KPMG และ HSBC เผยรายงานสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอนาคต รวมทั้งปัจจัยเร่งการเติบโต | Techsauce

KPMG และ HSBC เผยรายงานสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอนาคต รวมทั้งปัจจัยเร่งการเติบโต

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ในฐานะที่เป็นแหล่งขับเคลื่อนการเจริญเติบโตและสร้างรายได้ของโลกนั้นมีเหล่าสตาร์ทอัพมากมายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีโดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและช่องทางการตลาดแบบแนวดิ่งเพื่อสร้างกระแสเติบโตด้านดิจิทัล

KPMG

KPMG และ HSBC ได้ออกรายงานชื่อ Emerging Giants in Asia Pacific ซึ่งเป็นการศึกษาธุรกิจในเศรษฐกิจกระแสใหม่ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีอิทธิพลต่อแวดวงธุรกิจโลกในทศวรรษข้างหน้า ได้มีการสำรวจสตาร์ทอัพที่เน้นการใช้เทคโนโลยีกว่า 6,472 บริษัทและประเมินมูลค่าได้กว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 12 ตลาด รวมถึงประเทศไทยด้วย และในแต่ละตลาดได้มีการบ่งชี้ 10 บริษัทที่จะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอนาคต (Emerging Giants) 

นอกจากนี้รายงานฉบับนี้ยังจัดลำดับ Emerging Giants 100 แห่งที่มีแนวโน้มดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคอีกด้วย ระบบนิเวศน์ทางธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่ด้านเทคโนโลยีในเอเชียแปซิฟิคเป็นแหล่งบ่มฟักธุรกิจมูลค่าหลักพันล้านดอลลาร์สหรัฐได้อย่างรวดเร็วและมากมาย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund – IMF) คาดการณ์ว่าระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) และเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาจะมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึงร้อยละ 20 

โดยที่ในปีนี้เหล่า Emerging Giants หรือสตาร์ทอัพที่มีอิทธิพลและมีเป้าหมายที่จะเป็นยูนิคอร์น เป็นข้อชี้วัดที่ชัดเจนถึงอัตราการเจริญเติบโตที่ก้าวกระโดดของภูมิภาคนี้ จากรายงานฉบับนี้พบว่าการที่มีช่องทางการตลาดแบบแนวดิ่ง (Sector verticals) เพิ่มมากขึ้นนั้น ทำให้สามารถดึงดูดยอดเงินลงทุนที่สูงเป็นประวัติการณ์ ก่อให้เกิดสตาร์ทอัพใหม่ๆ ที่ขนาดใหญ่ขึ้น และมีมูลค่าสูงขึ้นในภูมิภาคนี้ นอกเหนือจากภาคธุรกิจที่รู้จักกันอยู่เดิมในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่เช่น ฟินเทค หรือการให้บริการในด้านซอฟต์แวร์ (Software-as-a-service) รายงานฉบับนี้ยังบ่งชี้อุตสาหกรรมย่อยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอีก 120 ชนิด 

ซึ่งรวมถึงชนิดที่เด่นๆ เช่น บล็อกเชน สมาร์ทซิตี้ ความยั่งยืน และ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance – ESG) นอกจากนี้ตลาดที่ถูกสำรวจ 6 ใน 12 แห่งนั้นมีการประเมินมูลค่ารวมของเหล่า Emerging Giants เฉลี่ยอยู่ที่ 300 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐหรือมากกว่า 

ฮอนสัน โต ประธานเคพีเอ็มจี เอเชีย แปซิฟิค และเคพีเอ็มจีประเทศจีน กล่าว “เหล่าสตาร์ทอัพทางด้านเทคโนโลยีถือเป็น SMEs กระแสใหม่ที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในอนาคตการที่ทั่วโลกต่างมุ่งสู่เน็ตซีโร่จะเป็นแรงผลักดันหลักในการสร้างนวัตกรรมให้อุตสาหกรรมดั้งเดิมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น Emerging Giants จะเป็นผู้เล่นหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และส่งเสริมให้องค์กรมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทวีปเอเชียจะเป็นแนวรบสำคัญที่จะต่อสู้เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของทุกคน”

สุเร็นดรา โรชา Co-Chief Executive ของ HSBC เอเชียแปซิฟิค กล่าว “เราตื่นเต้นกับรายงาน Emerging Giants in Asia ฉบับนี้ เพราะเรามองว่าสตาร์ทอัพเป็นอีกแรงหนุนสำหรับอุตสาหกรรมการเงินดั้งเดิม องค์กรพวกนี้เป็นแหล่งนวัตกรรม และเป็นสิ่งเร้าและเพิ่มความหลากหลายให้กับเศรษฐกิจของแต่ละตลาดและของภูมิภาค” 

สำหรับประเทศไทยนั้น ปี 2564 ถือเป็นปีทองของสตาร์ทอัพ สืบเนื่องจากการที่มีสตาร์ทอัพกลายเป็นยูนิคอร์นเป็นครั้งแรกของประเทศ และมีถึง 3 บริษัทด้วยกัน คือ 

1) Flash Group ซึ่งเป็นบริษัทโลจิสติกส์ขนส่งในภูมิภาค 

2) Ascend Money ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินดิจิทัล 

3) Bitkub ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซี 

ศศิธร พงศ์อดิศักดิ์ กรรมการบริหาร และหัวหน้าแผนไพรเวท เอ็นเตอร์ไพรซ์ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว “เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ การที่ผู้บริโภคหันเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ถือเป็นการกระตุ้นธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยที่ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ บริษัทที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิลิทัล ต่างได้ประโยชน์กันทั้งนั้น” 

อีกปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเติบโตเร็วในประเทศไทยคือลักษณะประชากร ประชากรประมาณร้อยละ 30 อายุต่ำกว่า 25 ปี และนอกจากนี้ยังมีอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือสูงถึง 165.7 เครื่องต่อจำนวนประชากร 100 คน ประเทศไทยยังมีความเคลื่อนไหวชัดเจนในภาคธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย เช่นในภาคอุตสาหกรรมประกันภัยนั้นมีบริษัท Sunday ซึ่งทำธุรกิจประเภท InsurTech ได้รับเงินลงทุน 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท Tencent ในประเทศจีนและบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมภาคอาหารนั้นบริษัท SPACE-F Thailand ได้ก่อตั้งองค์กรเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพในภาคอุตสาหกรรม Foodtech เป็นต้น ประเด็นสำคัญอื่นจากงานวิจัยครั้งนี้:

  • ถึงแม้ว่ายอดการลงทุนจากภาคเอกชนในปี 2565 นั้นไม่น่าจะทำลายสถิติเหมือนในปี 2564 แต่ว่ายอดเงินลงทุนรวมในไตรมาสแรกของ 2565 นั้นชี้ให้เห็นแนวโน้มว่ายอดการระดมทุนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคในปีนี้น่าจะสูงกว่าปี 2563 และ 2562 ในออสเตรเลีย มาเลเซีย และเกาหลีใต้ นั้นมีการลงทุนที่สูงกว่า หรือเกือบสูงกว่ายอดทั้งหมดของปี 2563 แล้ว

  • ในฐานะที่มีผู้ใช้ฟินเทคเยอะที่สุดนั้น ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการให้บริการด้านการเงินเป็นอย่างมากในสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการด้านการเงินออนไลน์นั้นได้พัฒนาไปพร้อมๆ กับการที่จำนวนผู้ใช้เพิ่มสูงขึ้น ความสนใจอย่างมากในคริปโตเคอร์เรนซีของผู้บริโภคก็ยังทำให้จำนวนผู้ให้บริการเกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซีและบล็อกเชนนั้นมีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

  • ความคาดหวังให้ธุรกิจและกลยุทธ์การลงทุนมีการจัดการด้าน ESG ที่ดีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนั้นน่าจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดเทคโนโลยีและการบริการสีเขียวในทุกภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเหล่า Emerging Giants ทั้งหลาย

  • ความท้าทายลำดับต้นๆ ที่เหล่า Emerging Giants ต้องพบเจอนั้น รวมไปถึงการเข้าใจความซับซ้อนของกฎหมายข้อบังคับต่างๆ และการดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี การกำหนดกลยุทธ์ด้าน ESG และภาษีที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐ และการวางกระบวนการจัดการบุคลากร จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตขององค์กรในอนาคต

แดน โรเบิร์ตส์ Global Head of Business Banking ของ HSBC กล่าว  “ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของโลก เราคิดหาแนวทางที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราสร้างสรรค์ และพัฒนาโซลูชั่นสำหรับอนาคตและเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้าเสมอ เหล่า Emerging Giants ในฐานะที่เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่จะกำหนดทิศทางของแต่ละอุตสาหกรรมในอีก 10 ปีข้างหน้า เป็นรากฐานสำคัญสำหรับอนาคตที่ยั่งยืนและเฟื่องฟูของภูมิภาคนี้” 

 แดเร็น ยอง หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี มีเดีย และโทรคมนาคม เคพีเอ็มจี เอเชียแปซิฟิค กล่าว  “แพล็ตฟอร์มและซอฟ์ตแวร์แอ็ปพลิเคชั่นที่มาจากกลุ่ม Emerging Giants ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคนั้นมีแตกต่าง ทะเยอทะยาน และล้ำสมัย สตาร์ทอัพเหล่านี้กล้าที่จะเลือกพันธมิตรทางธุรกิจ กล้าที่จะเลือกเป้าหมายทางตลาดที่ชัดเจน และกำหนดทิศทางของธุรกิจ รวมถึงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและพันธกิจขององค์กร สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นอกจากพวกเขาพยายามจะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแล้ว พวกเขายังคิดที่จะเปลี่ยนแปลงและกำหนดทิศทางอนาคตของการพัฒนาทางเทคโนโลยีอีกด้วย”

รายงานฉบับนี้มีการสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทสตาร์ทอัพในเอเชียแปซิฟิคทั้ง 12 ตลาด ซึ่งสามารถบ่งชี้ข้อมูลเชิงลึกด้านโอกาสและสิ่งท้าทายที่เหล่าสตาร์ทอัพต้องเผชิญในภูมิภาคนี้ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ttb spark REAL change: จุดประกายไอเดียสร้างสรรค์เพื่อชีวิตทางการเงินที่ยั่งยืน

เตรียมพบกับงาน “ttb spark REAL change” งานแสดงนวัตกรรมดิจิทัลครั้งใหญ่ของ ทีทีบี ที่ชวนมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ไอเดียที่สร้างสรรค์ ตอบโจทย์ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายให้...

Responsive image

Tech Provider ห้ามพลาด! ร่วมปั้น SMEs บุกตลาดใหม่กับ ETDA พร้อมทุนสนับสนุน 4.5 แสนบาท

ETDA เดินหน้าสานต่อ “SMEs GROWTH” ภายใต้ โครงการยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ ประจำปี 2568 โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถปรับตัวและเติบโตอย่าง...

Responsive image

Future Food Leader Summit 2025 ปั้นไอเดีย 'อาหารฟื้นฟู' สู่ธุรกิจแห่งอนาคต

TASTEBUD LAB ร่วมกับ Bio Buddy พร้อมขับเคลื่อนอนาคตอาหารของ จัดงาน Future Food Leader Summit 2025: Regenerative Food for the Future เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและนวัตกรรมอาหารอย่า...