สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โชว์ผลสำเร็จงานวิจัย “เอไอตรวจโควิดกลายพันธุ์” เทคโนโลยีใหม่ที่พร้อมช่วยทีมแพทย์ถึง 2 ส่วน ได้แก่ 1. สามารถบ่งชี้เชื้อโควิด-19 ได้ถึง 8 สายพันธุ์ 2. ตรวจตำแหน่งการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการค้นหากลายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOCs) ถูกต้องถึง 99% ในเวลาเพียง 30 วินาที หนุนแพทย์ลดขั้นตอนการวิเคราะห์ให้เหลือเพียง 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.นำข้อมูลสารพันธุกรรมทั้งหมด หรือจีโนมที่ได้ทั้งแบบเดี่ยว หรือแบบหลายๆจีโนมพร้อมกัน เข้าโปรแกรม 2. วิเคราะสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 3. ประมวลผลในรูปแบบชื่อของสายพันธุ์ และหากพบเชื้อกลายพันธุ์จะแสดงผลเป็นสีแดง พร้อมแสดงตำแหน่งกลายพันธุ์ (VOCs) บนจีโนม แต่หากไม่พบเชื้อจะเป็นสีเทา ปัจจุบันอยู่ระหว่างลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และยื่นจดสิทธิบัตรร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และพร้อมถ่ายทอดนวัตกรรมแก่หน่วยงานที่สนใจ สำหรับหน่วยงานรัฐหรือเอกชนใดที่สนใจถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. โทร. 02 – 723 - 4900 ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ สจล. ผ่าน http://www.facebook.com/kmitlofficial และ www.kmitl.ac.th
รศ. ดร.ศิริเดช บุญแสง คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า จากกรณีการตรวจพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยจำนวนมาก ทั้งสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย โดยล่าสุดพบโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ในคลัสเตอร์ตากใบ จ.นราธิวาส และรักษาหายแล้วในเวลาต่อมา ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของคณะทำงาน ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยี “เอไอตรวจโควิดกลายพันธุ์” หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ซีร่า คอร์ (CiRA CORE) ที่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
รศ. ดร.ศิริเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับขั้นตอนการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด -19 และการค้นหาตำแหน่งกลายพันธ์ VOCs ด้วยเอไอดังกล่าว หนุนแพทย์ลดขั้นตอนการวิเคราะห์ให้เหลือเพียง 3 ขั้นตอน ได้แก่
ปัจจุบัน “เอไอตรวจโควิดกลายพันธุ์” นำร่องทดลองใช้งานภายในห้องแล็บของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในการใช้ตรวจตำแหน่งกลายพันธุ์ของโควิด-19 (VOCs) โดยบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ทั้งนี้ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่หน่วยงานที่สนใจ และอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตรร่วมกันระหว่างหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม เอไอดังกล่าว เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับ ดร.วีรยุทธ กิตติชัย อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ สจล. ผศ. ดร.สันทัด ชูวงค์อินทร์ หัวหน้าศูนย์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ (CiRA) วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สจล. พร้อมด้วย ดร. จักรพันธุ์ รุณเจริญ ดร. อินทรี เสนสอน และ ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และนางสาวทัชชา ยิ้มถิน อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รศ. ดร.ศิริเดช กล่าวปิดท้าย
ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า โควิด-19 ยังเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ ต้องตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อรายใหม่ รักษาผู้ติดเชื้อ พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนักวิจัยไทยยังต้องเร่งคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือจำนวนมาก เช่นเดียวกับ สจล. ที่ไม่หยุดพัฒนาและส่งต่อความช่วยเหลือแก่ทีมบุคลากรทางการแพทย์และชุมชนต่าง ๆ นับตั้งแต่ระลอกแรกจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งล่าสุดได้เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 สจล. จุดบริการวัคซีนภายนอกโรงพยาบาล ฝั่งกรุงเทพตะวันออก สำหรับนักศึกษาและบุคลากร สจล. รวมถึงบุคคลคนที่บริการสาธารณะ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้รับโควตาจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และในอนาคตเตรียมขยายวัคซีนไปยังกลุ่มคนที่ทำประโยชน์เพื่อสาธารณะเพิ่มเติม
สำหรับหน่วยงานรัฐหรือเอกชนใดที่สนใจถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. โทร. 02 – 723 - 4900 หรือติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ สจล. ผ่าน http://www.facebook.com/kmitlofficial หรือ www.kmitl.ac.th
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด