คน Gen Z และพฤติกรรมการใช้ Social Media ความเชื่อมโยงและแรงบันดาลใจ ที่แยกกันไม่ขาด

  • สำหรับกลุ่ม Gen Z ชาวไทยแล้ว อินสตาแกรมเป็นแหล่งยอดฮิตอันดับต้น ๆ สำหรับหาแรงบันดาลใจเพื่อตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี
  • 51% ของชาวไทยในกลุ่ม Gen Z เชื่อถือคำแนะนำของคนที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว อย่างอินฟลูเอนเซอร์และ เซเลบริตี้
  • 1 ใน 4 (26%) ของคนชาวไทยในกลุ่ม Gen Z ซึ่ง “สนุกกับการถ่ายรูป” นั้น ถ่ายภาพมากกว่า 50 ภาพต่อวันในช่วงที่ไปเที่ยว และชอบที่จะแชร์ภาพแบบสาธารณะ โดยมี 56% เลือกแชร์บนโซเชียลมีเดีย
  • อย่างไรก็ตาม Gen Z ชาวไทยเกินครึ่ง (53%) คิดว่ามีการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปตอนที่เดินทาง

มีความสงสัยมากมายเกี่ยวกับคน Gen Z และพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย พวกเขารู้สึกเบื่อบ้างไหม? คนกลุ่มนี้ยังแชร์เนื้อหาต่าง ๆ กันอยู่หรือเปล่า? คน Gen Z เอาแต่เชื่ออินฟลูเอนเซอร์งั้นหรือ? ทั้งนี้ Booking.com ผู้นำด้านการเดินทางออนไลน์ ซึ่งเชื่อมโยงผู้เดินทางเข้ากับตัวเลือกที่พักมีเอกลักษณ์หลากหลายประเภท ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่ห้ามพลาดเมื่อเดินทาง และตัวเลือกด้านการเดินทางอย่างราบรื่น ได้ทำการสำรวจครั้งใหม่ที่เผยให้เห็นว่า แม้ผู้เดินทาง Gen Z จะเป็นนักเที่ยวแบบเน้นทัศนียภาพและขยันถ่ายภาพลงโซเชียล แต่ความมุ่งมั่นของคนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในกรอบขนาด 1080 พิกเซลของ อินสตาแกรม เท่านั้น

ได้เห็นก็คือได้ไปพัก

มีคำกล่าวว่าภาพหนึ่งภาพสามารถแทนคำนับพัน ซึ่งสำหรับคน Gen Z หนึ่งในคำเหล่านั้นต้องมีแฮชแท็ก #travel และ #inspo’ อยู่ด้วย โดย Gen Z ชาวไทยมากกว่าครึ่ง (64%) ชอบที่จะดูโพสต์และภาพถ่ายเกี่ยวกับการเดินทางบนโซเชียลมีเดีย และเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี คน Gen Z ก็จะตรงไปดูฟีดของตัวเอง โดย 30% ของคนวัยนี้เลือกให้ฟีดโซเชียลมีเดียเป็นแหล่งแรงบันดาลใจชั้นยอดด้านการเดินทาง

ผู้หญิงไทยในกลุ่ม Gen Z นั้นมีแนวโน้มมากกว่า ที่จะจินตนาการภาพทริปพักผ่อนครั้งถัดไประหว่างเลื่อนดูโซเชียลมีเดีย (39%) โดยความเชื่อมั่นในอินสตาแกรมของกลุ่มนี้ ทิ้งห่างจากค่าเฉลี่ยของคนใช้อินสตาแกรมทั่วประเทศ (31%) และบรรดาคนยุคมิลเลนเนียล (36%) ทั้งนี้ เมื่อต้องเลือกจุดหมายใหม่ ๆ ที่จะไปเยือน คน Gen Z ชาวไทยมากกว่าครึ่ง (60%) กล่าวว่าได้รับอิทธิพลจากอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย และ 51% กล่าวว่าปกติแล้วเชื่อถือคำแนะนำด้านการเดินทางของอินฟลูเอนเซอร์

แรงบันดาลใจสำหรับคน Gen Z ไม่ได้มาจากแค่หน้าจอสมาร์ทโฟนเท่านั้น เพราะผู้ทำแบบสอบถาม 28% ระบุว่าได้แรงบันดาลใจเรื่องจุดหมายในการเดินทาง จากการดูภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ ซึ่งทำให้อยากไปเห็นสถานที่ดังกล่าวด้วยตาตัวเอง นอกจากนี้ คำแนะนำด้านการเดินทางก็ยังมาจากสังคมออฟไลน์ด้วยเช่นกัน โดย 25% หาข้อมูลวงในจากกลุ่มเพื่อน

ขยันถ่ายภาพลงโซเชียล

ไม่ว่าจะเป็นหน้าฟีดของอินฟลูเอนเซอร์หรือของตัวเอง Gen Z ชาวไทยกว่า 60% ต่างกล่าวว่าสนใจการเดินทางไปจุดหมายที่ถ่ายภาพออกมาดูดี มากกว่าครึ่ง (56%) กล่าวว่าเมื่อเดินทางจะอัปโหลดภาพจากทริปลงโซเชียลมีเดียเสมอ แต่ก็ยังน้อยกว่าผู้ใช้ยุคมิลเลนเนียล ที่อัปโหลดรูปลงโซเชียลมีเดียถึง 67% เลยทีเดียว

ระหว่างการไปเที่ยวของคน Gen Z ชาวไทยพบว่า 29% ถ่ายภาพโดยเลี่ยในแต่ละวันอยู่ที่ 10-30 ภาพ โดยหนึ่งในสี่ของผู้เดินทางชาวไทยในกลุ่ม Gen Z (26%) สนุกกับการถ่ายภาพ ซึ่งถ่ายภาพมากกว่า 50 ภาพต่อวัน

คน Gen Z เป็นรุ่นแรกที่ได้โตมาเป็นชาวดิจิตอลโดยกำเนิด จึงไม่น่าแปลกใจที่จะใช้ชีวิตแบบขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้ โดย 53% ให้ความสำคัญกับ Wi-Fi มากที่สุดในช่วงไปเที่ยว ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าคนรุ่นอื่น ๆ และคน Gen Z ยังเลือกให้ Wi-Fi เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอันดับต้น ๆ ที่อยากได้จากที่พักอีกด้วย

(ไม่ได้) ทำเพื่อแค่ให้ได้ภาพลงอินสตาแกรม

แรงกระตุ้นของคน Gen Z ไม่ได้มีเพียงอินสตาแกรม เพียงอย่างเดียว เพราะคนกลุ่มนี้ก็ตระหนักถึงความสำคัญของประสบการณ์ที่ได้จากไปเที่ยว โดยสองในสาม (69%) กล่าวว่าอยากโฟกัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและดื่มด่ำกับช่วงเวลาต่าง ๆ แทนที่จะเอาแต่ถ่ายภาพลงโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าภาพถ่ายสำหรับลงโซเชียลนั้นเป็นเพียงของแถมจากการเดินทาง สำหรับคนรุ่นนี้ที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์แล้ว หลายคนต่างก็อยากใช้ชีวิตแบบออฟไลน์ เพราะ 53% กล่าวว่า พวกเขาเชื่อว่ามีการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปในช่วงเดินทาง ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้จะยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพฤติกรรมการชอบใช้ หรือ “ถูกใจ” โซเชียลมีเดียของคน Gen Z แต่การก้มหน้าดูจอ คงไม่สามารถขัดขวางประสบการณ์การเดินทางของจริง ในชีวิตจริงของพวกเขาได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน

ศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการสำรวจโดย Booking.com เกี่ยวกับผู้เดินทาง Gen Z ได้ที่ https://destinationgenz.com/thai/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มหิดล เปิดกลยุทธ์ชุดใหญ่ สร้าง 'Real World Impact' ยกระดับการแพทย์ ตั้งโรงงานยาที่มีชีวิต

มหาวิทยาลัยมหิดล เผยกลยุทธ์สร้าง 'Real World Impact' ไม่ใช่แค่ Academic Impact เพื่อช่วยแก้สารพัดปัญหา พัฒนาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งมุ่งเป็นผ...

Responsive image

depa เปิดฉาก ESPORTS REGIONAL TOURNAMENT เดินหน้าผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอีสปอร์ตภูมิภาค

ดีป้า พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร เดินหน้าผลักดันวงการอีสปอร์ตไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ “depa ESPORTS” ภายใต้แนวคิด PLAYGROUND FOR THE FUTURE มุ่งส่งเสริมเยาวชนและบุคคลทั่วไปที...

Responsive image

ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ นำเอกชนไทย ร่วมงาน NVIDIA ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม AI

ที่ปรึกษา รมว.กต.นำเอกชน AI ไทยร่วมงาน NVIDIA ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ สร้างเครือข่าย-ขยายประสิทธิภาพเทคโนโลยีไทย - ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญอุตสาหกรรม AI-Semiconductors วางนโยบายส่งเสริ...