Mahidol ค้นพบวิธีระบุอัตลักษณ์ 'เจ้าทุย' ด้วยเทคนิค AI จดจำและจำแนก 'ลายจมูก' ครั้งแรกในไทย | Techsauce

Mahidol ค้นพบวิธีระบุอัตลักษณ์ 'เจ้าทุย' ด้วยเทคนิค AI จดจำและจำแนก 'ลายจมูก' ครั้งแรกในไทย

ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University) ค้นพบเทคนิคการใช้ AI หรือ Machine Learning เพื่อการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของ "กระบือปลัก" โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ "ลายจมูก" ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้สัตว์เจ็บแล้ว ยังสามารถพัฒนาต่อยอดโดยใช้เป็นแพลตฟอร์มในการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของสัตว์เศรษฐกิจประเภทอื่นๆ ต่อไปได้อีกในอนาคต

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University) ค้นพบเทคนิคการใช้ AI หรือ Machine Learning เพื่อการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของ "กระบือปลัก" โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ "ลายจมูก"

เนื่องจากหากมองย้อนไปถึงการได้มาซึ่งข้าว จากบรรดานักเก็บเกี่ยวผู้เป็นอันดับต้นๆของห่วงโซ่จะพบว่า 'ชาวนา' เปรียบเหมือน 'กระดูกสันหลังของชาติ' คอยปลูกข้าวเลี้ยงคนในชาติให้อิ่มท้อง 'เจ้าทุย' หรือ 'ควาย' เปรียบได้กับ"กระดูกสันหลังของชาวนา" อีกทีโดยเป็นทั้ง "เครื่องมือ" ในการทำนา และเป็น "เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก" ของชาวนามานับตั้งแต่ที่มีการใช้ควายไถนาเกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก

Buffalo ไทยก็มีอัตลักษณ์

ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลให้ รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิจัยนำโดย นายสัตวแพทย์อุดม เจือจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างกรมปศุสัตว์ รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์อนุวัตน์วิรัชสุดากุล คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมทั้ง นายสัตวแพทย์อภิชาติ ภะวัง นายสัตวแพทย์บพิธปุยะติ นายสัตวแพทย์สุรพงษ์ เสนาใหญ่ สัตวแพทย์หญิงธีราภรณ์ พรหมภักดี และสัตวแพทย์หญิงสุนิสา กินาวงศ์ กลุ่มนักวิจัยไทยที่เป็นกลุ่มบุกเบิก และไขความลับที่น่าอัศจรรย์ของธรรมชาติที่ว่า ในขณะที่ "คน" ใช้ "ลายนิ้ว" ในการระบุอัตลักษณ์ แต่กับ "ควาย" เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยากของชาวนานี้ ใช้ "ลายจมูก" ในการระบุตัวตนที่แตกต่าง จากการทุ่มเททำวิจัยโดยได้สัมผัสจริงกับชีวิตแห่งท้องทุ่ง

โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ ได้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างคุณูปการต่อวงการเกษตรไทย ด้วยการจำแนกเมล็ดพันธุ์ข้าวไทย จนสามารถคว้ารางวัลจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

มาในปี 2565 นี้ ผลงานนวัตกรรมของ รองศาสตราจารย์ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ สามารถสร้างชื่อคว้ารางวัลจากวช.ได้อีกครั้ง ในประเภทรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากการใช้เทคนิคMachine Learning เพื่อการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของ"กระบือปลัก" ซึ่งเป็นประเภทของควายที่พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยเรียกชื่อสายพันธุ์ตามอุปนิสัยที่ชอบอยู่ในปลักโคลนตามท้องไร่ท้องนา

จากในอดีตของประวัติศาสตร์ปศุสัตว์โลกที่ผ่านมาได้มีความพยายามด้วยวิธีการต่างๆ นานาที่จะจำแนก และระบุอัตลักษณ์ของปศุสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการดั้งเดิมที่ใช้เหล็กเผาไฟจนร้อนแล้วนาบลงบนตัวสัตว์ การเจาะหูติดเบอร์ มาจนถึงวิธีการฝังไมโครชิพ ซึ่งล้วนเป็นการทรมานสัตว์ ทำให้สัตว์ต้องได้รับความเจ็บปวด จากมากมาหาน้อย แม้วิธีการฝังไมโครชิพจะเป็นวิธีล่าสุดที่ทำให้สัตว์เจ็บน้อยที่สุด แต่กลับพบอุปสรรค ขาดความคล่องตัวจากการที่จะต้องอาศัยฮาร์ดแวร์ในการอ่านข้อมูล

ดึง Machine Learning จดจำความแตกต่าง

ด้วยเทคนิคการใช้ Machine Learning เพื่อการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของ "กระบือปลัก" โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ "ลายจมูก" ที่ได้รับการค้นพบโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะวิจัยนี้นอกจากจะไม่ทำให้สัตว์เจ็บแล้ว ยังสามารถพัฒนาต่อยอดโดยใช้เป็นแพลตฟอร์มในการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของสัตว์เศรษฐกิจประเภทอื่นๆ ต่อไปได้อีกในอนาคต

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ ยังได้เป็น 1 ใน 39 นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีผลงานวิจัยซึ่งได้รับการอ้างอิงเป็นร้อยละ 2 ของนักวิทยาศาสตร์โลก จากการจัดอันดับโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2564 (World's Top2% Scientists by Standford University 2021) ที่ผ่านมาอีกด้วย

เพื่อรองรับอนาคตแห่งการสร้างสรรค์สังคมและเศรษฐกิจไทยสู่ประเทศแห่งนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้มีนโยบายที่จะให้การสนับสนุนนักศึกษาและบุคลากรซึ่งเป็น"อัจฉริยะทาง IT" เช่นเดียวกับ รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์คู่สกุลนิรันดร์ ได้มี "AI Center" เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 12 ซึ่งว่าด้วยการบริโภคและการผลิตด้วยความรับผิดชอบ(Responsible Consumption and Production) ซึ่งรวมถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

โดย "AI Center" จะเป็นศูนย์กลางซึ่งใช้พื้นที่ของอาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อการรองรับเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี  AI ขั้นสูงสู่การสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกันในหลากหลายสาขา ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศได้ต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...