อินโดรามา เวนเจอร์ส เผยไตรมาสที่ 1 ปี 64 รายได้ 3,240 ล้านเหรียญฯ โต 10% | Techsauce

อินโดรามา เวนเจอร์ส เผยไตรมาสที่ 1 ปี 64 รายได้ 3,240 ล้านเหรียญฯ โต 10%

อินโดรามา เวนเจอร์ส รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เผยปริมาณขายและกำไรที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก พร้อมเดินหน้าโครงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง

สรุปผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 2564

  • รายได้จากการขายในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 จำนวน 3,240 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
  • Reported EPS อยู่ที่ 1.04 บาท เทียบกับ 0.20 บาทในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 และ 0.07 บาทในไตรมาสที่ 1 ปี 2563
  • Reported EBITDA เท่ากับ 483 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก Core EBITDA ที่เพิ่มสูงขึ้น (จำนวน 369 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเติบโตร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) จากความได้เปรียบในการปรับปรุงสัญญาและกำไรจากสินค้าคงคลัง
  • โครงการ Olympus หรือโครงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจและต้นทุนทั่วทั้งองค์กรของบริษัทฯ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานคิดเป็นจำนวน 67 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสนี้ เป็นไปตามเป้าหมายสำหรับปี 2564 ซึ่งตั้งไว้ที่ 287 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นจำนวน 195 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับปี 2563)

ภาพรวม

สถานการณ์ระดับโลกเป็นบวก ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกและการเริ่มต้นฉีดวัคซีน ส่งผลให้เกิดปริมาณอุปสงค์ที่แข็งแกร่งและกำไรที่แข็งแกร่งสำหรับผลิตภัณฑ์หลักของไอวีแอล โดยเริ่มต้นจากการฟื้นตัวในประเทศจีนและส่งผลต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ปริมาณสินค้าคงคลังทั่วโลกที่มีอย่างจำกัดประกอบกับการชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ทำให้กำไรของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดเพิ่มสูงขึ้นสนับสนุนราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบทำให้ผลประโยชน์จากการใช้ shale gas ดีขึ้น เป็นผลต่อดีกลุ่มธุรกิจ IOD (Integrated Oxides and Derivatives) ของไอวีแอลในอเมริกาเหนือ ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการคาดการณ์รายได้ที่แข็งแกร่งขึ้นในครึ่งแรกของปี 2564 

โครงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจที่กำลังดำเนินการ

ท่ามกลางการฟื้นตัวของสถานการณ์ ไอวีแอลยังคงให้ความสำคัญและมุ่งมั่นดำเนินโครงการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่เริ่มไว้ในปี 2563 บริษัทฯ มีความคืบหน้าที่ดีในการพัฒนาการใช้ระบบ ERP เดียวทั่วโลก เสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างการใช้ข้อมูล (data platform) และเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถพัฒนาการบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น การวิเคราะห์ทางธุรกิจที่ดีขึ้นจะช่วยเพิ่มระเบียบในหลายๆ ด้าน อาทิ การบริหารจัดการความเสี่ยง (exposure management) ซึ่งเป็นแง่มุมสำคัญต่อสภาพตลาดที่มีความซับซ้อนในทุกวันนี้ นอกจากนี้ ไอวีแอลได้ตั้งหน่วยบริหารจัดการงานส่วนกลางที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ อาทิ ดิจิทัล และการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นเลิศให้กับทุกกลุ่มธุรกิจ

การปรับโครงสร้างบริหารของไอวีแอลเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มธุุรกิจย่อย 16 กลุ่ม ภายใต้กลุ่มธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม นำโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) หนึ่งเดียวที่ดูแลงานทั่วโลก สะท้อนความคล่องแคล่วและคล่องตัวในการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อรองรับอุปทานที่แข็งแกร่งของลูกค้า รูปแบบธุรกิจของไอวีแอลที่บูรณาการในระดับภูมิภาคทั่วโลกได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นผลดี แม้จะมีการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานหลายประการในไตรมาสนี้ อาทิ ปรากฏการณ์ลมวนในเขตขั้วโลก (Polar Vortex) และเหตุการณ์เรือขวางคลองสุเอซ การที่บริษัทฯ สามารถเข้าถึงวัตถุดิบที่เป็นเจ้าของเองได้ ทำให้ไอวีแอลสามารถดำเนินการผลิตในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างน่าเชื่อถือ เนื่องด้วยความยืดหยุ่นในห่วงโซ่อุปทานของเราเอง

การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) และความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality)

ความเป็นกลางทางคาร์บอนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความแตกต่างให้กับไอวีแอลในอนาคต โดยบริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์สำหรับการรีไซเคิล พลังงานหมุนเวียน การชดเชยคาร์บอนที่มีจริยธรรม และการนำแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ บริษัทฯ มีสถานะที่เป็นเอกลักษณ์ในฐานะผู้ผลิต PET รายใหญ่ที่สุด และกำลังมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน โดยขยายการดำเนินงานให้สามารถสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนของลูกค้าได้

เมื่อวันคุ้มครองโลกที่ผ่านมา ไอวีแอลได้เปิดตัวเม็ดพลาสติก PET ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral PET ซึ่งได้รับการรับรองเป็นรายแรกของอุตสาหกรรม ภายใต้แบรนด์เพื่อความยั่งยืนอย่าง Deja™ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ผลิตโดยใช้พลังงานหมุนเวียน ด้วยวัตถุที่จัดหาในท้องถิ่น ขนส่งทางน้ำซึ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอนสำหรับลูกค้าที่จะนำไปใช้งานต่อ ทั้งนี้แบรนด์ Deja™ จะเป็นส่วนสำคัญต่อความมุ่งมั่นของไอวีแอลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการทำให้วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2573 ของสหประชาชาติเกิดผลสำเร็จ

โครงการ Olympus

โครงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจและต้นทุนทั่วทั้งองค์กรของไอวีแอลเดินหน้าต่อเนื่อง ด้วยผลการดำเนินโครงการที่ดีกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 21 ในปี 2563 ทำให้โครงการมีความคืบหน้าตามแผนที่วางไว้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ซึ่งให้ผลตอบแทน 67 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสนี้ ซึ่งแบ่งเป็นสัดส่วนเท่าๆ กันระหว่างการปรับเปลี่ยนที่นำโดยกลุ่มธุรกิจหลักและการเปลี่ยนแปลงต้นทุน การดำเนินโครงการส่วนใหญ่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการขายและการดำเนินงาน ซึ่งทำให้ไอวีแอลมีการส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยพัฒนาผลิตภาพและต้นทุนโดยรวม ไอวีแอลเดินหน้าทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชั้นนำในการใช้เครื่องมือและแนวทางปฏิบัติที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ Olympus นำไปสู่การส่งเสริมให้ธุรกิจของไอวีแอลสามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ไอวีแอลยังคงเดินหน้าตามเป้าหมาย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานจำนวน  287 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปี 2564 (เพิ่มขึ้นจำนวน 195 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับปี 2563)

คุณอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “เมื่อไตรมาสที่ผ่านมา ผมได้กล่าวไว้ว่าปี 2563 ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเชิงโครงสร้างต่ออุตสาหกรรมที่ไอวีแอลดำเนินการ และผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 นี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน รูปแบบธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์และการบริหารธุรกิจอย่างมีประสบการณ์ เสริมด้วยโครงการปรับเปลี่ยนด้านต่างๆ ของเรา จะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายปี 2566 ของเรา นอกจากนี้ ความมุ่งมั่นสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนจะเป็นแนวทางสำคัญต่อการดำเนินงานของไอวีแอลในภายภาคหน้า เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน”














ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...

Responsive image

ทำความรู้จักกับซิม IoT จาก SoftBank และ 1NCE จ่ายครั้งเดียว ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี

รู้จักซิมการ์ด IoT จาก 1NCE เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั่วโลกใน 173 ประเทศ ด้วยค่าใช้จ่ายครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10 ปี เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการโซลูชันคุ้มค่าและจัดการง่าย...