Hack Thailand 2575 วันแรก สร้างต้นแบบนโยบายจากประชาชน เหล่าเมนเทอร์แนะทางแก้ปัญหาชาติ 12 โจทย์ ปูทางสู่นโยบายทำได้จริง | Techsauce

Hack Thailand 2575 วันแรก สร้างต้นแบบนโยบายจากประชาชน เหล่าเมนเทอร์แนะทางแก้ปัญหาชาติ 12 โจทย์ ปูทางสู่นโยบายทำได้จริง

Hack Thailand 2575 วันแรก สร้างต้นแบบนโยบายจากประชาชน เหล่าเมนเทอร์รวมตัวแนะทางแก้ปัญหาชาติ ทั้ง 12 โจทย์ ปูทางสู่นโยบายทำได้จริง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

Hack Thailand 2575ผ่านไปแล้วกับกิจกรรมสุดท้ายของวันแรก Hack Thailand 2575 : 48 ชั่วโมงพลิกโฉมประเทศไทยสู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง โดยช่วงเย็นที่ผ่านมาได้มี “เมนเทอร์” หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ อภิรัตน์ หวานชะเอม  Chief Digital Officer บริษัท SCG Cement-Building Materials จำกัด, รศ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานกรรมการนโยบาย ไทยพีบีเอส, ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ม.ธรรมศาสตร์, ธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน อุปนายกและประธานฝ่ายกลยุทธ์  Thai Startup, ศ.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ ผศ.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทุกท่านได้ให้เกียรติร่วมกระบวนการช่วยแนะนำและประกอบร่างให้ทั้ง 12 นโยบาย มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปขับเคลื่อนต่อในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้จริง

พฤ โอ่โดเชา กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ จ.เชียงใหม่ หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะกลมระดมสมองในประเด็น “รัฐของกลุ่มคนที่หลากหลาย” ซึ่งเดินทางไกลมาจากภาคเหนือ กล่าวว่า ตนมาจากคนที่ไม่เข้าใจและไม่เคยเขียนนโยบาย แต่งานนี้มีเครื่องมือให้เพื่อถอดรหัสแล้วนำไปสู่นโยบายแบบที่เราต้องการได้ สุดท้ายสิ่งที่เห็นตรงกันคือเรื่องความเท่าเทียมที่เป็นธรรมกับบริบทและอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อให้รัฐเป็นรัฐของทุกคน เพื่อทุกคน โดยทุกคน

“ทุกคนร่วมกันเสนอว่าเราจะได้มาได้อย่างไร เช่น มีกฎหมายที่รองรับทุกความแตกต่างและหลากหลาย และต้องใช้การเคลื่อนไหวอย่างไร กระบวนการนี้จึงทำให้ผมต้องพูดและแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ดี ช่วยเปิดมุมมอง เพราะทุกคนอยู่แต่กับประเด็นของตัวเอง พอได้ถกเถียงกัน เกิดความเห็น และรวมมาเป็นสิ่งเดียวกันเพื่อร่วมแก้ปัญหาด้วยนโยบายที่จะเสนอกับนักการเมือง หรือถ้านักการเมืองไม่เอา เราก็ยังได้เห็นทิศทางที่เราจะขยับกันเองอย่างชัดเจนได้อย่างไร” พฤ โอ่โดเชา กล่าว

คุณธนวรรธน์ สุวรรณปาล กลุ่ม “ครูขอสอน” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ครูทิว”  หนึ่งในผู้ร่วม Hack ในประเด็นการศึกษา “ติดปีกครูไทย” กล่าวว่า บรรยากาศวันแรกเต็มไปด้วยความสนุกและพลังของสมาชิกทุกคน ซึ่งประกอบไปด้วย ครู นักเรียน และผู้บริหาร จากทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน ทำให้ได้ฟังมุมมองที่หลากหลาย มองเห็นปัญหาได้รอบด้านและวิธีการแก้ไขที่แปลกใหม่มากขึ้น 

โดยมีประเด็นปัญหาสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านแรก ครูไร้อำนาจในการต่อรองและรวมกลุ่ม สองการผลิตและพัฒนาครู และสามเป็นเรื่องระบบที่ไม่สนับสนุนการทำงานของครู เราจึงเอาเรื่องนี้มาเป็นตัวตั้งต้นในการออกนโยบายที่จะทำยังไงให้ลดภาระงานครู ติดอาวุธติดเครื่องมือให้กับครู แล้วก็ทำให้ครูตระหนักถึงพลังอำนาจในตัวเองในการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาให้ได้

“แนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านี้คือ หนึ่ง เรื่องของ Collective vision เราจะเปลี่ยนระบบการทำงานที่จะทำให้โรงเรียนเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ได้มีสิทธิมีเสียงได้แชร์ Vision และตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อทำให้ครูรู้สึกเป็นเจ้าของในการจัดการศึกษา สอง คือการใช้ EdTech ใช้เทคโนโลยีลดภาระงานและสนับสนุนการทำงานของครู ลดภาระงานบางอย่างแล้วก็ใช้ Outsource หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุนงานโรงเรียน หลาย ๆ อย่างที่เป็นงานสนับสนุนนอกจากงานสอน เพื่อที่ครูจะกลับไปWโฟกัสกับการสอนมากยิ่งขึ้น ต่อมาคือเรื่องของ Well being เรื่องค่าตอบแทนแรงจูงใจของครูในการทำงานที่ควรจะต้องปรับให้สมเหตุสมผลตามภาระงาน และเรื่องของการผลิตและพัฒนาครู ตรงนี้ก็จะทำให้ตอบสนองความต้องการของสังคมแล้วก็ตัวครูมากยิ่งขึ้น” ครูทิวกล่าว

ครูทิวยังทิ้งท้ายด้วยว่า สุดท้ายต้องแก้ไขกฎหมายแล้วสร้างสำนึกในการรวมกลุ่มของครูเพื่อให้ครูมีอำนาจในการต่อรองและตระหนักถึงพลังของตัวเองที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และเชื่อว่ากิจกรรมในวันที่สองจะได้ลงในรายละเอียดและทำให้เป็นนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

คุณกนกวรรณ  กนกวนาวงศ์ สื่อมวลชนและเจ้าของเพจสบายดี 45+ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มประเด็น “Active Aging” กล่าวว่า ด้วยความหลากหลายของผู้ร่วมแลกเปลี่ยนทำให้เห็นปัญหาได้ลึกขึ้นก่อนที่เราจะขับเคลื่อนประเด็น จากเดิมในฐานะสื่อมวลชนเราก็กลั่นกรองจากสถานการณ์และมองไปข้างหน้า แต่พอมาสู่กระบวนการ System Thinking มันทำให้จากเดิมที่เรามองแค่อนาคต ทำให้เรามองถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันด้วย ทั้งความเชื่อ วัฒนธรรมและโครงสร้างของระบบสังคม ที่ทำให้ความหวังที่อยากให้เป็นในสังคมผู้สูงวัยไม่เกิดหรือเกิดยาก 

“ในมุมของนักการเมืองยังมองว่าการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องของสวัสดิการของการให้เบี้ยยังชีพ พอเขาตีความแค่เบี้ยยังชีพมันก็เป้นการให้แบบอนาถา แต่พอเขาไปตีความว่าสงเคราะห์คือการดูแลแบบอนาถาซึ่งมันทำให้แคบมาก เพราะฉะนั้น พอมองแค่นี้ก็เลยเป็นรูปแบบของการให้เงินรายเดือน ซึ่งไม่ได้ดูแลคุณภาพชีวิตเขาได้ แต่เป็นนโยบายที่คนเข้าถึงได้ง่ายสุดแล้ว ให้เงินไปแล้วที่เหลือไปดูแลกันเอง ซึ่งมันต้องมองไปถึงว่าจริง ๆ แล้วผู้สูงวัยต้องการการยังชีพแบบไหน และนโยบายควรคิดบนฐานของผู้สูงวัยหลากหลายกลุ่ม หลากหลายความต้องการ ความจำเป็น” คุณกนกวรรณ กล่าว

“Hack Thailand 2575: 48 ชั่วโมง พลิกโฉมประเทศไทย สู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง” ที่รวมเอาตัวแทนคนไทยทั้งภาครัฐ เอกชน เยาวชน สตาร์ทอัพ และผู้สมัครจากพรรคการเมือง เข้ามาร่วมระดมความคิดเห็น สร้างนโยบาย เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมเสนอโมเดลต้นแบบในการบริหารจัดการประเทศ ใน 6 ประเด็นสำคัญ คือ การศึกษา, สาธารณสุข, รัฐและความมั่นคง, สิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจ และสังคม 

“Hack Thailand 2575: 48 ชั่วโมง พลิกโฉมประเทศไทย สู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง” ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Post-Election : ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง” จัดโดย Thai PBS ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA), สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA), มูลนิธิ ฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย (FNF), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Youth In Charge Leadership Academy, UNDP, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) และ สถาบันอานาคตไทยศึกษา เพื่อให้ได้ “ภาพอนาคต หลังเลือกตั้ง” ที่มุ่งแก้ปัญหาชาติได้จริงและส่งต่อให้รัฐบาลใหม่ต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...