เผยวิสัยทัศน์ผู้บริหาร หนึ่งปีที่ผ่านมาและอนาคตเบื้องหน้าของ Huawei ประจำปี 2020 | Techsauce

เผยวิสัยทัศน์ผู้บริหาร หนึ่งปีที่ผ่านมาและอนาคตเบื้องหน้าของ Huawei ประจำปี 2020

Huawei จัดงานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit (HAS) ครั้งที่ 17 ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน โดยมีทั้งนักวิเคราะห์ ผู้มีอิทธิพลทางความคิด (KOL) และตัวแทนสื่อมวลชนจากหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นโทรคมนาคม อินเทอร์เน็ต และการเงิน รวมกว่า 2,000 คนเข้าร่วม 

ภายในงานยังได้มีการพูดคุยถึงประเด็นของความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรม ในการผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก และสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อก้าวเข้าสู่โลกแห่งความอัจฉริยะได้รวดเร็วยิ่งขึ้น คุณกัว ผิง ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของ Huawei ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ 

ณ งานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit (HAS) ครั้งที่ 17 คุณกัว ผิง ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของ Huawei ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เปิดงานในหัวข้อ “Huawei : หนึ่งปีที่ผ่านมาและอนาคตเบื้องหน้า” โดยเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงประสบการณ์และผลการดำเนินธุรกิจของ Huawei ในช่วงปีที่ผ่านมา ระบุว่า “ตลอดช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ภายใต้การปิดกั้นการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ แต่ Huawei ก็ดิ้นรนข้ามผ่านอุปสรรคเหล่านั้นจนอยู่รอดมาได้ และกำลังเพียรพยายามอย่างยิ่งที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า” 

Huawei เป็นผู้มีส่วนช่วยเหลือและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ผู้คน ครัวเรือน และองค์กรต่างๆ เพื่อผลักดันให้โลกก้าวไปข้างหน้า ตลอดช่วงเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา Huawei ได้ติดตั้งเครือข่ายไปแล้วมากกว่า 1,500 เครือข่าย ในพื้นที่กว่า 170 ประเทศและภูมิภาค รองรับการใช้งานของประชากรมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้ เรายังให้บริการอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์แก่ผู้บริโภคกว่า 600 ล้านคน ความกดดันของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการต่อต้าน Huawei จะไม่เพียงทำส่งผลกระทบต่อ Huawei เท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานของผู้บริโภค และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของ Huawei ด้วยเช่นกัน

โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) คือรากฐานของโลกอัจฉริยะ โดยภายในปี พ.ศ. 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นตัวแทนภาคอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ากว่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอย่างมาก  และนับเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การก้าวสู่โลกอัจฉริยะที่เปี่ยมไปด้วยโอกาสที่เหนือกว่าความท้าทายอีกมากมาย

Huawei จะยังคงลงทุนและพัฒนานวัตกรรมสามสาขาหลักในอนาคต ซึ่งครอบคลุมด้านการเชื่อมต่อ ด้านการประมวลผลคอมพิวเตอร์ และด้านอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ และจะร่วมมือกับลูกค้า พันธมิตร องค์กรด้านการจัดตั้งมาตรฐานต่างๆ และผู้เล่นอื่นๆ ในอุตสาหกรรมที่มีบทบาทเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน การจัดตั้งมาตรฐาน และการแสวงหาบุคลากรที่มีศักยภาพ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือที่เปิดกว้าง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม และแสวงหาอนาคตร่วมกันต่อไป

คุณกัว ผิง ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันโลกของเราอยู่ในระบบบูรณาการที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน ทิศทางของกระแสโลกาภิวัฒน์ยังไม่มีทีท่าจะเปลี่ยนไปแต่อย่างใด การมีหลายมาตรฐานและมีห่วงโซ่อุปทานที่กระจัดกระจายนั้นไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใด แต่จะส่งผลเสียรุนแรงต่ออุตสาหกรรมในภาพรวม ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียม รักษามาตรฐานระดับโลกที่เป็นหนึ่งเดียว พร้อมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ติดท็อป 5 ‘Best Taiwan Global Brands’ 7 ปีซ้อน ขับเคลื่อน Edge AI ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้าน

แอดวานซ์เทค (Advantech Co., Ltd.) ผู้นำด้านอุตสาหกรรม IoT ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 แบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ "2024 Best Taiwan Global Brands" ด้วยมูลค่าแบรนด์ 851 ล้านดอลลาร์...

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...