Facebook แนะเคล็ดลับสังเกตข่าวปลอมบนโลกออนไลน์ | Techsauce

Facebook แนะเคล็ดลับสังเกตข่าวปลอมบนโลกออนไลน์

Facebook มุ่งมั่นในการทำงานเพื่อช่วยให้ผู้คนติดต่อและเชื่อมต่อกันอย่างมีความหมายบนสังคมออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ขณะที่ประเทศไทยยังคงเดินหน้าไปสู่ยุคสังคมดิจิทัล การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มจึงสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการศึกษาของ YouGov ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Facebook ระบุว่าในประเทศไทย มีเพียงจำนวนร้อยละ 42 และร้อยละ 41 ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขามั่นใจว่าตัวเองสามารถระบุข่าวปลอมและโปรไฟล์ปลอมได้ ตามลำดับ

การจัดการกับข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงและข่าวปลอมเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างนักวิชาการ ภาคประชาสังคมและรัฐบาล รวมถึงองค์กรด้านเทคโนโลยีและสื่อมวลชน โดยส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของ Facebook เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านั้นคือ การนำเสนอเคล็ดลับที่ใช้ได้จริงเพื่อช่วยให้ผู้คนมีทักษะและสามารถสังเกตข่าวปลอมบนโลกออนไลน์ได้ โดยการนำเสนอเคล็ดลับนี้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท.

การหลีกเลี่ยงข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงและข่าวปลอมสามารถทำได้หลายวิธี โดยเคล็ดลับดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณตรวจสอบข่าวปลอมได้อย่างรอบคอบยิ่งขึ้น และยังช่วยส่งเสริมการสร้างชุมชนดิจิทัลที่ได้รับข้อมูลและข่าวสารที่ครบถ้วนถูกต้องอีกด้วย

1. ศึกษาข้อมูลด้วยตนเองก่อนการแชร์เสมอ

พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล

ตรวจสอบเนื้อหาอื่นๆ ที่ถูกนำเสนออยู่บนเว็บไซต์ แง่มุมในการนำเสนอข่าว และรายละเอียดติดต่ออื่นๆ ที่ปรากฎบนเว็บไซต์ นอกจากนี้ คุณควรระวังเว็บไซต์ปลอมที่แสร้งว่าเป็นองค์กรข่าวที่ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งมักจะใช้วิธีเลียนแบบรูปแบบการจัดหน้าและการใช้ URL ที่มีชื่อคล้ายคลึงกัน

  • 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยระบุว่าพวกเขาตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลว่ามาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือหรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน

ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้เขียนว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อหรือมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และเป็นบุคลากรที่อยู่ในแวดวงการรายงานข่าวมาเป็นระยะเวลามากน้อยอย่างไร นอกจากนี้ คุณยังสามารถตรวจสอบด้วยการอ่านเรื่องราวอื่นๆ ที่เขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกันได้

ตรวจสอบข้อมูลสนับสนุน

ตรวจสอบเสมอว่าข้อมูลประกอบในบทความนั้นสนับสนุนเนื้อหาหลักของเรื่องราวอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือข้อมูลที่ถูกหยิบมาเพียงแค่บางส่วนหรือออกนอกบริบทสามารถนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงได้

  • ในประเทศไทย ร้อยละ 41 ตรวจสอบว่าภาพที่อยู่ในบทความมีที่มาจากไหน และร้อยละ 33 ตรวจสอบข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมจากการรายงานหรือข่าวอื่นๆ

ตรวจสอบวันที่

อย่าลืมดูวันที่ที่เนื้อหาถูกตีพิมพ์ เพราะเรามักพบเห็นผู้คนแชร์ ‘ข่าว’ เก่าอยู่บ่อยครั้งบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งข่าวเก่าอาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ถูกต้องเสมอไป นอกจากนี้ ข่าวปลอมอาจประกอบด้วยการรายงานช่วงเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลวันที่ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นด้วย

2.อย่าอ่านแค่พาดหัวข่าว

ข่าวปลอมและข่าวที่มีคุณภาพต่ำมักมีการพาดหัวข่าวที่กระตุ้นความรู้สึกเพื่อให้เกิดจำนวนการคลิกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ เนื้อหาของข่าวปลอมมักประกอบด้วยภาษาที่กระตุ้นอารมณ์และบางครั้งอาจเป็นภาษาที่ใช้คำรุนแรง รวมถึงใช้วิธีการเขียนที่ผิดหลักภาษาและมีการสะกดคำผิด

อีกหนึ่งกลวิธีที่ใช้ในการเผยแพร่ข่าวปลอมหรือข่าวที่มีคุณภาพต่ำคือ การหาผลประโยชน์จากพฤติกรรม ‘นักอ่านเวลาน้อย’ เมื่อผู้คนมักใช้เวลาอ่านเพียงพาดหัวข่าวหรือข้อความในย่อหน้าแรกก่อนแชร์เรื่องราวนั้นต่อ ผู้ประสงค์ร้ายจึงฉวยโอกาสนี้ด้วยการเขียนพาดหัวข่าวและย่อหน้าแรกที่ตรงไปตรงมาและประกอบด้วยข้อเท็จจริง โดยเรื่องราวส่วนที่เหลือเป็นข่าวปลอมและข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง

  • ในประเทศไทย ร้อยละ 71 ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขาอ่านบทความจนจบก่อนที่จะแชร์ต่อ

3. แยกแยะระหว่างการแสดงความคิดเห็นและข่าว

คนเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อข้อมูลซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อส่วนตัวของเรา ก่อนที่คุณจะระบุว่าเรื่องราวใดๆ ‘ไม่เป็นความจริง’ ควรไตร่ตรองให้ดีว่าอคติส่วนตัวของคุณไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการพิจารณาเนื้อหาดังกล่าวในขณะนั้น

เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • หากเรื่องราวนั้นเป็นบทความที่ปรากฏชื่อผู้เขียน (by-line) ควรคำนึงไว้ว่าผู้เขียนคนนั้นจะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อเนื้อหาทั้งหมด และคุณควรตรวจสอบบทความอื่นๆ ที่ผู้เขียนคนดังกล่าวเขียนด้วย
  • หากเรื่องราวนั้นเป็นบทความแสดงความคิดเห็นโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือตัวแทนจากองค์กร (op-ed) ควรคาดการณ์ไว้ก่อนว่าบทความอาจมีเนื้อหาที่ลำเอียงหรือมีอคติ แม้ว่าจะประกอบด้วยข้อเท็จจริง แต่เนื้อหาประเภทนี้มักสะท้อนความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนหรือหน่วยงานและมีบทสรุปแบบไม่เป็นกลาง

4.คิดเชิงวิเคราะห์

เรื่องราวบางเรื่องถูกจงใจสร้างขึ้นด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ดังนั้น คุณควรแชร์ข่าวที่คุณมั่นใจว่าเป็นข่าวที่เชื่อถือได้เท่านั้นด้วยการคิดวิเคราะห์และพิจารณาบริบทอย่างละเอียดถี่ถ้วน

เคล็ดลับเพิ่มเติม:

  • ข่าวปลอมมักจะประกอบด้วยภาพหรือวิดีโอที่ถูกปรับแต่ง ซึ่งในบางครั้ง รูปภาพนั้นอาจเป็นรูปภาพที่แท้จริง แต่ถูกนำมาเปลี่ยนแปลงบริบท คุณสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาพนั้นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันที่มาที่ถูกต้อง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...

Responsive image

ทีทีบี เปิดตัว ttb smart shop พร้อม “ปังปัง” มังกรน้ำเงินมงคล ผู้ช่วยร้านค้าแบบครบวงจร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี นำโดย นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ พร้อมด้วย นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ เปิดตัวฟีเจอร...

Responsive image

ดีลอยท์เผย IPO อาเซียนปี 67 ทรุดหนัก ระดมทุนต่ำสุดรอบ 9 ปี หวังฟื้นตัวหลังดอกเบี้ยลดปี 68

ดีลอยท์ เผย ตลาด IPO ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2567 ยังคงซบเซา แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวในปี 2568 กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และทรัพยากรและพลังงาน มีบทบาทสำคัญในการขับเ...