รพ.บำรุงราษฎร์เปิดใช้ InterSystems TrakCare ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ | Techsauce

รพ.บำรุงราษฎร์เปิดใช้ InterSystems TrakCare ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ใหม่

InterSystems ผู้นำด้านเทคโนโลยีข้อมูลสาธารณสุข ร่วมกับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดใช้งาน InterSystems TrakCare® ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record / EMR) นวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ในการบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยแบบครบวงจร เพื่อรองรับการให้บริการด้านการแพทย์ระดับโลก พร้อมตอบโจทย์ในการดูแลผู้ป่วยที่ดียิ่งขึ้น ทั้งด้านความพึงพอใจของผู้ป่วย ความปลอดภัยของผู้ป่วย และการจัดการต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Photo: รพ.บำรุงราษฎร์

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรอิสระทางด้านสาธารณสุขระดับสากลที่เข้ามาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยในด้านต่างๆ เช่น มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล The Joint Commission International (JCI) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI นี้และยังได้ผ่านการรับรอง Reaccredited มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน, มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ระดับสากล จาก The College of American Pathologists (CAP), มาตรฐานที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านการติดเชื้อ DNV-GL’S MANAGING INFECTION RISK (MIR) STANDARD หรือแม้กระทั่งรายการ CNN Inside man ที่เผยแพร่เรื่องราวด้านการแพทย์ให้กับผู้ชมทั่วโลก นอกจากนี้ในปี 2561 ทางโรงพยาบาล ยังได้รับรางวัลความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ 15 รางวัล จากองค์กรระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพมาตรฐาน ตลอดจนการบริบาลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการรักษาพยาบาลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ขณะนี้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ทำการติดตั้งระบบ TrakCare ทั่วทั้งโรงพยาบาลแล้ว โดยระบบนี้จะช่วยบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยและเชื่อมผสานระบบทางการแพทย์ทั้งหมดเอาไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยสนับสนุนการบริบาลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกแผนก ไม่ว่าจะเป็น ห้องฉุกเฉิน การคลอดบุตร การผ่าตัด รังสีวิทยา ห้องปฏิบัติการทางคลินิก และเภสัชกรรม ซึ่งจะส่งมอบประสบการณ์ด้านบวกสู่ผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

นายเคนนี่ ลิม ผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า "ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยได้รับคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 95% ในหลายแผนก นอกจากนั้น การใช้งานนวัตกรรม TrakCare ยังทำให้โรงพยาบาลสามารถลดการใช้กระดาษลงอย่างมาก รวมไปถึงการใช้ระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นก็ช่วยลดเวลาในการเดินทางสำหรับผู้ป่วยอีกด้วย"

ด้วยการจัดการงานแบบที่ไม่ต้องใช้เอกสารกระดาษและระบบการรายงานอัตโนมัติ จะช่วยให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในเวลาที่น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคหรือการตรวจสุขภาพ เป็นต้น รวมไปถึงการได้รับประโยชน์เบื้องต้นอื่น ๆ ทั้งการปรับปรุงที่นำไปสู่ความปลอดภัยของผู้ป่วย และประสิทธิภาพขององค์กรที่มากขึ้น

การใช้ TrakCare หรือระบบบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยแบบนี้ จะช่วยให้กระบวนการการรักษาพยาบาลของคณะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยสนับสนุนข้อมูลให้แก่ทีมแพทย์และพยาบาลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างทีมดูแลผู้ป่วยและแผนกต่าง ๆ อีกด้วย

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกของ TrakCare สามารถแจ้งเตือนด้านความปลอดภัยบนความเสี่ยงระดับต่าง ๆ รวมถึงการเกิดอันตรกิริยา (Interaction) ระหว่างยา การซ้ำซ้อนในการรักษา และคำสั่งซ้ำ นอกจากนี้ ยังผนวกเข้ากับเครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพผู้ป่วย และใช้ในการจัดการยาแบบ Closed-loop ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดข้อผิดพลาด และเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย

นอกจากนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ยังเป็นโรงพยาบาลอันดับแรก ๆ ที่ได้เริ่มใช้งาน TrakCare Lab Enterprise ระบบการจัดการธุรกิจห้องปฏิบัติการคลินิก และโมดูลแบบครบวงจรภายในระบบ TrakCare ซึ่งทำให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เพิ่มศักยภาพกระบวนการห้องปฏิบัติการทางคลินิกมากยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกัน InterSystems HealthShare® ยังช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับระบบ Non-TrakCare ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลอีกด้วย

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตั้งเป้าว่า การพัฒนาในครั้งนี้จะมีผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพในการรักษาพยาบาลในอนาคต ด้วยข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดที่ถูกบันทึกในฐานข้อมูลเดียว ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างต่อเนื่อง โดยนายเคนนี่กล่าวเสริมว่า "เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อผลลัพธ์ทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพด้วยระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นเกือบทุกเครื่องมือทางการแพทย์ของโรงพยาบาลกลายเป็นดิจิตอล ความท้าทายของเราคือการทำให้เครื่องมือเหล่านั้นรวมเข้ากับระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และบริหารจัดการด้วยโซลูชันแบบองค์รวม"

ด้าน นายเคอร์รี สตราตตัน กรรมการผู้จัดการแห่ง InterSystems ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “InterSystems รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เพื่อส่งมอบการรักษาพยาบาลระดับโลกแก่ผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในชุมชนลูกค้าของ TrakCare จาก 25 ประเทศ ซึ่งได้รับประโยชน์จากแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในโลกที่ผนวกอยู่ในผลิตภัณฑ์และโครงสร้างของภูมิภาคที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแต่ละท้องถิ่น”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...

Responsive image

เดลต้า ประเทศไทย ชูธงนวัตกรรม ESG คว้าดัชนี FTSE4Good ตอกย้ำความเป็นเลิศ

เดลต้าได้รับคัดเลือกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE4Good Index Series ซึ่งจัดทำโดย FTSE Russell ผู้ให้บริการด้านดัชนีและข้อมูลระดับโลก...

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...