช่นกันที่ 61.7%YOY แต่หากหักทองคำจะเหลือขยายตัวที่ 61.1%YOY แต่ก็ยังนับเป็นการขยายตัวที่สูงมาก ซึ่งส่วนหนึ่งของการนำเข้าวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปผลิตสินค้าส่งออก จึงเป็นสัญญาณที่ดีต่อการฟื้นตัวของภาคส่งออกในระยะต่อไป ทั้งนี้ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 การนำเข้าขยายตัวที่ 21.5%YOY ขณะที่ดุลการค้าช่วง 5 เดือนแรกเกินดุลที่ 1,494.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

Implication

การส่งออกเดือนพฤษภาคม 2021 ขยายตัวสูงจากปัจจัยฐานต่ำ สอดคล้องกับตัวเลขส่งออกของหลายประเทศทั่วโลก โดยจากรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่ามูลค่าส่งออกของหลายประเทศส่งออกสำคัญของโลกล้วนมีอัตราเติบโตสูงมากในช่วงหลัง เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำปีที่แล้วที่ทั้งโลกมีมาตรการปิดเมืองเข้มข้น จนส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตเพื่อส่งออก (supply chain disruption) ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการส่งออกของไทยแบบปรับฤดูกาล จะพบว่าการส่งออกไทยปรับลดความร้อนแรงลงมาระดับหนึ่งหลังจากฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนหน้า สะท้อนจากการหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเมษายนในปีนี้แบบปรับฤดูกาลที่ -3.5%mom_sa แต่ในภาพรวมยังถือได้ว่ามูลค่าการส่งออกที่ชะลอลงสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ส่งออกทั้งปี 2021 ของ EIC ที่ 15.0%YOY โดยคาดว่า เดือนมิถุนายนจะเป็นอีกเดือนที่มูลค่าการส่งออกจะขยายตัวในระดับสูงจากปัจจัยฐานต่ำ ก่อนอัตราเติบโตจะทยอยปรับลดลงในช่วงที่เหลือของปี

การส่งออกเดือน พ.ค. 2021 ขยายตัวสูงจากปัจจัยฐานต่ำ สอดคล้องกับตัวเลขส่งออกของหลายประเทศทั่วโลก แต่หากพิจารณามูลค่าการส่งออกของไทยแบบปรับฤดูกาล พบว่าปรับลดความร้อนแรงลงมาบ้าง สะท้อนจากตัวเลข %mom_sa ที่หดตั

การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี ต้องติดตามความเสี่ยงของการระบาดรอบใหม่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน ในช่วงที่เหลือของปี เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและจีน ที่คาดว่าจะมีพัฒนาการด้านการฉีดวัคซีนที่มากกว่ากลุ่มประเทศด้อยและกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์ล่าสุดของจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกจะปรับลดลงจากยอดสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ในช่วงหลังหลายประเทศเริ่มมีการระบาดมากขึ้นจากไวรัสสายพันธุ์อินเดีย สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ยรายวันช่วงล่าสุด (เฉลี่ยวันที่ 1 – 19 มิ.ย.) ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดือนก่อน (พ.ค.) โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย ทั้งนี้ต้องติดตามต่อไปว่าการระบาดที่เกิดขึ้นจะลุกลามจนกลายเป็นการระบาดระลอกใหม่ และจะกระทบต่อภาคการส่งออกของโลกและของไทยหรือไม่

แม้ว่าการระบาดทั้งโลกจะปรับดีขึ้นในช่วงหลัง แต่มีบางประเทศที่พบการระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต้องติดตามต่อไป

นอกจากนี้ การส่งออกของไทยยังมีปัจจัยกดดันต่อเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) และตู้คอนเทนเนอร์ โดยการขาดแคลนชิปในช่วงปัจจุบันเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การหยุดการผลิตในช่วงก่อนหน้าที่มีการระบาดของ COVID-19 ในปีก่อน ประกอบกับความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้นตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาภัยแล้งในไต้หวันซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก รวมถึงการแย่งชิงสต็อกชิปเนื่องจากการแบ่งขั้วเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งการขาดแคลนชิปได้ส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรม เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเกมส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น โดยปัญหาดังกล่าวจะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยกดดันต่อเนื่องต่อภาคการส่งออกของไทยและโลกในช่วงที่เหลือของปี

ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ล่าสุดได้ปรับตัวแย่ลงอีกครั้งจากการระบาดระลอกใหม่ทางตอนใต้ของจีน โดยในช่วงก่อนหน้า การฟื้นตัวของภาวะการค้าโลกที่เริ่มปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 ขณะที่หลายท่าเรือของทางฝั่งอเมริกาและยุโรปยังไม่สามารถดำเนินการได้จากการระบาดของ COVID-19 จึงทำให้การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เป็นปัญหาเรื่อยมา ต่อมาเกิดวิกฤตการณ์เรือขวางคลองสุเอซในเดือนมีนาคม 2021 จึงยิ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ลง และล่าสุดปัญหาการแพร่ระบาด COVID-19 รอบใหม่ในมณฑลกวางตุ้งของจีน ได้ทำให้เกิดความล้าช้าในการบริหารจัดการสินค้าของท่าเรือเหยียนเทียนและท่าเรือกว่างโจว ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นลำดับ 3 และ 5 ของโลก จึงทำให้สถานการณ์ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ตึงเครียดเพิ่มเติม สะท้อนจากราคาระวางเรือ (Freight) ที่กลับมาปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงหลัง 

การระบาดของ COVID-19 รอบล่าสุดทางตอนใต้ของจีน ได้ซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และทำให้ค่าระวาง (Freight) ปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง

บทวิเคราะห์จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/7648


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Tokenization Summit 2024 by Token X พบกูรูระดับโลกเจาะลึกวิสัยทัศน์การปฏิวัติ Digital Asset

เวทีสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ “Tokenization Summit 2024” ภายใต้หัวข้อ Unveiling the Next Big Thing ขนทัพผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ มาให้ความรู้ แ...

Responsive image

TikTok จับมือ ลาลีกา สานต่อความร่วมมือ ยกระดับคอมมูนิตี้คนรักฟุตบอล

TikTok จับมือ ร่วมมือ LALIGA (ลาลีกา) ลีกฟุตบอลของประเทศสเปน เดินหน้าความร่วมมือต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังจากความสำเร็จในการร่วมมือกันครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำไปสู่การขยายความร่วมมื...

Responsive image

จับตา ‘ไทยในฐานะ Digital Asset Hub’ เตรียมจัดงานบล็อกเชนระดับโลก SEA Blockchain Week และ Devcon ปีนี้

ไทยกำลังได้รับความสนใจจากวงการเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก ด้วยการเป็นสถานที่จัดงานสำคัญระดับนานาชาติถึง 2 งาน ได้แก่ SEA Blockchain Week (SEABW) ในวันที่ 22-28 เมษา...