มูลนิธิยูนุส ผนึกอินโดรามา เวนเจอร์ส เปิดตัวแหล่งการเรียนรู้ฟรี “The Waste Hero: Reduce to Zero” ตั้งเป้าให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนแก่เยาวชน 1 ล้านคนทั่วโลก
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ร่วมกับมูลนิธิยูนูส ประเทศไทย มูลนิธิระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร ร่วมก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2549 ประกาศเปิดตัวโปรแกรมการศึกษาระดับโลกแผนใหม่ “Waste Hero: Reduce to Zero” สำหรับชุมชนทั่วโลก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แหล่งทรัพยากรการสอนแบบฟรีชุดนี้ ถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับนักเรียนระดับ K-12 (ระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาตอนปลาย) จนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นความรู้รอบสามแกนหลัก ได้แก่ พื้นฐานด้านการรีไซเคิล การลดจำนวนขยะเหลือศูนย์ และการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มที่ปรึกษาด้านการศึกษา
ประกอบด้วย อาจารย์ นักวิชาการ นักการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านขยะเหลือศูนย์ จำนวน 23 ราย จาก 17 ประเทศ ที่มาช่วยให้คำแนะนำในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบฝึกหัด จำนวน19 บทเรียน ซึ่งชุดการศึกษา Waste Hero นี้จะถูกนำไปใช้ในการสอนทั่วโลกโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนหนึ่งล้านคน ภายในปี 2573
คุณสุจิตรา โลเฮีย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า ผู้คนทั่วโลกต่างก็กังวลเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม และทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเรา ความพิเศษของเม็ดพลาสติก PET ที่เราผลิต คือสามารถนำไปใช้สำหรับการผลิตขวดน้ำอัดลมและขวดน้ำ และนำกลับไปผลิตใหม่ได้ ดังนั้น ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตวัสดุและผู้รีไซเคิลชั้นนำ เราจึงมีความรับผิดชอบระดับโลก นั่นคือเหตุผลที่เราให้การสนับสนุนอาจารย์ด้วยแผนการสอนที่เกี่ยวกับการทำให้ของเสียเป็นศูนย์ พื้นฐานการรีไซเคิล และการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการส่งเสริมให้คนรุ่นต่อไปมีความรู้ในการลด การคัดแยก และกำจัดขยะ พวกเขาจะได้รู้วิธีการยุติของเสีย
ทั้งนี้ ชุดสื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วยแผนการจัดการการสอนส่วนบุคคล จำนวน 19 แผน ซึ่งจัดแบ่งตามระดับการศึกษา และแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย อาทิ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย ภาษาดัตช์และภาษาอื่นๆ ที่จะตามมา โดยชุดการสอน “Waste Hero: Reduce to Zero” เปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรีทางออนไลน์ และจะถูกนำไปใช้ในการสอนโดยมูลนิธิยูนุส ประเทศไทย ใน 38 ประเทศ 102 มหาวิทยาลัย และจะสร้าง Waste Hero ที่สนับสนุนโดย Zero Club 3 แห่ง เพื่อให้เยาวชนเริ่มดำเนินกิจกรรมในระดับโลก
ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนูส ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2549 และผู้ร่วมก่อตั้งและประธานศูนย์ยูนุส กล่าวว่า ถนนสายเก่านำไปสู่จุดหมายเก่า เราจำเป็นต้องให้อำนาจคนหนุ่มสาวในการสร้างถนนสายใหม่สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ขอขอบคุณกลุ่มที่ปรึกษาด้านการศึกษาที่นำพาชีวิตและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ชัดเจนมาสู่แผนการสอน โดยยึดหลักการออกแบบการกำจัดของเสียและมลภาวะ รักษาผลิตภัณฑ์และวัสดุในการใช้งาน และฟื้นฟูธรรมชาติ ด้วยการสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน เราทำให้ขยะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
"นี่เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจเพื่อสังคม เนื่องจากเราลดความเสี่ยงในการลงทุนในการเก็บรวบรวม คัดแยก และรีไซเคิล โดยได้รับประโยชน์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการที่ขยะน้อยลงและชุมชนสะอาดขึ้น ผมยินดีต้อนรับอินโดรามา เวนเจอร์ส และเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมรวมถึงคู่แข่ง ที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรการสอนเกี่ยวกับวัสดุรีไซเคิลทั้งหมด และตั้งตารอที่จะสร้างอนาคตที่ไร้ขยะร่วมกัน”
ชุดการสอน “Waste Hero: Reduce to Zero” ได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระของผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระดับโลก ซึ่งได้ข้อสรุปด้วยความมั่นใจในระดับสูงว่า สื่อการสอนนี้เหมาะสมสำหรับใช้กับผู้เรียนในระดับการศึกษาที่แตกต่างกันในบริบทที่หลากหลายทั่วโลก หัวใจของการประเมินนี้คือ การออกแบบสื่อที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งช่วยให้นักการศึกษามีโอกาสที่จะปรับบริบทของบทเรียนให้เหมาะกับบริบททางการศึกษาในท้องถิ่นและการจัดการของเสียของบริบทตนเอง นอกจากนี้ แผนการสอนนี้ยังได้รับการทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องในห้องเรียนในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ซิมบับเว บังคลาเทศ และสหราชอาณาจักร อีกด้วย
ในปี 2560 อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้เปิดตัวโครงการให้ความรู้ด้านการรีไซเคิลในประเทศไทย ซึ่งจากการประเมินในปี 2562 พบว่า ทุกๆ ดอลลาร์ที่ลงทุนสามารถสร้างมูลค่าทางสังคมได้มากกว่า 5 เท่า ปัจจุบันบริษัทกำลังทำงานร่วมกันกับมูลนิธิ ยูนุสประเทศไทย และพันธมิตรหลายแห่ง เพื่อขยายผลด้านการศึกษาไปทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนหนึ่งล้านคนภายในปี 2573
สำหรับโรงเรียน มหาวิทยาลัย และองค์กรที่สนใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการสอน ฟรี! ได้ที่ http://www.wasteheroeducation.com/ สำหรับข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด