Huawei เปิดตัวแพลตฟอร์ม AI เร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล | Techsauce

Huawei เปิดตัวแพลตฟอร์ม AI เร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

ในงาน HUAWEI CONNECT 2018 ภายใต้หัวข้อ “Power of the Platform” กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยได้เผยกลยุทธ์แพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ของบริษัท ที่จะช่วยเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของรัฐบาลและองค์กรธุรกิจต่างๆ และนำไปสู่นวัตกรรมและการเติบโตในระดับที่สูงขึ้น

หลู่ ฉี ประธานบริหาร ฝ่ายขายโซลูชั่นและการตลาด กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์

พร้อมประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม AI + Digital Platform ที่สามารถปรับให้เข้ากับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมไปถึงประกาศความร่วมมือกับเขตเมืองใหม่เทียนจิน ปินไห่ นิว แอเรีย (Tianjin Binhai New Area) เพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะ ด้วยการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มใหม่ของบริษัทอย่าง AI + Digital Platform

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโซลูชัน Smart Campus ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการโดยบริษัทว่านเคอ (Vanke) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในประเทศจีน โดยโซลูชั่นใหม่จากหัวเว่ยจะช่วยพลิกโฉมการดำเนินธุรกิจขององค์กรเพื่อสร้างการเติบโตและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร

Power of the Platform พลังแห่งแพลตฟอร์มเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

เหยียน ลี่ต้า ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย กล่าวว่า "Digital Transformation เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบ และหลอมรวมเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เพื่อบูรณาการโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน   หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยขับเคลื่อนแพลตฟอร์มธุรกิจของลูกค้าด้วยแพลตฟอร์มไอซีที เพื่อให้บริษัทคู่ค้าสามารถผนวกรวมแอพพลิเคชั่นเฉพาะอุตสาหกรรมเข้าไปในแพลตฟอร์มได้   ด้วยวิธีนี้ แพลตฟอร์มของหัวเว่ยจะทำหน้าที่เป็นเสมือน “ผืนดินอันอุดมสมบูรณ์” ที่เอื้อต่อการเติบโตของระบบนิเวศอุตสาหกรรม และส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆ กับคู่ค้าในระบบนิเวศของเรา"

หัวเว่ยนำเสนอแนวทาง “Digital Platform + X + Ecosystem”

กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ยังได้แนะนำแนวทาง “Digital Platform + X + Ecosystem” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้กับลูกค้า ด้วยการใช้ Digital Platform เป็นพื้นฐาน บวกกับคุณสมบัติใหม่ ๆ (X) เช่น AI, IoT, บิ๊กดาต้า, ความปลอดภัย, ICP, วิดีโอ และแพลตฟอร์มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ผสมผสานภาคส่วนเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน

“Digital Platform ของหัวเว่ยมีข้อได้เปรียบหลัก 3 ประการคือ ครบถ้วน (Full-stack) เปิดกว้าง และรองรับธุรกิจองค์กรต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม  เราได้พัฒนาโซลูชั่นแบบ Full-stack ขึ้นมา ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ  เลเยอร์ IaaS และ PaaS และเลเยอร์ SaaS ร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศของเรา โดยอาศัยประโยชน์จากชิพที่เราพัฒนาขึ้นมาเอง อัลกอริธึ่มทางคณิตศาสตร์และการออกแบบสถาปัตยกรรมของเรา    การใช้แพลตฟอร์มแบบ Full-Stack จะช่วยให้ลูกค้ามุ่งความสนใจไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ โดยไม่ต้องเสียทรัพยากรอันมีค่าไปกับการสร้างแพลตฟอร์มเฉพาะของตัวเอง”  มร. หลู่ ฉี ประธานบริหาร ฝ่ายขายโซลูชั่นและการตลาด กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าว

“หัวเว่ยให้บริการโซลูชั่นแบบต่างๆ ที่มีมาตรฐานครอบคลุมอุตสาหกรรมต่างๆ และ Digital Platform ของเราก็สามารถใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลายได้ เพราะรองรับทั้งระบบไพรเวทคลาวด์ และคลาวด์สาธารณะ  นอกจากนี้ หัวเว่ยยังสร้างระบบนิเวศที่เปิดกว้างที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของเราสามารถที่จะทำงานร่วมกับของผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ทำให้ลูกค้ามีอิสระในการเลือกใช้โซลูชั่นที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการเฉพาะของพวกเขา"

หลู่ ฉี ยังได้เสริมว่า “Digital Platform ยึดมั่นในแนวทางที่เปิดกว้างของหัวเว่ย ซึ่งจะช่วยให้บริษัทคู่ค้าสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่น Upper-layer ได้เร็วขึ้น และลูกค้าก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยการให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทางธุรกิจ แทนที่จะเสียเวลาไปกับการผนวกรวมเทคโนโลยีพื้นฐาน หัวเว่ยตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ระยะยาวของลูกค้าด้วยการใช้แนวทางนี้”

ในงาน HUAWEI CONNECT 2018 กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ได้สรุปให้ผู้ร่วมงานได้เห็นถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาของ Digital Platform โดยการยกระดับความสามารถเหล่านี้เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถแข่งขันและเติบโตได้ในโลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้ ความสามารถเหล่านี้ประกอบด้วย

  • มัลติคลาวด์: FusionStorage 8.0 ของหัวเว่ย ถือเป็นโซลูชันหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรม ที่สามารถมอบการตอบสนอง I/O ในเวลา 300 ไมโครวินาที นอกจากนี้ ยังใช้สถาปัตยกรรมแบบกระจาย (Fully-distributed) โดยไม่มีเกตเวย์ และเชื่อถือได้ด้วยการทำงานแบบ active-active ขณะที่โซลูชั่นไพรเวทคลาวด์ของหัวเว่ยนั้น นำเสนอบริการคลาวด์บนเลเยอร์ IaaS ที่มากที่สุดในอุตสาหกรรม
  • เครือข่าย: โซลูชั่น CloudFabric ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมของหัวเว่ย สามารถรองรับอัพลิงค์และดาวน์ลิงค์ของคอนเทนเนอร์ 10K ที่ระดับนาที
  • อุปกรณ์: หัวเว่ยนำเสนอโมดูลแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะตัวแรกของอุตสาหกรรมอย่าง Atlas200 ที่สามารถวิเคราะห์วิดีโอความละเอียดสูงและเซลล์ขนาดเล็กสุดอัจฉริยะ (Advanced smart small cells) ได้ในแบบเรียลไทม์
  • นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ Full-stack AI ใหม่ล่าสุด ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถรวมแอพพลิเคชัน AI เฉพาะอุตสาหกรรม เข้าไว้ใน Digital Platform ได้ เพื่อสนับสนุนการปรับผ่านองค์กรสู่ดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น

AI + Digital Platform ของหัวเว่ย ช่วยพลิกโฉมเขตมืองใหม่เทียนจิน ปินไห่ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ

เจิ้ง จื้อปิน (ซ้าย) ประธานบริหาร ฝ่ายธุรกิจสมาร์ทซิตี้ระดับโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์
และ เฉิน ซง หัวหน้าสำนักงานก่อสร้างเมืองอัจฉริยะ TEDA

ด้วยความเชี่ยวชาญของหัวเว่ย เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน (Tianjin Economic-Technological Development Area - TEDA) จึงสามารถออกแบบและพัฒนาโซลูชั่น Smart City "1 + 4 + N" (หมายถึง หนึ่งศูนย์กลาง สี่แพลตฟอร์ม บวกด้วยแอพพลิเคชั่นสุดล้ำ) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI  โดย "1" สื่อถึง ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operations Center - IOC) ที่ทำหน้าที่เป็น "สมองของเมือง" ด้วยการรวบรวมข้อมูลที่มาจากบริการต่าง ๆ ของรัฐบาล องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานบริการประชาชน ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและ IoT โดยใช้เทคโนโลยี AI เป็นขุมพลังขับเคลื่อน ซึ่งถือเป็นการนำเอาขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมาช่วยพลิกโฉม Tianjin BinHai New Area ให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะ

โซลูชั่นนี้ประกอบด้วยแพลตฟอร์ม AI สี่แพลตฟอร์ม ที่ทำงานสื่อสารกับ IOC อย่างใกล้ชิด เพื่อมอบบริการอัจฉริยะต่างๆ อาทิ

  • Resident Voices – มาพร้อมกับเทคโนโลยีรู้จำเสียง และการหาความสัมพันธ์เชิงความหมาย ทำให้ผู้บริหารเมืองรับรู้เสียงของผู้อยู่อาศัยแต่ละราย และมีข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการของชาวเมือง
  • Sensing the City – ใช้เทคโนโลยีจดจำรูปภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน สถานที่ ยานพาหนะและสิ่งของ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
  • Resident Care – ผสานการเรียนรู้เชิงลึกเข้ากับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ตลอดวงจรชีวิตของบริการ เพื่อสร้างสรรค์ทรัพยากรที่ตอบโจทย์ความต้องการและตรงตามความชอบของผู้อยู่อาศัย
  • Enterprise Services – นำการวิเคราะห์พหุมิติและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ภายในของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเขต TEDA เพื่อการจับคู่ทรัพยากรบริการที่มีอยู่ได้อย่างแม่นยำตลอดวงจรชีวิตขององค์กร

ว่านเคอ (Vanke) เลือกใช้โซลูชั่น Smart Campus รุ่นใหม่ของหัวเว่ย

ยวี่ ตง (ซ้าย) ประธานบริหาร ฝ่ายการตลาดและโซลูชั่นอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย
และเซี่ย จื้อฟาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท วานอี่ เทคโนโลยี่ จำกัด ในเครือว่านเคอ

ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โซลูชั่น Smart Campus จะเข้ามาสนับสนุนการเติบโตและขับเคลื่อนความสามารถด้านการแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจทั่วโลก ทั้งนี้ การสร้าง Smart Campus จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ลึกซึ้ง และแม่นยำมากขึ้น และสามารถนำเสนอประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ และมีความเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงให้กับลูกค้า  ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการรองรับการใช้งานในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมในวงกว้าง หัวเว่ยจึงนิยามหลักการทำงานแพลตฟอร์ม Smart Campus ไว้ 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

  • Smart model: นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลแล้ว แพลตฟอร์มดังกล่าวยังสามารถสนับสนุนการเชื่อมโยง การร่วมมือ และการผสมผสานการทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ
  • Campus space: ข้อจำกัดด้านพื้นที่จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะแคมปัสจะเปลี่ยนจากพื้นที่ทางกายภาพไปเป็นชุมชนเสมือนจริง
  • Business model: แพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากเดิมที่เป็นธุรกิจสแตนด์อโลนไปเป็นธุรกิจแบบหลายมิติ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างมูลค่าผ่านการแบ่งปันธุรกรรมระหว่างกัน
  • Campus operation: การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจะสามารถมองเห็นได้ บริหารจัดการได้ และควบคุมได้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ ไปเป็นการดำเนินงานแบบออนดีมานด์

หัวเว่ยกำลังดำเนินโครงการนำร่องในการติดตั้งโซลูชั่นแคมปัสที่เป็นระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม ที่สำนักงานของบริษัทเองใน 172 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ว่านเคอ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของจีน ก็กำลังนำเอาโซลูชั่น Smart Campus ของหัวเว่ยมาใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของธุรกิจหลักของบริษัท ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนานวัตกรรม และเร่งผลักดันโอกาสใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัทยังร่วมมือกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการนวัตกรรม รวมถึงสำรวจและร่วมลงทุนในสถานการณ์และโมเดลใหม่ ๆ เพื่อสร้างสรรค์ระบบนิเวศสำหรับการพัฒนาในอนาคต

หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับลูกค้าในระยะยาว โดยใช้แนวทางที่มุ่งเน้นอนาคต เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์มที่ทรงประสิทธิภาพ ปัจจุบัน มีบริษัทในทำเนียบ Fortune Global 500 ถึง 211 บริษัท (รวมทั้งบริษัทในทำเนียบ Fortune Global 100 จำนวน 48 บริษัท) ที่เลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการพลิกโฉมธุรกิจของพวกเขาสู่ดิจิทัล

การประชุม HUAWEI CONNECT 2018 จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการเซี่ยงไฮ้ เวิลด์ เอ็กซ์โป ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม ภายใต้ธีม "Activate Intelligence" โดยงานนี้เปิดกว้างสำหรับความร่วมมือและการแบ่งปัน เพื่อให้องค์กรทุกแห่งได้เข้ามามีส่วนร่วมในโลกอัจฉริยะ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองจากเหล่าผู้นำความคิดในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารภาคไอซีที ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม และหุ้นส่วนในระบบนิเวศ เพื่อเร่งการเดินหน้าและสำรวจโอกาสใหม่ ๆ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

WHA Group ดึงไฮเออร์ลงทุน 10,000 ล้านบาท ตั้งฐานการผลิตในไทย

WHA Group ดึงไฮเออร์ลงทุน ปักหมุดฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศครบวงจรมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาทในไทย ที่นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์น ซีบอร์ด 3...

Responsive image

NITMX เปิดตัว Hack to the Max Digital Infrastructure ชวนคนรุ่นใหม่ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัลของไทย

NITMX เปิดตัวโครงการ "Hack to the Max: Digital Infrastructure" Hackathon ระดับชาติ เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจนวัตกรรมการเงินดิจิทัล เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเงินของไทยให้ก้าวไก...

Responsive image

SCB ‘Tap To Pay’ รับเงินผ่านบัตรเครดิต-เดบิต ง่ายแค่แตะผ่านแอปฯ ไม่ต้องพึ่งเครื่องรูดบัตร!

ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัว ‘SCB Tap To Pay’ นวัตกรรมรับชำระเงินที่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนให้เป็นเครื่องรับชำระเงินได้ทันที ตอบรับกระแสสังคมไร้เงินสดที่กำลังมาแรง...