บอร์ดแข่งขันทางการค้า มาเลเซีย ไฟเขียวให้ CP ควบรวมกิจการของ Tesco Lotus ในมาเลเซีย | Techsauce

บอร์ดแข่งขันทางการค้า มาเลเซีย ไฟเขียวให้ CP ควบรวมกิจการของ Tesco Lotus ในมาเลเซีย

บอร์ดแข่งขันทางการค้า มาเลเซีย ไฟเขียวให้ CP ควบรวมกิจการของ เทสโก้สโตรส์ ในมาเลเซีย สอดคล้องมติกขค.ประเทศไทย ถือผลสรุปสอดคล้องตามมาตรฐานสากล

คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของมาเลเซีย ประกาศผลอนุมัติควบรวมเทสโก้สโตรส์ ในมาเลเซีย โดยมีเงื่อนไขสอดคล้องกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า(กขค.)ในประเทศไทย พร้อมยกมาตรฐานสากลในการพิจารณา  ซึ่งเห็นได้ว่า บอร์ดแข่งขันทางการค้าของประเทศมาเลเซีย มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโดยรวมของมาเลเซีย ซึ่งเป็นการเพิ่มการลงทุนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย โดยเงื่อนไขที่ทางบอร์ดแข่งขันทางการค้าของมาเลเซีย ให้ความสำคัญมีความสอดคล้องกับคณะกรรมการ กขค.ประเทศไทยคือ การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีโดยต้องมีการเพิ่มสัดส่วนคู่ค้าเอสเอ็มอี อย่างน้อย 10% เป็นเวลา 5 ปี ต้องสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการท้องถิ่นให้มีโอกาสขยายตลาดในต่างประเทศ  

นอกจากนี้ เงื่อนไขสำคัญที่ บอร์ดแข่งขันทางการค้ามาเลเซีย ให้ความสำคัญคือ การคงไว้ซึ่งเงื่อนไขที่ให้กับคู่ค้า จะต้องคงไว้เหมือนเดิม ยกเว้นจะให้ข้อเสนอที่ดีกว่า แต่สิ่งที่มาเลเซียเพิ่มขั้นมาคือ พนักงานในโลตัสสโตรส์ที่มาเลเซียนั้น ขอจำกัดจำนวนพนักงานต่างชาติที่มีทักษะในระดับต่ำ (Low-Skill Working) อยู่ที่ไม่เกิน 15% โดยเน้นใช้คนท้องถิ่น หากจำเป็นต้องเพิ่มพนักงานจากต่างชาติ ขอเป็นผู้เชี่ยวชาญสูง หรือมีทักษะสูง เพื่อดึงคนเก่งเข้าประเทศมาเลเซีย เป็นต้น 

ทั้งนี้ บอร์ดแข่งขันทางการค้าในประเทศมาเลเซีย และ คณะกรรมการ กขค.ของประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นองค์กรอันทรงเกียรติ ที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน และ เงื่อนไข เพื่อให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพ เพราะมติที่ประชุมมีความสำคัญ  ทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องจะต้องนำไปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการของแต่ละบริษัท และย้ำเตือนถึงความเป็นมืออาชีพในกระบวนการ เพราะดีลการซื้อขายครั้งนี้เป็นระดับอินเตอร์ และเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ 

สำหรับผลการพิจารณาของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามาเลเซีย และ มติคณะกรรมการ กขค.ประเทศไทย คลายข้อกังวลของคณะกรรมการ ไม่ว่าเสียงข้างมากหรือข้างน้อย เพราะทุกคนมีสิทธิออกความเห็นในที่ประชุมครบถ้วนแล้ว และนำความเห็นของกรรมการทุกท่าน มาสรุปเป็นมติ  นอกจากนี้ผลการพิจารณาเป็นการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเศรษฐกิจขาลง ในขณะที่ประเทศไทย ได้ยินข่าวเรื่องย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ แต่ดีล เทสโก้ โลตัส ครั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีว่า เราได้บริษัทที่ถูกบริษัทอังกฤษซื้อไป ได้กลับคืนมา และ ตอนที่เทสโก้ โลตัส เป็นของอังกฤษ และมีส่วนแบ่งตลาดเท่าเดิม ก็ไม่มีใครแย้งว่ามีอำนาจเหนือตลาด แต่พอกลับมาเป็นของคนไทยในส่วนแบ่งตลาดเท่าเดิม กลับมีบางกลุ่มออกมาไม่เห็นด้วยกับมติ นอกจากนี้สินค้าของซีพีส่วนใหญ่เป็นของสด ในขณะที่สินค้าในเทสโก โลตัสกว่า 80% ไม่ใช่ของสด ดังนั้น ยากที่จะครอบงำตลาด นอกจากนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีได้ประโยชน์เป็นอย่างมากจากเงื่อนไขของบอร์ดแข่งขันทางการค้าของทั้งสองประเทศ

ทั้งนี้ ประเทศมาเลเซีย นายวาน สุไฮมี ไซดี นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเคนางา อินเวสเมนต์ กล่าวว่า "เศรษฐกิจมาเลเซียพึ่งพาการค้า กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากยังไม่มีสัญญานการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ของอุปสงค์ และ กิจกรรมธุรกิจ”  นายวาน ทำนายว่า อัตราการหดตัวตลอดปี ปี 2563 ของประเทศมาเลเซียจะอยู่ที่ 4-6% จะเห็นได้ว่า การที่มีการลงทุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นในปีนี้ ในประเทศมาเลเซียจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นอย่างดี โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก ที่จะรักษาคู่ค้า ให้สามารถทำธุรกิจได้ต่อเนื่องอย่างเป็นปกติ และ เพิ่มการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอีกด้วย

ผลสรุปการอนุมัติให้มีการซื้อกิจการทั้งสองประเทศในครั้งนี้ บริษัทต่าง ๆ ต้องนำเงื่อนไขกลับไปพิจารณา ว่าจะเห็นชอบกับเงื่อนไขหรือไม่ บริษัทในเครือซีพีได้สิทธิในบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จํากัด ซึ่งประกอบธุรกิจค้าปลีก ภายใต้เครื่องหมายการค้า Tesco Lotus ในไทย รวมทั้งซื้อหุ้นบริษัท Tesco Stores (Malaysia) Sdn.Bhd. ซึ่งประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้เครื่องหมายการค้า Tesco ในประเทศมาเลเซีย จะเดินหน้าต่อไปในทิศทางใด ล้วนเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจและผู้ประกอบการคู่ค้า รวมถึงการรักษาการจ้างงาน การซื้อขายครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนวิกฤตโควิด แต่ซื้อมาราคาแพง ก็ยากในการทำให้เกิดกำไร และการซื้อขายไม่ได้เกิดขึ้นฟรี แต่เป็นการลงทุนในช่วงที่มีความเสี่ยง และ เอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงโดยตรง จึงถือเป็นความท้าทายอย่างมากของเอกชนผู้ประมูลชนะ ซึ่งจะต้องดำเนินการแบบมืออาชีพ เพื่อให้ธุรกิจที่ซื้อกิจการมาอยู่รอด และดีลนี้ถือเป็นดีลอินเตอร์ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในทุกภาคส่วน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...

Responsive image

5 ประโยชน์จาก DUSCAP เครื่องมือ AI อัจฉริยะ ยกระดับองค์กรสู่ความสำเร็จในทุกมิติ

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การค้นหาโซลูชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ DUSCAP ...