Huawei เผย 4 เทรนด์ 5G Ecosystem ในไทย หนุนใช้ฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว | Techsauce

Huawei เผย 4 เทรนด์ 5G Ecosystem ในไทย หนุนใช้ฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เผยประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่ง 5G อีโคซิสเต็มจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจจากคุณภาพและรูปแบบของบริการใหม่ๆ มากขึ้น ที่สำคัญ 5G ยังช่วยให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ได้ดีขึ้น จากการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันและบริการรูปแบบใหม่ซึ่งเกิดจากเครือข่ายความเร็วสูงแห่งอนาคต

คุณอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงานสัมมนาสำหรับสื่อมวลชนภายใต้หัวข้อ “5G อีโคซิสเต็มและอนาคตของประเทศไทย” ว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยี 5G ในระดับแนวหน้า โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ช่วยผลักดันภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในทุกๆ ด้าน 

การมาถึงของ 5G อีโคซิสเต็มจะช่วยพัฒนาทั้งคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานทั่วไป รวมทั้งยกระดับสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งภารกิจของหัวเว่ย ประเทศไทย คือการเติบโตพร้อมไปกับประเทศไทย เรามุ่งมั่นสนับสนุนการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้พัฒนาธุรกิจต่างๆ เพราะเป็นกุญแจสำคัญต่อการฟื้นฟูและสร้างการเติบโตทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลิตผล ลดค่าใช้จ่าย และยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้น เราจำเป็นต้องสร้างอีโคซิสเต็มเพื่อรองรับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม โดยเทคโนโลยี 5G จะไม่เพียงช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานทั่วไป แต่จะช่วยยกระดับสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยนับว่ามีความก้าวหน้าอย่างมาก เพราะเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ของอาเซียนที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้แล้ว” 

คุณวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าองค์ประกอบของ 5G อีโคซิสเต็มประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่

•    นวัตกรรมในภาคธุรกิจ (Business Mode Innovation)  การเกิดรูปแบบการบริการใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะไม่จำกัดเพียงการให้บริการด้านความเร็วบนอุปกรณ์มือถือ โดยนอกจากการให้บริการระหว่างธุรกิจองค์กรกับผู้บริโภค (Business-to-Consumer) 5G จะทำให้เกิดการใช้งานระหว่างธุรกิจองค์กรด้วยกัน (Business-to-Business)

•    พาร์ทเนอร์ในอีโคซิสเต็ม (Local ecosystem integration) การจะสร้างเครือข่ายสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์จากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้ให้บริการเครือข่ายผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแบบแนวดิ่ง ผู้ให้บริการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างหัวเว่ย และผู้จัดทำโซลูชันในประเทศ เป็นต้น

•    5G ที่ใช้งานได้จริง (Real Use Cases) 5G ในปี 2020 จะเป็นเรื่องที่จับต้องได้ มีเครือข่ายที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเทคโนโลยี 5G จะไม่ได้เป็นแค่การทดสอบในห้องแลปหรือกรณีศึกษาแบบในปีที่ผ่านมา แต่จะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้จริง 

•    ประสบการณ์และความสำเร็จจากทั่วโลก (Global Best Practices) เนื่องจากหัวเว่ยทำงานร่วมกับโอเปอเรเตอร์และพาร์ทเนอร์ชั้นนำทั่วโลก จึงทำให้เราสามารถนำประสบการณ์ที่หลากหลายและตัวอย่างความสำเร็จจากตลาดอื่นมาปรับใช้กับประเทศไทยได้

คุณอาเบลกล่าวเสริมว่า “5G จะช่วยยกระดับด้านการเชื่อมต่อ (Connectivity) ในขณะที่ AI จะช่วยยกระดับด้านความชาญฉลาด (Intelligence) เมื่อนำนวัตกรรมทั้งสองมาผสานกันจะทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ที่ไร้ขีดจำกัด (Infinite possibilities) โดยอีโคซิสเต็มจากเทคโนโลยี 5G จะทำให้ทุกภาคอุตสาหกรรมในอนาคต นำทั้งเทคโนโลยี Cloud, AI และ Big Data ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับ 5G จนเกิดความ “อัจฉริยะ” ในทุกกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม การผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) อุตสาหกรรมสาธารณสุขอัจฉริยะ (Smart Healthcare) หรือแม้แต่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้แก่องค์กรในประเทศไทย รวมถึงสร้างโอกาสการต่อยอดรายได้และเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มากขึ้น”  

คุณวรกานยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ จาก 5G สำหรับผู้บริโภค ได้แก่ การให้บริการในรูปแบบ Virtual Reality (VR), Augment Reality (AR), การเล่นเกมแบบ Cloud Gaming ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live-streaming) ด้วยความละเอียดระดับ 4K หรือผ่าน VR/AR เป็นต้น 

สำหรับภาคธุรกิจองค์กร 5G จะเข้าไปมีบทบาทได้ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม โดยสามารถพัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ในสามเรื่องหลัก ได้แก่ 

1.    การเพิ่มจำนวนผลผลิต  

2.    ลดจำนวนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีตำหนิ หรือไม่ได้มาตรฐาน 

3.    ลดต้นทุนให้แก่กระบวนการผลิตและการดำเนินการ 

นอกจากนี้ 5G ยังจะช่วยยกระดับ Digital Society ของประเทศไทย ได้แก่ การต่อยอดมาตรฐานของภาคสาธารณสุข  การสนับสนุนภาคการศึกษาออนไลน์ และการสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ พร้อมกันนี้ 5G ก็ยังมีบทบาทในการผลักดัน Digital Economy ของประเทศ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคอีคอมเมิร์ซ และภาคการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันภาคเศรษฐกิจในประเทศไทยให้เดินหน้าต่อได้ภายใต้ความท้าทายที่เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่หลายประเทศหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยผลักดันเศรษฐกิจในขณะนี้

“ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญมากสำหรับประเทศไทย และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ได้ในช่วงเวลาของความท้าทายเช่นนี้ โดยรูปแบบการใช้งานแบ่งเป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อช่วยโปรโมทภาคการท่องเที่ยวของไทย และการประยุกต์ใช้ 5G เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคการท่องเที่ยวของไทย” นายวรกานกล่าวเสริม

1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อช่วยโปรโมทภาคการท่องเที่ยวของไทย

ตัวอย่างของการนำ 5G มาโปรโมทภาคการท่องเที่ยวก็คือการท่องเที่ยวแนวธรรมชาติเพื่อชมการเกษตรแบบอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ใน 3 รูปแบบพร้อมกัน ได้แก่ ช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตทางด้านการเกษตรที่ดีขึ้น ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม Smart Farm และสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรจากการเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น

เทคโนโลยี 5G ยังสามารถนำมาเสริมการท่องเที่ยวในประเทศได้โดยผ่านมัลติมีเดียใหม่ เพื่อสร้าง Immersive Experience สร้างคอนเทนท์โปรโมทสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหารต่างๆ ในรูปแบบ VR/AR ร่วมกับยูทูบเบอร์ชื่อดังและผู้ผลิตคอนเทนต์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างประสบการณ์ Unseen Thailand ใหม่ๆ และการท่องเที่ยวที่แตกต่างให้แก่นักท่องเที่ยว เสริมการใช้ชีวิตวิถีใหม่ และยังดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเกิดความต้องการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น 

2. การประยุกต์ใช้ 5G เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคการท่องเที่ยว

ประเทศไทยได้มีการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคการท่องเที่ยว ด้วยการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 เช่น เพิ่มช่องทางการวินิจฉัยโรคทางไกลแบบ Telemedicine ให้กับแพทย์ และใช้โซลูชัน AI เพื่อช่วยแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยโควิด-19 ได้เร็วขึ้น ด้วยมาตรฐานการคัดกรองที่ทันสมัย ร่วมกับศักยภาพของทีมแพทย์ที่มีผลงานอยู่ชั้นแนวหน้าของภูมิภาคนี้ นับว่าช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง 

“อีกรูปแบบการใช้งานคือการนำเครือข่าย 5G มาปรับใช้ในโซลูชั่น Smart Airport เพื่อยกระดับความเชื่อมั่นและช่วยให้ประเทศไทยกลับมาเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวทั้งในไทยและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วขึ้น” นายวรกานกล่าวสรุป 

ทั้งนี้ หัวเว่ย ประเทศไทย ยังคงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการผลักดัน 5G ในประเทศไทย เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่  การเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล (Digital Transformation) และการสร้าง 5G อีโคซิสเต็มอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยปัจจุบัน หัวเว่ยเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้าน 5G ในระดับโลก ซึ่งมีลูกค้าและพาร์ทเนอร์ชั้นนำด้าน 5G ทั้งในไทยและต่างประเทศ และยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับโอเปอเรเตอร์ทุกรายในไทยในการส่งมอบเครือข่าย 5G ระดับคุณภาพที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเกิดการลงทุนและพัฒนาด้านไอทีอย่างต่อเนื่อง 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NITMX เผยสถิติพร้อมเพย์ ปี 67 ยอดธุรกรรมโตแตะ 2,096 ล้านต่อเดือน ผู้ใช้พุ่งสูงถึง 79 ล้านราย

NITMX เผยข้อมูลสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านธุรกรรมดิจิทัลทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคสั...

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...