HPE เผย 4 เทรนด์กำหนดอนาคตธุรกิจ Hybrid Cloud | Techsauce

HPE เผย 4 เทรนด์กำหนดอนาคตธุรกิจ Hybrid Cloud

ด้วยความท้าทายจากสถานการณ์โรคระบาด องค์กรทั่วโลกต่างเร่งปรับตัวให้เข้ากับความปกติใหม่ ซึ่งเป็นโลกที่ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด การตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติงานต้องเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ และเทคโนโลยี Cloud กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ผู้นำอย่าง HPE ได้เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในกลุ่มลูกค้าองค์กรทั่วโลก และนี่คือ 4 เทรนด์ที่จะเข้ามากำหนดอนาคตของธุรกิจ Cloud

1. จาก Hybrid Cloud สู่ Distributed Cloud 

“อนาคตของ Cloud จะเป็นไฮบริด” เป็นสิ่งที่นายอันโตนีโอ เนรี ซีอีโอของ HPE กล่าวไว้เมื่อหลายปีก่อน เขาให้เหตุผลว่าการย้ายข้อมูลทั้งหมดไปยังพับลิค Cloud นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแอปพลิเคชันจำนวนมหาศาลที่องค์กรใช้งานมานับสิบๆ ปีมีโครงสร้างที่ซับซ้อน อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล องค์กรจึงเลือกที่จะใช้ประโยชน์จากไฮบริดคลาวด์ ซึ่งไอดีซีคาดการณ์ว่าตลาดในปี 2020 มีมูลค่าถึง 6,000 ล้านเหรียญ และจะเติบโตถึง 22,000 ล้านเหรียญในอีก 3 ปีข้างหน้า

คุณพลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ กรรมการผู้บริหาร บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ HPE GreenLake บริการด้านฮาร์ดแวร์ โซลูชั่น ในรูปแบบของ Cloud ซึ่งเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างที่ต้องการด้วยคอนเซ็ปต์ ‘The Cloud That Comes to You’ เป็นบทพิสูจน์สำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าคำคาดการณ์ของนายเนรีได้กลายเป็นจริง หลังจากเปิดตัวเมื่อ 3 ปีก่อน HPE GreenLake มีอัตราการเติบโตสูงกว่าพับลิก Cloud และมูลค่ายอดการใช้งานในเอเชียแปซิฟิกในปี 2020 เพิ่มขึ้นถึง 77% จากปีก่อนหน้า แม้ว่าเราจะต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 ก็ตาม”

“การเติบโตอย่างโดดเด่นของไฮบริดคลาวด์ถือเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือโซลูชันแบบ Distributed Cloud ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ที่อยู่ในหลากหลายพื้นที่ได้ด้วยวิธีการที่สะดวก ยืดหยุ่น และกระชับฉับไว ซึ่งนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคที่องค์กรมีการใช้งาน Cloud ที่หลากหลายยิ่งขึ้น”

2. ความคุ้มค่าของ Hybrid Cloud ไม่เป็นที่กังขาอีกต่อไป

บริการ Cloud มักมาพร้อมกับการให้บริการแบบ As-a-Service และการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง (pay-per-use) ซึ่งเปิดให้องค์กรเข้าถึงเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุด พร้อมปรับเพิ่มหรือลดการใช้งานได้ตามความต้องการ ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อติดตั้งก่อนการใช้งาน และเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการเงินสำหรับการสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ อีกด้วย 

“โมเดลดังกล่าวตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ธุรกิจร้านอาหารเชน ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านเงินทุน อีกทั้งยังต้องการความรวดเร็วในการติดตั้งระบบและเริ่มใช้งาน โดยจากการเก็บข้อมูลของลูกค้าทั่วโลกพบว่า รูปแบบ As-a-Service ของ HPE GreenLake สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (CAPEX) ได้ถึงร้อยละ 30 – 40 และยังช่วยให้ลูกค้ารักษาสภาพคล่อง และบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจอีกด้วย” นายพลาศิลป์ กล่าวเสริม คุณพลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ กรรมการผู้บริหาร บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทย

3. ภาคการเงินเป็นหนึ่งธุรกิจหลักที่ใช้ Hybrid Cloud ในวงกว้าง

ผลวิจัยโดย MarketsandMarkets คาดว่า การใช้งานเทคโนโลยี Cloud ในธุรกิจการเงินในปี 2021 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีสูงถึง 24.4% และมีมูลค่าตลาด 29,470 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสาเหตุหลักๆ เป็นเพราะกฎระเบียบข้อบังคับด้านข้อมูล ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลยังควรต้องจัดเก็บในที่ที่จะนำไปใช้งานได้ง่ายภายในเครือข่ายของธนาคาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คุณพลาศิลป์ กล่าวต่อไปว่า “วันนี้ HPE ได้นำ HPE GreenLake มาให้บริการ Core Banking As-a-Service แก่ 3 ธนาคารชั้นนำของไทย โดยหนึ่งในนั้นเป็นการเตรียมความพร้อมสู่ยุคดิจิทัลแบงกิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบขึ้นถึง 3 เท่า จากที่เคยต้องใช้เวลาข้ามคืนในการจัดการเวิร์คโหลด ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ธนาคารสามารถเปิดให้บริการหลัก เช่น โมบายแบงกิ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย ความสำเร็จนี้ทำให้ HPE ได้รับรางวัล The Peak Tech Laureates 2020 หนึ่งในเวทีชั้นนำของสิงคโปร์ที่ยกย่องพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่ช่วยลูกค้าในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจได้อย่างโดดเด่น”

4. ประสบการณ์การใช้งานเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้งาน

เมื่อมีการใช้งาน Hybrid Cloud การมองเห็นภาพรวมของการใช้งานและค่าใช้จ่ายมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่บุคลากรด้านไอทีต้องการ คือ ประสบการณ์การใช้งานที่ง่าย สะดวก และระบบที่เอื้อให้พวกเขาบริหารจัดการเวิร์คโหลดได้ทั้งบนไพรเวทคลาวด์และพับลิกคลาวด์ “เมื่อช่วงกลางปี 2020 HPE จึงได้เปิดตัว HPE GreenLake Central แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลของระบบ Cloud ทั้งหมดไว้ในหน้าเดียว อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีเอไอที่คอยติดตามประสิทธิภาพของการใช้งาน และให้คำแนะนำหากต้องมีการปรับเพิ่มหรือลดขีดความสามารถของระบบ ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ Cloud ตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น นวัตกรรมที่มาพร้อมกับประสบการณ์การใช้งานที่ไร้รอยต่อเช่นนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ HPE GreenLake มีมูลค่าของสัญญากว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตสูงสุดของ HPE ในปัจจุบันอีกด้วย” นายพลาศิลป์ กล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เดลต้า ประเทศไทย ชูธงนวัตกรรม ESG คว้าดัชนี FTSE4Good ตอกย้ำความเป็นเลิศ

เดลต้าได้รับคัดเลือกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE4Good Index Series ซึ่งจัดทำโดย FTSE Russell ผู้ให้บริการด้านดัชนีและข้อมูลระดับโลก...

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...

Responsive image

รู้จัก MoneyThunder แก้หนี้นอกระบบด้วย AI แอปสินเชื่อออนไลน์จาก ABACUS Digital

สำรวจปัญหาหนี้นอกระบบในไทยที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 21 ล้านคน พร้อมทำความรู้จัก MoneyThunder แอปสินเชื่อ AI ที่ช่วยคนไทยเข้าถึงเงินทุนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน...