สวทช. ผนึก จุฬาฯ พัฒนา Germ Saber Robot ฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยแสงยูวีภายใน 30 นาที | Techsauce

สวทช. ผนึก จุฬาฯ พัฒนา Germ Saber Robot ฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยแสงยูวีภายใน 30 นาที

ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาและทดสอบ นวัตกรรมหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวี หรือ “Germ Saber Robot” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี (UV) สามารถเข้าถึงการฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เฉพาะและจุดเสี่ยงโรคต่างๆ ได้ดี เนื่องจากระหว่างการฆ่าเชื้อโรค พื้นที่เหล่านั้นจะต้องปลอดคน เพราะการใช้แสงยูวีแม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้

ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สวทช. เปิดเผยว่า หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี หรือ “Germ Saber Robot” ที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วยหลอดยูวี-ซี (UV-C ) ขนาดพลังงานรวม 300 วัตต์ พร้อมชุดควบคุมไฟ มีความพิเศษตรงที่สามารถบังคับให้ขับเคลื่อนไปยังจุดต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ควบคุม “รีโมตคอนโทรล” เพื่อสั่งการให้หุ่นยนต์เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาและหมุนตัวแบบ 360 องศา เพื่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคทุกสภาพพื้นที่  

“รังสีอัลตราไวโอเล็ตหรือแสง UV เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วง 10 นาโนเมตรถึง 400 นาโนเมตร ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ โดยหุ่นยนต์ “Germ Saber Robot” ที่พัฒนาขึ้นนี้ ใช้แสง UV-C (ความยาวคลื่นอยู่ในย่านความถี่ประมาณ 250 นาโนเมตร) เป็นแสง UV ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือเชื้อโรคต่างๆ ที่ความยาวคลื่นนี้แสง UV จะทำลายดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างไวรัส, แบคทีเรีย, เชื้อราและเชื้อโรคชนิดต่างๆ หยุดยั้งประสิทธิภาพในการแพร่พันธุ์และฆ่าพาหะเหล่านี้ในที่สุด

การนำหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี หรือ UV “Germ Saber Robot” มาใช้ประโยชน์ในช่วงที่ประเทศไทยมีการระบาดของโรคโควิด-19 จะช่วยให้สถานที่ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากน้ำยาฆ่าเชื้อ ช่วยลดการตกค้างหรือปนเปื้อนของสารเคมีในน้ำยาฆ่าเชื้อ ที่สำคัญหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคสามารถฆ่าละอองฝอยของเชื้อที่ลอยในอากาศได้ และยังสามารถใช้ฆ่าเชื้อบนพื้นผิวของอุปกรณ์เฉพาะ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์ ที่ไม่สามารถโดนน้ำหรือน้ำยาเคมีได้ เป็นต้น”

ดร.ศิวรักษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์ “Germ Saber Robot ทีมวิจัยต้องการช่วยบรรเทาสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในยามที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ จึงเร่งผลิตหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ขึ้นมา เพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมในการฆ่าเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ที่ใช้งานได้สะดวกทุกที่และตลอดเวลา โดยการฆ่าเชื้อโรคในรัศมีโดยรอบ 1-2 เมตร เป็นระยะเวลา 15-30 นาทีต่อจุด จะช่วยฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวต่างๆ ได้

ทั้งนี้ทีมวิจัยเตรียมความพร้อมของหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี โดยวางแผนนำร่องทดสอบการใช้งานที่สถานพยาบาลแห่งแรก คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และหน่วยงานต่างๆ ต่อไป สำหรับหน่วยงานหรือผู้ที่สนใจให้ทีมวิจัยทำการผลิต หรือนำไปทดลองใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...

Responsive image

AstraZeneca รับรางวัล Most Innovative Company จาก BCCT จากความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม AI ด้านสุขภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข้ารับรางวัล Most Innovative Company (รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม) จาก สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู...

Responsive image

Gourmet Market เปิดตัวรถเข็น Smart Cart ครั้งแรกในไทย ค้นหาสินค้า หาโปรโมชัน คิดเงิน ครบจบในคันเดียว

กูร์เมต์ มาร์เก็ต ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งสู่ยุคดิจิทัล เปิดตัว “Gourmet Market Smart Cart” เจ้าแรกในประเทศไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Shopping Made Easy at Once” ก้าวสู่การเป็นสมาร์ทซูเ...