Ericsson เผยเทคโนโลยี AI คือ กุญแจสำคัญช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า | Techsauce

Ericsson เผยเทคโนโลยี AI คือ กุญแจสำคัญช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า

Ericsson เปิดเผยผลรายงานการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าผ่านเทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติ พบว่าผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั่วโลกต่างตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติมาปรับใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้การเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้าเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าการลงทุน ทั้งนี้เนื่องจากระบบ 5G จะมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อน Internet of Things (IoT) และ Industry 4.0 

จากผลการศึกษาพบข้อมูลสำคัญดังนี้:

•    90% ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารระบุว่า AI มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้า

•    ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร 8 ใน 10 ราย คาดว่าต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และความซับซ้อนที่มีมากขึ้น เป็นผลจากการเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ 

•    92% ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารได้ปรับการใช้ข้อมูลเชิงลึกของเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในช่วงปีที่ผ่านมา

•    ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร 9 ใน 10 ราย เห็นว่าการเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้าและการเพิ่มรายได้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

•    ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร 7 ใน 10 ราย คิดว่าการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญที่ท้าทายในการดำเนินงาน

คุณปีเตอร์ ลอริน รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายการบริหารจัดการเครือข่าย ของ Ericsson กล่าวว่า “การเข้ามาของเทคโนโลยี 5G และ IoT การเพิ่มจำนวนอย่างมากของอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ และการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างมากต่อวิธีการทำงานของเน็ตเวิร์กและฝ่ายไอที จากการที่ 5G เปิดตัวทั่วโลก ทำให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารต้องเผชิญกับความท้าทายในการนำ 5G ไปปรับใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ พร้อมการนำไปใช้งานจริง รวมถึงความต้องการด้านการบริการใหม่ ๆ และการจัดแบ่งทรัพยากรระบบประมวลผล ระบบสื่อสารทางกายภาพให้กับเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้บริการภายใต้ระบบ 5G (virtualization and network slicing)  ซึ่งเมื่อคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้แล้ว ความซับซ้อนของการจัดการเน็ตเวิร์กรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น เราจึงเตรียม Ericsson Operations Engine ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มขับเคลื่อน AI สำหรับจัดการเน็ตเวิร์กในอนาคต ที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถก้าวข้ามการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ไปได้”

จากรายงานยังพบว่า เทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติในการดำเนินงานนั้นได้เปลี่ยนจากแนวคิดไปสู่การใช้งานจริงในห้องประชุมของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั่วโลก นอกจากนี้ ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีที่ผู้บริหารด้านสายงานปฏิบัติการใช้งาน AI และระบบอัตโนมัติเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์ และสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างไร รวมถึงการที่พวกเขาจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงตัวชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้า (Net Promoter Score - NPS) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนของประสบการณ์ที่ดีของผู้บริโภค และคุ้มค่าต่อการลงทุน

สำหรับประเทศไทย Ericsson และบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) - ดีแทค ได้เปิดตัวรูปแบบการดำเนินงานด้านเน็ตเวิร์กที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (customer-centric network) ตั้งแต่เดือนมกราคมของปีนี้  เป็นไปตามการลงนามในข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนเมื่อปีที่แล้ว โดย Ericsson มีหน้าที่เข้ามาดูแลจัดการการดำเนินงานด้านเน็ตเวิร์กของดีแทคทั่วประเทศด้วยการใช้แพลตฟอร์ม Ericsson Operations Engine โดยที่ดีแทคยังคงดูแลรับผิดชอบทางด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของเน็ตเวิร์กและเป็นเจ้าของสินทรัพย์ต่อไป

คุณนาดีน อัลเลน ประธานบริษัท Ericsson ประเทศไทย กล่าวว่า “เราจะใช้ประสบการณ์ระดับโลกของ Ericsson ผนวกกับเครื่องมือและเทคโนโลยีล่าสุดใน AI, ระบบ Automation และ Machine Learning (ML) เพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกมาให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยมุ่งเน้นที่ประสบการณ์ลูกค้าเป็นหลัก”

จากงานวิจัยของ Ericsson พบว่า ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวกับการริเริ่มใช้ AI และระบบ Automation กันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการเหล่านั้นกล่าวว่าการใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีทักษะและวิธีการทำงานใหม่ ๆ ประกอบด้วยเพื่อให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น และอย่างน้อยที่สุด การเปลี่ยนแปลงด้านองค์กรก็มีความสำคัญเทียบเท่ากับด้านเทคโนโลยีเช่นกัน ในแง่ของความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปเป็นดิจิทัลมากขึ้น

รายงานฉบับนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารมักจะมองว่า พวกเขาจะต้องควบคุมดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนการดำเนินงานมากเป็นพิเศษ  แต่อย่างไรก็ตามตอนนี้พวกเขาให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้า และรับทราบถึงบทบาทของตนที่จะต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตเป็นลำดับแรก

Ericsson เปิดสวิทช์ 5G ให้กับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ ในด้าน IoT, Industry 4.0 และระบบดิจิทัล นอกจากนั้น แพลตฟอร์ม Ericsson Operations Engine ยังสร้างความแตกต่างอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนาจากการใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (network-centric) มาเป็นการใช้ประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (user-experience-centric) แทน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงลึกถึงระดับฐานรากจากปฏิบัติการเชิงรับเป็นเชิงรุก โดยมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ระบบ Automation และปัญญาประดิษฐ์อย่างเต็มรูปแบบ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...