รู้จักกับอาการ Long COVID ภัยเงียบที่คนหายจากโควิดแล้ว ยังคงต้องเฝ้าระวัง | Techsauce

รู้จักกับอาการ Long COVID ภัยเงียบที่คนหายจากโควิดแล้ว ยังคงต้องเฝ้าระวัง

Post-acute COVID syndromeหรือที่เรียกติดปากว่า ลองโควิด (Long COVID) เป็นอาการตกค้างที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อ COVID-19 และรักษาหายแล้ว แต่ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น ยังส่งผลได้กับทุกระบบในร่างกาย รวมถึงระบบประสาทและสมองได้อีกด้วย ซึ่งอาการที่เกิดจะต่างกันออกไป การรู้เท่าทัน จะสามารถทำให้เราสังเกตและพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่อาการแย่ลง 

Long COVID

นพ.ชัยศักดิ์ ดำริการเลิศ แพทย์อายุรกรรมระบบประสาทและแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพฤติกรรมประสาทวิทยาและโรคสมองเสื่อม รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า สาเหตุของลองโควิด นั้นยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่จากหลักฐานข้อมูลที่มีอยู่คาดการณ์ว่า ภาวะนี้น่าจะเกิดจาก 3 สาเหตุ คือ 1.ไวรัสไปทำลายสมดุลระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น 2.ติดเชื้อไวรัสแล้วร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันและสารอักเสบมากขึ้นจนไปทำลายการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ 3.ผลกระทบหลังการเจ็บป่วยรุนแรง (Post - Critical Illness) ซึ่งผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงจะมีการทำลายของระบบไหลเวียนขนาดเล็ก (Microvascular Injury) รวมถึงมีความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่และสารน้ำในร่างกาย จึงทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติหลังจากผ่านพ้นการเจ็บป่วย อาการของโรค COVID-19 จะคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอย่างอื่น เช่น ไข้ อาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หอบเหนื่อย หายใจเร็ว และอาจมีบางอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสCOVID-19 เช่น การไม่ได้กลิ่น หรือ รับรู้รสชาติ ในผู้ป่วยบางราย เมื่อรักษาหายแล้วยังมีอาการเหล่านี้ตกค้าง หลงเหลืออยู่ ซึ่งเป็นภาวะลองโควิด อาการจะแตกต่างกันไปตามการศึกษาและงานวิจัยของแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการติดเชื้อ จากข้อมูลทางสถิติผู้ป่วย COVID-19 ประมาณ 10,000 คน พบว่าหลังการติดเชื้อมีผู้ป่วย 73% ที่ยังคงมีอาการแม้ว่าจะรักษาโรคจนหายแล้ว มีรายงานเบื้องต้นว่า ในเพศหญิง, มีโรคประจำตัวหอบหืด หรืออายุอยู่ในช่วง 35 - 49 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการ Long COVID มากกว่ากลุ่มอื่น และในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง ในช่วงที่มีการติดเชื้อ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นลองโควิดมากกว่า  

อาการของลองโควิด ที่พบได้บ่อยระบบหนึ่ง คือในส่วนของระบบประสาทและจิตเวชเช่น อาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ภาวะสมองล้า (Brain fog) ภาวะสับสน (delirium) ภาวะเครียดภายหลังเกิดโรค หรือ พีทีเอสดี (Post-traumatic stress disorder, PTSD) อาการซึมเศร้า กลุ่มอาการย้ำคิดย้ำทำและภาวะวิตกกังวล(anxiety) ฯลฯ ซึ่งภาวะสมองล้า (Brain fog) คือภาวะที่สมองมีการทำงานลดลง ทำให้คิดและตัดสินใจได้ช้าลง การวางแผนและแก้ปัญหาได้ลดลง รวมถึงการมีสมาธิลดลง (attention) ในบางคนอาจเป็นมากจนส่งผลให้ลืมความจำระยะสั้นหรือไม่สามารถทำงานที่เคยทำเป็นประจำได้ นอกจากนี้อาการลองโควิด ยังเกิดได้จากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic dysfunction) ซึ่งมักจะพบอยู่ 2 ภาวะ คือ 1.กลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า (Postural Orthostatic Tachycardia Syndrome, POTS) ซึ่งลักษณะของกลุ่มอาการนี้คือจะมีหัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติเวลาเปลี่ยนท่า เช่น ลุกขึ้นยืนหรือนั่ง ซึ่งทำให้เกิดอาการ ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ไปจนถึงหน้ามืดและหมดสติได้ และ 2.ภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Myalgia Encephalitis/Chronic Fatigue Syndrome, ME/CFS) ซึ่งอาการของภาวะนี้คือ อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สมองล้าคิดได้ช้าลง ขาดสมาธิ และมีปัญหาเรื่องการนอน เป็นต้น 

การติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ โดยหากมีโรคประจำตัวมาก่อนการติดเชื้อ ก็จะทำให้โรคนั้นแย่ลงเร็วกว่าปกติ แต่หากไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน การติดเชื้อก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางระบบประสาทบางอย่างได้ โดยมีข้อมูลว่าการติดเชื้อโควิด-19 นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งสมองขาดเลือดและเลือดออกในสมอง โรคสมองเสื่อม และโรคทางจิตเวช (เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล) มากกว่าคนที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่น และยังพบว่าคนไข้จะมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวมากขึ้น หากมีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล หรือ ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ  

ส่วนใหญ่การรักษาลองโควิด จะเป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก ยังไม่มีการรักษาจำเพาะ สิ่งที่ควรทำคือการป้องกันตัวเองให้ไม่เป็นโรค COVID-19 การดูแลสุขภาพร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหากมีอาการผิดปกติแนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันทีสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล โทร.02-310-3000 contact center โทร.1719


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อว.-บพข. ร่วมผลักดัน Deep Tech Startup ไทยเจาะตลาดนอร์ดิก

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดยหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดงาน "OKRs Workshop: From Epicenter to Th...

Responsive image

Wavemaker และ กรุงศรี ฟินโนเวต ลงทุน Series B ใน 24X เดินหน้ายกระดับตลาดซ่อมบำรุง

24X ประกาศความสำเร็จครั้งใหม่ในการระดมทุนรอบซีรีส์ บี โดยสองกลุ่มนักลงทุนระดับชั้นนำอย่าง เวฟเมคเกอร์ เวนเจอร์สและกรุงศรี ฟินโนเวต ในเครือกรุงศรี ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ 24X ในการ...

Responsive image

ทีทีบี ยกระดับ "ยินดี-Yindee" ผู้ช่วย AI อัจฉริยะ ตอบทุกคำถามฉับไว บน Mobile Banking ด้วย Azure OpenAI ครั้งแรกในไทย

ทีทีบี มุ่งขับเคลื่อนองค์กรด้วย Digital Transformation โชว์ความสำเร็จการพัฒนาผู้ช่วยบนมือถือ “ยินดี-Yindee” เวอร์ชันใหม่ ถือเป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่นำ Generative AI ผ่าน Microsoft A...