INNOPOWER ตั้งกองทุน Energy Ignition Ventures EV Charger และ Renewable Energy Certificate (REC) | Techsauce

INNOPOWER ตั้งกองทุน Energy Ignition Ventures EV Charger และ Renewable Energy Certificate (REC)

ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทุกขณะทั้งจากภาคครัวเรือนและภาคการผลิต ทำให้ภาคธุรกิจพลังงานต้องปรับตัวรับมือกับความท้าทาย ด้วยการเสาะแสวงหาพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพ 

ขณะเดียวกันต้องเป็นมิตรกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานซึ่ง “นวัตกรรม” กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานสะอาดนี้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและทรงประสิทธิภาพ

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานฉลองการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ซึ่งจัดขึ้นที่ True Digital Park วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ภายใต้ชื่องาน “INNOPOWER : THE IGNITION BEGINS” ว่า ประเทศไทยได้ประกาศในเวทีการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26         (COP26) ว่าประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 

ภาครัฐจึงได้ใช้แผนพลังงานชาติเป็นแม่บทในการขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ภารกิจดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยองค์กรที่มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ไว ขับเคลื่อนได้เร็ว และพร้อมรับความท้าทาย เป็นกำลังหลักในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในภาคธุรกิจพลังงานของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นเรือธงสำคัญในการสร้างนวัตกรรมพลังงานและเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยมีผู้ถือหุ้นร่วม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (RATCH) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO) ซึ่งล้วนมีจุดมุ่งหมายและปณิธานเดียวกัน

นายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า อินโนพาวเวอร์มีเป้าหมายสำคัญในการเร่งให้การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ ภารกิจหลักของอินโนพาวเวอร์ จึงเป็นการผลักดันและจุดประกายนวัตกรรมพลังงานและเทคโนโลยีให้กับประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อินโนพาวเวอร์มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามทิศทางพลังงานสะอาด

นอกจากนี้ อินโนพาวเวอร์ได้มีการลงทุนในกองทุนและสตาร์ทอัพในต่างประเทศ เช่น Turntide Technologies สตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา ผู้พัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทมอเตอร์ประหยัดพลังงานซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้แร่ทองแดงน้อยลงในกระบวนการผลิตส่งผลให้มอเตอร์ดังกล่าวราคาไม่สูงแต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่า 30% นอกจากนี้ อินโนพาวเวอร์ยังได้รับสิทธิในการนำเทคโนโลยี สมาร์ทมอเตอร์มาใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับว่าเป็นก้าวสำคัญในการต่อยอดธุรกิจพลังงานและผลักดันนวัตกรรมพลังงานในอนาคตของประเทศไทย

ในด้านการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (E-Mobility) อินโนพาวเวอร์ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผลักดันโครงการต้นแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยนำรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า 100% มาใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนภายในพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบธุรกิจบริการยานยนต์ไฟฟ้าและการขนส่งโดยระบบไฟฟ้า (EV Fleet) ที่อินโนพาวเวอร์สามารถให้บริการแก่องค์กรหรือภาคเอกชนที่ต้องการระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ปัจจุบัน อินโนพาวเวอร์เป็นผู้ให้บริการจัดหาและซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน หรือ Renewable Energy Certificate (REC) ครบวงจรอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยนับตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปี 2565 จวบจนปัจจุบัน บริษัทฯ ได้สนับสนุนการซื้อขายไฟฟ้าสะอาดไปแล้วมากกว่า 1.2 ล้าน REC                       

ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดการณ์ว่าธุรกิจ REC จะมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเป้าหมายของภาครัฐในการผลักดันการใช้พลังงานสะอาด เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)

สำหรับปี 2566 นี้ อินโนพาวเวอร์ใช้เวที INNOPOWER : THE IGNITION BEGINS เปิดตัว 3 หน่วยธุรกิจ ซึ่งเป็นกำลังหลักในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจของอินโนพาวเวอร์ ตลอดจนขับเคลื่อนเรือธงด้านนวัตกรรมพลังงานของประเทศไทย

หน่วยงาน Venture Capital 

มีภารกิจในการลงทุนในกองทุนและสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมพลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา อินโนพาวเวอร์ได้จับมือกับ TRIREC ซึ่งเป็นธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) จากประเทศสิงคโปร์ ร่วมจัดตั้งกองทุน Energy Ignition Ventures โดยมีแผนการลงทุนในสตาร์ทอัพกลุ่ม Decarbonization Technology (อาทิ Mobility, Carbon Economy, Energy และ Agriculture) ที่มีการเติบโตมาแล้วระยะหนึ่ง (Growth Stage) และมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป อเมริกาเหนือ และอิสราเอล สำหรับกองทุนดังกล่าว อินโนพาวเวอร์วางเป้าหมายในการระดมทุนไว้เบื้องต้นที่ 80-100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หน่วยงาน Venture Builder 

มีภารกิจในการสร้างและทดลองนวัตกรรมทางพลังงานในกลุ่มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และมีจุดมุ่งหมายในการเร่งการเปลี่ยนผ่านให้ภาคขนส่งของประเทศไทยหันมาใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นด้วยการแสวงหาเทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจนวัตกรรมมาเติมเต็มให้กับระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้า และตอบโจทย์ผู้ใช้รถยนตร์ไฟฟ้าให้มากที่สุด ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อินโนพาวเวอร์ได้นำเทคโนโลยีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ของ Wallbox ซึ่งมีคุณสมบัติในการอัดประจุพลังงานที่มีประสิทธิภาพ และระบบบริหารจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Network Operator) จากพันธมิตรที่เป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการสถานีอัดประจุ มาบูรณาการสร้างเป็นโมเดลธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าต้นแบบที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ลงทุนและผู้ใช้งาน ทั้งนี้ อินโนพาวเวอร์มีแผนจะเปิดตัวโมเดลธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าต้นแบบที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของ               

โดย อินโนพาวเวอร์เชื่อว่าโมเดลธุรกิจนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการขยายเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Station) ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยสามารถเข้าถึง EV Station ได้สะดวกสบายขึ้น

หน่วยงาน Strategic Partnership 

มีภารกิจสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรชั้นนำผ่านความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อผลักดันนวัตกรรมความยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมและสังคม โดยในช่วงเวลาที่ผ่าน อินโนพาวเวอร์ได้ให้บริการจัดหาและซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน หรือ Renewable Energy Certificate (REC) ให้กับองค์กรชั้นนำที่ต้องการบรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาด ตลอดจนให้บริการในการทำตลาดให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนในการดำเนินการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากนี้ อินโนพาวเวอร์มีแผนจะเปิดตัวบริการแพลตฟอร์มรายงานก๊าซเรือนกระจก (GHG Reporting Platform) ซึ่งสามารถตรวจสอบสถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุด ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และสามารถเลือกบริการอื่นๆ ของอินโนพาวเวอร์ในการช่วยบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา การจัดการพลังงานด้วยเทคโนโลยี หรือการเดินรถโดยสารด้วยระบบไฟฟ้า อันจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างยั่งยืน

“เพื่อตอบรับกับแผนพลังงานชาติที่มีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 50 ของแผนพลังงานทั้งหมด และเดินหน้าประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 “นวัตกรรม” คือหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ที่ผ่านมาการเข้าถึงพลังงานสะอาดมีราคาสูง เราต้องทำให้พลังงานสะอาดมีต้นทุนที่ถูกลง ทุกคนสามารถเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานสะอาดได้ เมื่อประสบความสำเร็จ ไทยก็จะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของพลังงานสะอาด ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและทุกๆ กิจกรรมในชีวิตของผู้คนเกิดขึ้นได้อย่างควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน” นายอธิป กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เตรียมพบกับงานสัมมนา Social Value thailand Forum 2024 เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

งานสัมมนาเปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม Accelerating Education and Partnership for the SDGs...

Responsive image

เปิดตัวโครงการนำร่อง "กำแพงพักใจ ที่พักใจให้เยาวชน" ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิ Wall of Sharing, Ooca และ สปสช.

โครงการนี้มีเป้าหมายในการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตสำหรับเยาวชน 2,500 คนในกรุงเทพฯ ด้วยบริการให้คำปรึกษาออนไลน์ฟรี และยังลดภาระในการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต โดยที่เยาวชนจะได้รับก...

Responsive image

“Brother" ยกระดับมาตรฐานบริการรอบด้าน มุ่งสร้างความพึงพอใจลูกค้าพร้อมตั้งเป้าโต 6%

Brother พร้อมต่อยอดความสำเร็จจากปี 2566 มุ่งตอบโจทย์โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ยกระดับงานให้บริการสู่มาตรฐานขั้นสูง เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุด พร้อมเสริมแกร่งฐานลูกค้ากลุ่...