ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำ AI Watson for Oncology จาก IBM ช่วยแพทย์พัฒนาแนวทางการรักษามะเร็ง | Techsauce

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำ AI Watson for Oncology จาก IBM ช่วยแพทย์พัฒนาแนวทางการรักษามะเร็ง

วันนี้ IBM ประกาศว่าราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สถาบันการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาบันการแพทย์ ได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวางแผนรักษามะเร็ง หรือ Watson for Oncology ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มค็อกนิทิฟ คอมพิวติ้งบนระบบคลาวด์มาใช้ เพื่อให้แพทย์ได้รับข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยในการวินิจฉัยและเสนอทางเลือกการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนบริการทางการแพทย์และส่งเสริมองค์ความรู้ในด้านการศึกษาวิจัยแก่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 

ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของสถาบันสู่ความเป็นเลิศในด้านการให้บริการรักษาโรคมะเร็งของประเทศไทย พร้อมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งทุกสิทธิ์การรักษาสามารถเข้าถึงการวางแผนการรักษามะเร็งที่ได้มาตรฐานสากล สนองพระดำริ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมีพระประสงค์ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน การวิจัย และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยความเป็นเลิศในวิชาชีพเพื่อทุกชีวิตในสังคม และให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานสากลแก่ประชาชนอย่างไม่หวังผลกำไร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคม จนปัจจุบันเป็นสาเหตุการเสียอันดับหนึ่งของประชากรชาวไทย โดยในปี 2562 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในไทยถึง 122,757 ราย ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตในปีเดียวกันนี้อยู่ที่ 80,665 ราย [1] การวินิจฉัยโรคต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการตรวจค้น รวมทั้งการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ขาดแคลนและอยู่ห่างไกลความเจริญไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน 

จากวิสัยทัศน์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในฐานะสถาบันการศึกษาวิจัยและสถาบันการแพทย์ชั้นนำ มุ่งให้บริการสุขภาพแก่คนไทยอย่างไม่หวังผลกำไร โดยเฉพาะการพัฒนาองค์ความรู้ ยกระดับการรักษา และให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างทัดเทียมกัน ได้เดินหน้าภารกิจในการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาเสริมประสิทธิภาพในการวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทย 

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด และคณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ได้กล่าวถึงการนำเอาเทคโนโลยีล่าสุด ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวางแผนรักษาโรคมะเร็ง หรือ Watson for Oncology เข้ามาให้บริการที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ว่า “ด้วยพระปณิธานในศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือประชาชนไทยให้พ้นจากทุกข์ภัยของโรคมะเร็ง 

ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เองก็เติบโตมาจากการเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านการรักษาโรคมะเร็งและพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นสถาบันการแพทย์ครบวงจร รวมทั้งเป็นสถาบันการศึกษาวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ภายใต้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เราได้เดินหน้าภารกิจเพื่อสานต่อการดำเนินงานจากพระนโยบายขององค์ประธานที่จะนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเเพทย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งในปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2562) 

มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้น 23% หรือประมาณ 4,000 รายต่อปี โดยผู้ป่วยมะเร็งทุกรายที่เข้ามาที่เราจะได้รับการพิจารณาหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและดีที่สุดจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาของการประชุมวางแผนรักษาโรคมะเร็งหรือ Tumor Board ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวางแผนรักษาโรคมะเร็ง หรือ Watson for Oncology นับเป็นอีกก้าวสำคัญของสถาบันที่จะนำเทคโนโลยีในระดับสากลมาช่วยเสริมศักยภาพในการวางแผนรักษามะเร็งให้กับทีมแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 

เพื่อให้สามารถก้าวทันความรู้ทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าและสามารถระบุแนวทางการรักษาที่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การรักษาที่ดีเยี่ยมและเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูง และท้ายที่สุดก็จะเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการสร้างความเป็นเลิศทางการรักษามะเร็ง”

“IBM รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้นำประสิทธิภาพของเทคโนโลยีวัตสันเข้าสนับสนุนวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำด้านการรักษามะเร็ง” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีนและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ IBM ประเทศไทย กล่าว“เทคโนโลยี IBM Watson for Oncology จะช่วยสนับสนุนข้อมูลเชิงลึกให้กับแพทย์ของจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยบนพื้นฐานของข้อมูลหลักฐาน ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถทุ่มเทเวลาไปกับการดูแลรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยในระยะยาว เราหวังว่าการนำเทคโนโลยีขั้นสูงของวัตสันมาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญเชิงลึกของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะเป็นการส่งเสริมให้การรักษามะเร็งในไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ถือเป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรกที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Watson for Oncology มาใช้ในการวางแผนรักษาแก่ผู้ป่วยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงบูรณาการความร่วมมือทางการแพทย์ในการเปิดให้โรงพยาบาลในเครือข่ายทั่วประเทศของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เข้าถึงบริการของระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวผ่านหน่วยการวางแผนรักษาโรคมะเร็งหรือ Tumor Board ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 

เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยมะเร็งทุกสิทธิ์การรักษาได้เข้าถึงการวางแผนการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้เทคโนโลยี Watson for Oncology จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการสนับสนุนงานด้านวิจัย และการศึกษาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในอนาคต เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เเพทย์เเละบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพได้เรียนรู้พัฒนาตนเองเเข่งกับเทคโนโลยีมาตรฐานระดับโลก 

รวมถึงนำมาช่วยในด้านการศึกษาของหลักสูตรเเพทย์ประจำบ้านฝึกอบรมสาขาต่อยอดด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาซึ่งเป็นเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ทั่วไปได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงซึ่งนับเป็นที่เเรกในประเทศไทยอีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

กรุงศรี ผนึกพันธมิตรสายเทค จัดงาน Krungsri Tech Day 2024 นวัตกรรมเพื่อธุรกิจและการใช้ชีวิตภายใต้แนวคิด Technology for People

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) หนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงินของไทย ประกาศจัดงาน Krungsri Tech Day 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูแนวคิด “Technology...

Responsive image

ไทย-สวีเดน ผนึกกำลังเร่งเครื่อง Startup สู่เวทีโลก ด้วย The Scaleup Impact! Thailand-Sweden Global Startup Acceleration Program

ประเทศไทยและสวีเดนได้ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลกผ่านโครงการ 'The Scaleup Impact! Thailand-Sweden Global Startup Acceleration Program' ณ...

Responsive image

STelligence ผลักดันองค์กรไทยสู่ยุค AI ด้วย 5 โซลูชันใหม่

STelligence บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation ของไทย เปิดตัว 5 โซลูชัน AI ใหม่ มุ่งตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของธุรกิจไทยและช่วยให้องค์กรไทยสามารถนำ AI มาใช้ได้อย่างมีประ...