iPrice จับมือ Parcel Perform เผยปัญหาที่ธุรกิจ E-Commerce ต้องเจอในการขนส่ง | Techsauce

iPrice จับมือ Parcel Perform เผยปัญหาที่ธุรกิจ E-Commerce ต้องเจอในการขนส่ง

คำว่า ‘ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ’ จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มี ‘การขนส่ง’ มาช่วยเสริมศักยภาพ เห็นได้ว่าในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเรียกได้ว่าเป็นไปอย่างก้าวกระโดด สอดคล้องกับผลสำรวจของ Google&Temasek ที่ว่าในปี 2025 อันใกล้นี้มูลค่าอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจเหยียบ 240 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐเลยทีเดียว ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับงานวิจัยของ iPrice เรื่องเทรนด์สายงานอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบว่า อัตราการจ้างงานในสายอาชีพนี้พุ่งขึ้นถึง 40.7% จากปี 2016 ถึงปี 2018 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่ได้รับกระบวนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพเป็นตัวช่วยขับเคลื่อน แม้ลูกค้าอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่จะเลือกช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์ อาจเพราะราคาถูกก็ดี หรือโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจก็ตาม แต่ร้อยทั้งร้อยพวกเขาก็ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ในทุก ๆ ครั้งที่กดสั่งซื้อ ต่างก็รู้อยู่แล้วว่าไม่มีทางรับสินค้าได้ทันที แต่อย่างน้อยสิ่งที่พวกเขาคาดหวังคือการเห็นกระบวนการจัดส่งที่จับต้องได้ รายงานทุกการเคลื่อนไหวของสินค้า เริ่มตั้งแต่การรับออเดอร์เข้าระบบ การสั่งจ่าย การส่งไปที่ตัวแทน ฯลฯ เป็นต้น เพราะกระบวนการเหล่านี้เป็นเครื่องการันตีว่า พวกเขาไม่ได้ถูกหลอก!

ด้วยเหตุนี้ iPrice จึงจับมือกับ Parcel Perform ผู้นำซอฟต์แวร์ในด้านการเช็คสถานะสินค้าให้กับบริษัทขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซกว่า 600 รายทั่วโลก เพื่อเผยความพึงพอใจของลูกค้าอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีข้อมูลผลสำรวจมาจากลูกค้า 80,000 คน ทั่วทั้งประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม และไทย

5 ปัจจัยที่ ‘ผู้สั่งซื้อ’ ร้องให้ ‘ผู้ขาย’ หันกลับมามองและช่วยกันปรับปรุง

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 34% ของผู้บริโภคยังคงเห็นว่าการจัดส่งพัสดุยังคงเป็นจุดด้อยที่สุดสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้กว่า 90% ยังเป็นคำร้องเรียนและข้อเสนอแนะเชิงลบจากลูกค้าเกี่ยวกับการจัดส่งที่ล่าช้า รวมไปถึงการสื่อสาร และการติดตามพัสดุ ซึ่งการจัดส่งพัสดุที่รวดเร็วมักสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า หากเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้จะพบว่า ลูกค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศสิงค์โปร์ ไทย และเวียดนาม ได้รับความพึงพอใจกับกระบวนการจัดส่งสินค้ามากกว่าลูกค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

ในการจัดส่งทุกครั้ง ลูกค้าจะให้คะแนนความพึงพอใจสำหรับกระบวนการจัดส่งพัสดุที่ 4.6 คะแนน ถือเป็นตัวเลขที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเราได้มีการปรับปรุงระบบการขนส่งอยู่เสมอเมื่อได้รับการร้องเรียนจากลูกค้า มากไปกว่านั้นเรายังพบว่าลูกค้าเดิมมักกลับมาใช้บริการโดยมีมูลค่าของการใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้นถึง 40% อีกด้วย -- Arne Jeroschewski ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Parcel Perform กล่าว

เนื่องด้วยการขยายตัวของร้านค้าอีคอมเมิร์ซมากมาย ปัจจุบันนักช้อปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงถือเป็นกลุ่มลูกค้าที่เข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าอยู่เสมอ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีราคาถูกกว่าร้านค้าอื่น ๆ โดยการเปรียบเทียบข้ามแพลตฟอร์ม รวมไปถึงเปรียบเทียบกระบวนการจัดส่งที่รวดเร็ว เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการสินค้าที่ตนเองได้สั่งซื้อโดยเร็วทั้งนั้น – Jeremy Chew, Head of Content Marketing, iPrice Group กล่าว 

  • ยิ่งจัดส่งสินค้ารวดเร็ว ยิ่งมีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า 

เมื่อเวลาการส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ความพึงพอใจ (ระดับความพึงพอใจที่ 4-5 ) ของลูกค้าย่อมลดลงประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละครั้ง โดยความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งพัสดุสินค้าและระดับคะแนนความพึงพอใจแสดงให้เห็นว่า การตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบในด้านการบริการลูกค้า ยังคงเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

  • มีลูกค้าถึง 34 เปอร์เซ็นต์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ไม่ประทับใจการบริการขนส่งสินค้าในปัจจุบัน

มีลูกค้าประมาณ 30 - 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่ประทับใจในการบริการขนส่งสินค้า (คะแนนความประทับใจอยู่ที่ 1 - 2) ประสบการณ์ในเรื่องของคุณภาพการขนส่งสินค้าล่าสุด ยังคงหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของความประทับใจในการบริการลูกค้า ความประทับใจของลูกค้าคือกุญแจสำคัญในการรักษาคุณภาพและการปรับปรุงประสบการณ์การขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

  • การตื่นตัวในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในด้านความคาดคะเนระยะเวลาการขนส่งสินค้า และสามารถดำเนินการได้ตามกำหนดเวลาจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้าได้

ความคาดหวังของลูกค้าคือการให้ผู้ค้าแสดงการอัพเดทข้อมูลระหว่างการขนส่ง จากสาเหตุที่ระดับความพึงพอใจจากลูกค้าอยู่ในระดับต่ำ (1 จาก 5 คะแนน) เป็นเพราะการขาดการอัพเดตข้อมูล หรือก็คือเมื่อลูกค้าสั่งซื้อแล้วต้องรอลุ้นว่าจะได้รับสินค้าเมื่อไหร่ ซึ่งเป็นการรออยู่ในความไม่แน่นอน ไม่มีการการันตี โดยทั่วไปลูกค้าคาดหวังที่จะทราบการแจ้งข้อมูลสินค้า การอัพเดต และการแจ้งระยะเวลาในการขนส่งในทุกขั้นตอน

  • ร้านค้าอีคอมเมิร์ซท้องถิ่นมักมีการคำนวนระยะเวลาการจัดส่งคร่าว ๆ ให้ลูกค้าได้  

ซึ่งต่างจากร้านค้าอีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศที่ล้วนแต่เป็นการส่งที่เรียกได้ว่า ‘สั่งลืม’ หรือก็คือการรอสินค้าเป็นเวลานานจนลืมไปว่าตนได้สั่งซื้อไว้ ทำให้ส่วนใหญ่ลูกค้าอีคอมเมิร์ซจะยังอยู่ใน Comfort Zone ของตนเอง คือการเลือกสั่งซื้อกับร้านค้าเจ้าประจำ และร้านค้าท้องถิ่น เป็นต้น 

  • มีการร้องเรียนจากลูกค้ามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่มาพร้อมคำติชมในด้านลบ

อันได้แก่ ความล่าช้าในการจัดส่งสินค้า การไม่ติดต่อสื่อสารในเรื่องของสถานะของสินค้า รวมไปถึงคุณภาพสินค้าที่ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง ส่วนใหญ่ร้านค้าจะรับผิดชอบด้วยการคืนเงิน หรือเปลี่ยนสินค้า ซึ่งกว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้าที่ตนเองต้องการจริง ๆ อาจต้องเสียเวลาเป็นสองเท่า บางกรณีอาจนานเป็นเดือน 

ไฮไลท์ที่สำคัญคือประเทศไทยเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีระบบขนส่งสินค้าเร็วที่สุดเฉลี่ย 2.5 วัน ในขณะที่ประเทศมาเลเซียใช้ระยะเวลาขนส่งสินค้านานที่สุดโดยเฉลี่ย 5.6 วัน หากจะนับระยะเวลาขนส่งโดยเฉลี่ยทั่วทั้งภูมิภาคจะอยู่ที่ 3.8 วัน โดยประเทศอินโดนีเซียถือเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีค่าเฉลี่ยระยะเวลาขนส่งสินค้าที่มาตรฐานที่สุดสำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซ SEA (3.8 วัน) ถือเป็นผลสำรวจที่น่าสนใจ เพราะต่างก็รู้กันดีว่าประเทศอินโดนีเซียนั้นประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ มีประชากรมากที่สุดและยังมีการจราจรที่จัดว่าติดขัดมากที่สุดในภูมิภาค แต่ก็ยังมีระยะเวลาการขนส่งสินค้าที่รวดเร็วกว่าประเทศสิงคโปร์ที่มีพื้นที่เล็กที่สุดในภูมิภาคแต่กลับมีระยะเวลาขนส่งสินค้าเฉลี่ยถึง 3.3 วัน 

 

เขียนและวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...

Responsive image

AstraZeneca รับรางวัล Most Innovative Company จาก BCCT จากความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม AI ด้านสุขภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข้ารับรางวัล Most Innovative Company (รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม) จาก สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู...

Responsive image

Gourmet Market เปิดตัวรถเข็น Smart Cart ครั้งแรกในไทย ค้นหาสินค้า หาโปรโมชัน คิดเงิน ครบจบในคันเดียว

กูร์เมต์ มาร์เก็ต ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งสู่ยุคดิจิทัล เปิดตัว “Gourmet Market Smart Cart” เจ้าแรกในประเทศไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Shopping Made Easy at Once” ก้าวสู่การเป็นสมาร์ทซูเ...