INTEL ทุ่ม 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ริเริ่มเทคโนโลยีรับมือโรคระบาด เพื่อต่อสู้กับ COVID-19 | Techsauce

INTEL ทุ่ม 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ริเริ่มเทคโนโลยีรับมือโรคระบาด เพื่อต่อสู้กับ COVID-19

วันนี้ INTEL ให้คำมั่นสัญญาเพิ่มทุนจำนวน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในโครงการริเริ่มด้านเทคโนโลยีเพื่อรับมือโรคระบาดและต่อสู้กับไวรัสโคโรนา ผ่านการเร่งสร้างการเข้าถึงเทคโนโลยี ณ จุดดูแลผู้ป่วย เร่งวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสร้างความเชื่อมั่นว่านักเรียนนักศึกษาจะสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนออนไลน์ได้ โดยเงินจำนวนนี้ครอบคลุมสำหรับส่วนของกองทุนนวัตกรรมที่เปิดรับคำขอสนับสนุนเม็ดเงิน เพื่อให้นำเอาความเชี่ยวชาญและทรัพยากรของ INTEL ไปใช้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในทันที ก่อนหน้านี้ INTEL ยังได้บริจาคเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้อีกด้วย

“ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายอันใหญ่หลวงในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 INTEL ขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะเร่งสร้างการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จะมาต่อกรกับโรคระบาดนี้ให้ได้ และจะสนับสนุนการคิดค้นทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ในการเตรียมความพร้อมให้กับสังคมเพื่อเผชิญหน้ากับวิกฤติครั้งต่อไปได้ดียิ่งกว่าเดิม เราหวังว่าการแบ่งปันความเชี่ยวชาญของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรหรือเทคโนโลยี จะช่วยเร่งรักษาชีวิตและขยายการเข้าถึงบริการต่างๆ ที่จำเป็นให้แก่คนทั่วโลกในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้” บ็อบ สวอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ INTEL กล่าว 

 เงินทุนนี้จะใช้เพื่ออะไรบ้าง: INTEL จะสมทบเงินประมาณ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสนับสนุน โครงการ Intel COVID-19 Response and Readiness Initiative และสำหรับโครงการสนับสนุนการศึกษาออนไลน์ (Intel Online Learning Initiative) โดยในโครงการเตรียมความพร้อมและรับมือสถานการณ์โควิด-19ของ INTEL นี้ จะมอบเงินทุนให้แก่ลูกค้าธุรกิจและพาร์ทเนอร์ เพื่อเร่งสนับสนุนความก้าวหน้าด้านการวินิจฉัยโรค การรักษา และการพัฒนาวัคซีน และมุ่งยกระดับเทคโนโลยีต่างๆ เช่นปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลประสิทธิภาพสูง และการส่งมอบบริการจาก Edge สู่คลาวด์ เป็นต้น โดยในโครงการนี้ INTEL จะเข้ามาช่วยผู้ผลิตและผู้ให้บริการด้านสุขภาพและชีววิทยาศาสตร์ ให้สามารถเพิ่มเทคโนโลยีและโซลูชันส์ที่โรงพยาบาลจะต้องใช้สำหรับวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งโครงการนี้ยังช่วยผลักดันให้เกิดการสร้างเครือข่ายภายในอุตสาหกรรมและเร่งยกระดับศักยภาพ ความสามารถและนโยบายของทั่วโลกให้รับมือกับโรคระบาดในครั้งนี้และในอนาคตข้างหน้าได้ ผ่านความเชี่ยวชาญของ INTEL ในด้านการขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านสุขภาพและชีววิทยาศาสตร์  

โครงการ Intel Online Learning Initiative จะให้การสนับสนุนองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรและพันธมิตรทางธุรกิจด้านการศึกษา เพื่อช่วยนักเรียนและนักศึกษาที่ขาดแคลนเทคโนโลยีให้มีอุปกรณ์และสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ได้ และด้วยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับโรงเรียนรัฐบาลในระดับชุมชนเพื่อบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ (PCs) สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ คู่มือสำหรับระบบการเรียนการสอนจากที่บ้านพร้อมความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์เชื่อมต่อ ทั้งนี้ โครงการสนับสนุนการศึกษาออนไลน์ของ INTEL เกิดจากคำมั่นสัญญาที่ INTEL มีเสมอมาด้านการยกระดับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี โดยโครงการนี้จะเริ่มต้นทันทีในภูมิภาคที่มีความต้องการมากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกาและขยายไปทั่วโลก

นอกจากนี้ INTEL ยังจัดสรรเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับกองทุนนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนความต้องการของพาร์ทเนอร์ภายนอก หรือโครงการบรรเทาทุกข์ที่ริเริ่มโดยพนักงาน INTEL เอง เพื่อตอบสนองความต้องการที่จำเป็นในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ เช่น 

•    INTEL ได้ทำงานร่วมกับสภาวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม และสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศนานาชาติ ณ นครไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เพื่อใช้งานโซลูชันส์เซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่ายของ INTEL สำหรับเร่งการตรวจโรคโควิด-19 ให้รวดเร็วมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง และช่วยเรียงลำดับจีโนมของเชื้อไวรัสโคโรนาเพื่อสร้างความเข้าใจเชิงระบาดวิทยา รวมถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการจำแนกลำดับความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย นอกจากนี้ INTEL ยังร่วมมือกับสมาคมบริษัทผู้พัฒนาและให้บริการซอฟต์แวร์ (National Association of Software and Service Companies: NASSCOM) ของประเทศอินเดีย ในการสร้างอีโคซิสเต็มของแอปพลิเคชันและระบบการจัดการเบื้องหลัง (Back end) ประเภทมัลติคลาวด์ เพื่อใช้วินิจฉัยโรคโควิด-19 ในระดับประชากรและคาดการณ์การระบาดล่วงหน้าเพื่อเตรียมพร้อมจัดบริการด้านสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น 

•    แพลตฟอร์ม Sickbay™ ของ Medical Informatics Corp. (MIC) ได้ใช้เทคโนโลยี INTEL สร้างโซลูชันส์ที่สามารถเปลี่ยนเตียงธรรมดาให้กลายเป็นเตียง ICU เสมือน (Virtual ICU) ได้ในระยะเวลาไม่กี่นาที เพื่อช่วยป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤติจากความเสี่ยงจากการสัมผัส และช่วยขยายความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โรงพยาบาล Houston Methodist ได้นำระบบ vICU ของ Sickbay มาเริ่มใช้งานได้ทันทีภายในหนึ่งวัน เพื่อยกระดับการเฝ้าสังเกตอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ผ่านระบบเสมือน ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้โดยปราศจากความเสี่ยงจากการสัมผัสในห้อง ICU (ชมวิดีโอห้อง ICU เสมือนใน โรงพยาบาล และ Houston Methodist Deploys Medical Informatics Corp.’s Sickbay Platform (B-Roll) )

•    ในประเทศอังกฤษ INTEL ได้ร่วมมือกับบริษัท Dyson และบริษัท TTP ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการแพทย์ เพื่อจัดทำแผงวงจร FPGAs สำหรับเครื่องช่วยหายใจ CoVent ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองคำร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษ เครื่องช่วยหายใจนี้ออกแบบให้สามารถติดตั้งกับเตียงได้ ทั้งนี้ยังอยู่ในระหว่างรออนุมัติทางกฎหมาย   

ทำไมถึงเป็นสิ่งสำคัญ: เทคโนโลยีของ INTEL อยู่ในผลิตภัณฑ์และบริการสำคัญต่างๆ ที่สังคมโลก รัฐบาล และองค์กรด้านสุขภาพจำเป็นต้องพึ่งพาทุกวัน พวกเราหวังว่าการใช้ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร เทคโนโลยี และทรัพยากรบุคคลที่อินเทลมีอยู่ จะช่วยรักษาและยกระดับชีวิตของผู้คนได้ท่ามกลางความท้าทายอันใหญ่หลวงที่โลกเผชิญอยู่ตอนนี้ ผ่านการสร้างสรรค์และพัฒนากลยุทธ์และนวัตกรรมรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีได้ 

การช่วยเหลือในสถานการณ์ไวรัสโคโรนาจนถึงปัจจุบัน: โครงการให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีครั้งนี้ต่อยอดมากจากการบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ทาง INTEL มอบให้ชุมชนท้องถิ่นในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งการบริจาคครั้งนั้นได้มีการให้ ถุงมือ หน้ากากอนามัย และเครื่องมือที่จำเป็นทางการแพทย์เป็นจำนวน 1 ล้านชิ้น โดยเงินจำนวน 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้มาจากมูลนิธิ Intel Foundation เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ชุมชนท้องถิ่น ส่วนเงินอีก 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากอินเทลและบริษัทในเครือทั่วโลก  

การช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีเพิ่มเติม: ก่อนหน้านี้มีการประกาศความร่วมมือระหว่างอินเทล เลโนโว่ และสถาบันวิจัย BGI Genomics ในกรุงปักกิ่ง เพื่อเร่งการวิเคราะห์ลักษณะจีโนมของเชื้อไวรัสโคโรนา อีกทั้งอินเทลยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก XPRIZE Pandemic Alliance ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระดับโลก พร้อมด้วยบริษัทอื่นๆ เพื่อผลักดันความร่วมมือพัฒนาโซลูชันส์ผ่านนวัตกรรมร่วมในการตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนในช่วงเวลาแห่งวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...

Responsive image

Tokenization Summit 2024 by Token X พบกูรูระดับโลกเจาะลึกวิสัยทัศน์การปฏิวัติ Digital Asset

เวทีสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ “Tokenization Summit 2024” ภายใต้หัวข้อ Unveiling the Next Big Thing ขนทัพผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ มาให้ความรู้ แ...