EVAT ชูงานเสวนาใหญ่ส่งท้ายปี ยานยนต์ไฟฟ้าไทยจะเปลี่ยนมาใช้เมื่อไหร่ดี? | Techsauce

EVAT ชูงานเสวนาใหญ่ส่งท้ายปี ยานยนต์ไฟฟ้าไทยจะเปลี่ยนมาใช้เมื่อไหร่ดี?

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นำโดย คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมฯ เเละ คุณขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 37 ร่วมเป็นประธานเปิดงานเสวนาให้ความรู้เรื่องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า "ยานยนต์ไฟฟ้าไทย จะเปลี่ยนมาใช้เมื่อไหร่ดี” ภายในงานได้รวบรวมวิทยากรชั้นนำ ในวงการยานยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึง ยูทูปเบอร์เเละบล็อกเกอร์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าชื่อดังของไทย อย่าง เช่น คุณอติชาญ เชิงชวโน หรือ คุณอู๋ (Spin9),  นิธิ ท้วมประถม (Autolifethailand), คุณกฤษดา ธีรศุภลักษณ์ (Welldone Guarantee) คุณวรรณดิษย์ แว่นอินทร์ (Captain DIY)  ร่วมเสวนาภายในงานเเละได้รับคามสนใจจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก

โดยงานเสวนาเเบ่งออกเป็น ช่วงเช้า เเละช่วงบ่าย ซึ่งช่วงเช้า เริ่มการบรรยายภายใต้หัวข้อ ข้อมูลรถยนต์ไฟฟ้า ที่หาไม่ได้ในโบรชัวร์ จากค่ายรถยนต์  โดย คุณธนานันท์  กาญจนคูหา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด ต่อด้วย คุณภูมิพัฒน์ ปรางทอง ที่ปรึกษา บริษัท ทากาโน่ ออโต้ ไทยเเลนด์ เเละคุณวิชิต ตั้งวงศ์ชื่นสุข ผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรม บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องเเผนการดำเนินงานในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ประโยชน์ของยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ รวมไปถึงการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อุปกรณ์การชาร์จไฟฟ้า การติดตั้งเเบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า เช่น บีเอ็มดับเบิลยู ที่วางเเบตเตอรี่ในจุดที่คำนึงถึงความสมดุลในการกระจายน้ำหนัก เเละความสะดวกสบายของผู้นั่งเเละผู้ขับขี่เป็นหลัก

ตามด้วยไฮไลท์เด็ดของงานเสวนา ในหัวข้อ “ยานยนต์ไฟฟ้าไทย จะเปลี่ยนมาใช้เมื่อไรดี” ผ่านมุมมอง 4 ยูทูปเบอร์ ชื่อดัง เริ่มด้วย คุณอู่ Spin 9 อธิบาย ประเด็นคำถามคาใจ สำหรับคนที่อยากมีรถยนต์ไฟฟ้า ว่ากังวลเรื่องการหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าหรือไม่ ซึ่งคุณอู่มองว่า จริงๆ เเล้ว ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า จะทราบเองอยู่เเล้วว่ามีที่ชาร์จยู่ตรงจุดใดบ้าง เพียงเปิดเเอปพลิเคชัน  ซึ่งผู้ขับขี่ ก็จะสามารถคำนวณระยะทางเเละการขับขี่ได้ ประกอบกับ ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเกือบจะทั้งหมด มีการติดที่ชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์อยู่ที่บ้าน อย่างน้อยหากค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าไม่พบ ขับรถกลับมาที่บ้านของเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเองก็มีที่ชาร์จ จึ่งมองว่านี้ไม่ใช่ปัญหาหลัก เเต่ที่สำคัญที่สุดในระยะยาว ประเทศไทยจำเป็นต้องมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับ คุณนิธิ  (Autolife Thailand) ที่บอกว่า บางสถานีชาร์จอัดประจุไฟฟ้า จัดให้บริการเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ เช่น ต้องเป็นสมาชิกของโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือ เฉพาะผู้พักอาศัยของโรงเเรมเท่านั้น ซึ่งในบางครั้งผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า อาจเผชิญการยากลำบากในการหา เเละบางสถานีอัดประจุไฟฟ้ามีการจ่ายประจุไฟฟ้าที่น้อย ไม่เหมาะกับรถยนต์ไฟฟ้า เเบบ EV จริงๆ เพราะจะต้องสูญเสียเวลานาน หลายชั่วโมงถึงจะสามารถชาร์จให้เต็มได้ เเต่จะเหมาะกับ รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด ที่มี ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงเเละพลังงานไฟฟ้า (PHEV) มากกว่า ซึ่งในอนาคตจะต้องมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพเเละสามารถรองรับรถยนต์ไฟฟ้าได้จริงๆ 

ส่วนในเรื่องของสมรรถนะยานยนต์ต่างๆ คุณวรรณดิษย์ แว่นอินทร์ (Captain DIY) เล่าว่า จริงๆ เเล้วรถยนต์ไฟฟ้า ของเขาที่ขับอยู่เป็นประจำยี่ห้อหนึ่ง ระบุไว้ว่าตามสเปคสามารถวิ่งได้ราว 337 กิโลเมตร ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ในแต่ละครั้ง เเต่จากการทดสอบด้วยตนเอง คุณวรรณดิษย์ ขับที่ความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถวิ่งได้โดยไม่จอดชาร์จจนพลังงานไฟฟ้าหมด ในระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าสูงมากกว่าที่ระบุไว้ในสเปค เเสดงว่ารถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันที่พบในท้องตลาด ต่างก็มีสมรรถนะที่คุ้มค่า ถึงเเม้จะเเตกต่างกันด้วยราคาก็ตาม ด้านคุณกฤษดา (Welldone Guarantee) ได้ให้มุมมองในฐานะที่ตน เคยเป็นอดีตวิศวกรของค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ว่า วันนี้ประเทศจีนได้พิสูจน์ให้นานาประเทศเห็นเเล้วว่า สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าจีน อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก เพราะที่ประเทศจีนมีบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าที่ศึกษาวิจัยเเละพัฒนาเรื่องยานยนต์สมัยใหม่มากกว่า 100 บริษัท ที่ประชาขนชาวไทยพบเห็นมาขายในประเทศไทยได้ นั้นคือ เป็นรถที่ดีที่สุดในประเทศจีนเเล้ว ถึงจะสามารถส่งออกมาขายให้ชาวต่างชาติได้ ในขณะที่ประเทศไทยจริงๆ เเล้วยังมีศักยภาพที่จะเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เเละรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพราะประเทศไทยมีเเรงงานที่มีฝีมือ สามารถเเข่งขันกับชาติอื่นๆ เเละต่อไป ก็จะสามารถผลิตเเละส่งออกสู่ชาติอื่นๆ ในอาเซียนได้ ซึ่งทาง 4 ยูทูปเบอร์ เห็นตรงกันในจุดนี้ เเละยังเน้นย้ำว่า ภาคเอกชน ในขณะนี้ พร้อมมากในการลงทุนสนับสนุนการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า หลายค่ายรถยนต์เริ่มการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไปเเล้ว เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งการขับเคลื่อนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยภาคเอกชนอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการใช้ได้จริงในวงกว้างจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับทางภาครัฐด้วย

หลังจากนั้นคุณชูชาติ กลิ่นโสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ขึ้นกล่าวให้คำเเนะนำกับผู้ที่สนใจจะซื้อยานยนต์ไฟฟ้ามาขับขี่ในประเด็น “สิ่งที่ต้องดำเนินการกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เมื่อเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า” ซึ่งคุณชูชาติ กลิ่นโสภณ ได้ให้คำเเนะนำเกี่ยวกับ ตู้ชาร์จไฟฟ้า ที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งภายในบ้าน เเละการเดินสายไฟ เมื่อเดินสายไฟสำหรับติดตั้งเสร็จเเล้ว ควรให้เจ้าหน้าที่จาก การไฟฟ้านครหลวง เข้าทำการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย  พร้อมเผยว่า ภาครัฐมีเเผนการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐาน อย่างสถานีอัดประจุไฟฟ้าในหลายๆพื้นที่ทั่วประเทศไทย ปิดท้ายวันเสวนาด้วย  “รถยนต์ไฟฟ้ามือสอง ราคาเป็นอย่างไร เเละใครจะซื้อบ้าง”  โดยบอร์ดบริหารจาก สมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ใช้เเล้ว คุณนพดล นิลธรรมชาติ  ที่ได้ให้ข้อคิดว่าในขณะนี้ รถยนต์ไฟฟ้ามือสองเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังมีจำนวนที่ค่อนข้างจำกัดอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ปัจจุบันนี้ รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาขายต่อดีกว่ารถยนต์ระบบสันดาปภายในที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ติดท็อป 5 ‘Best Taiwan Global Brands’ 7 ปีซ้อน ขับเคลื่อน Edge AI ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้าน

แอดวานซ์เทค (Advantech Co., Ltd.) ผู้นำด้านอุตสาหกรรม IoT ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 แบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ "2024 Best Taiwan Global Brands" ด้วยมูลค่าแบรนด์ 851 ล้านดอลลาร์...

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...