MIND AI เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ที่อาศัยหลักการหาเหตุผล (Reasoning) และนำตรรกะของผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขปัญหา | Techsauce

MIND AI เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ที่อาศัยหลักการหาเหตุผล (Reasoning) และนำตรรกะของผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขปัญหา

MIND AI เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่อาศัยหลักการหาเหตุผล (Reasoning) และนำตรรกะของผู้เชี่ยวชาญมาใช้ในการแก้ไขปัญหา

MIND AIบริษัท มายด์ เอไอ เซาท์อีสเอเซีย จำกัด (MIND AI SEA) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (SASIN) ร่วมจัดสัมมนาหัวข้อ “New Wave of AI: New Era of Crowdsourcing Intelligence” ตอกย้ำความสำคัญของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย พร้อมเปิดตัวเทคโนโลยี AI ล่าสุดที่ใช้ตรรกะในการเข้าใจภาษาและแก้ไขปัญหาและสามารถสื่อสารได้อย่างเป็นธรรมชาติ

เวทีนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากหลายวงการร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์และกรณีตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็น SASIN, ZTRUS, ShareInvestor, T-Ecosys และ Synesis One รวมถึงการนำเสนอจุดแข็งและจุดอ่อนของเทคโนโลยี AI ในปัจจุบัน เช่น รวดเร็วแต่ต้องอาศัยข้อมูลมหาศาลในการเทรน การให้คำตอบจากการคาดการณ์โดยหลักสถิติ ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบที่มาโดยใช้ตรรกะหรือข้อเท็จจริงได้ อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลในการเทรนที่ใส่เข้าไป รวมถึงขาดความสามารถในการเข้าใจความละเอียดอ่อนของภาษาและบริบทที่แตกต่าง

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO จากบริษัท ZTRUS ได้บรรยายในหัวข้อ “AI Landscape, What to Expect in 2023” โดย ดร.พณชิตได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า เทคโนโลยี Generative AI ในปัจจุบันอย่าง Midjourney, ChatGPT หรือ DALL-E ยังเป็นการทำงานผ่าน Hidden Layers หรือ Black box เพื่อการพยากรณ์คาดการณ์โดยใช้โมเดลทางสถิติสร้างผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบต่างๆ ดั้งนั้นผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความสามารถในการคัดกรอง ตรวจสอบ และแก้ไข จึงจะสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้จาก Generative AI ไปประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม  นอกจากนี้ ดร.พณชิตยังได้กล่าวถึงข้อจำกัดและความสามารถที่แตกต่างกันระหว่างมนุษย์กับ AI แต่หากเราเข้าใจและสามารถเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน (Human & BOT Collaboration) มนุษย์ก็จะสามารถนำ AI ไปประยุกต์ใช้ให้เป้าหมายบรรลุได้

ในงานนี้ MIND AI ได้แนะนำเทคโนโลยีที่ใช้ตรรกะของมนุษย์เพื่อทำความเข้าใจภาษาและแก้ไขปัญหา ซึ่งคุณรณพงศ์ คำนวณทิพย์ กรรมการผู้จัดการ มายด์ เอไอ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราได้ศึกษากระบวนการหาเหตุผล (Reasoning) ของมนุษย์เป็นเวลาหลายปี จนสามารถจดสิทธิบัตรโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ตรรกะแบบเดียวกับสมองของมนุษย์มาใช้ในการประมวลผล ที่เรียกว่า Canonical ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างเป็นสามเหลี่ยมที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล อันเป็นหน่วยเล็กที่สุดในการใช้หาเหตุผล ด้วยโครงสร้างนี้เองที่ทำให้ MIND AI สามารถสร้างองค์ความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้โดยใช้หลักการและเหตุผลแบบเดียวกับที่มนุษย์ใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ

ด้วยวิธีการนี้ MIND AI จึงสามารถให้คำตอบที่ถูกต้อง แม่นยำ และมีความโปร่งใส (Transparency) ตรวจสอบหาเหตุผลที่มาที่ไปได้ เราจึงสามารถถ่ายทอดความรู้ (Transfer Knowledge) จากผู้เชี่ยวชาญมาสู่ MIND AI เพื่อทำการประมวลผลได้โดยตรง นอกจากนี้ MIND AI ยังมีความเข้าใจในบริบทของภาษา (Context Aware) ทำให้เราสามารถสร้าง Conversational AI ที่เปลี่ยนหัวข้อในการสนทนาไปมาได้อย่างเป็นธรรมชาติเสมือนพูดคุยกับมนุษย์ และสามารถปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ (Adaptive Learning) ได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องใช้ตัวอย่างข้อมูลจำนวนมากในการเทรนโมเดลซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงเป็นระบบที่โปร่งใสและปรับเปลี่ยนง่าย อีกทั้งยังใช้เวลาในการพัฒนาโซลูชั่นสั้นกว่า AI ทั่วไปหลายเท่าด้วยค่าใช้จ่ายที่ย่อมเยากว่า” 

ในงานยังมีการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า Human Logic Intelligence (HLI) ที่ทำให้ MIND AI สามารถประมวลผลข้อมูลในแบบ machine-to-machine เพื่อช่วยในการทำ automation โดยใช้ภาษามนุษย์สั่งงานได้ง่ายๆ เช่น การแก้ไขปัญหาการสั่งสินค้ามาเกินหรือขาดสต็อก ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อหรือผู้บริหารสามารถสั่งให้ MIND AI ประมวลผลข้อมูลสินค้านับหมื่นรายการเพื่อทำการแนะนำว่าปัญหาของสินค้าแต่ละตัวเกิดจากอะไร พร้อมทั้งให้คำแนะนำและดำเนินการติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

“เรายินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำ เพื่อสร้างโซลูชั่นในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และยังยินดีให้ความรู้กับนักพัฒนา พันธมิตรธุรกิจ และสถาบันการศึกษา เพื่อช่วยกันพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ โซลูชั่น และแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ออกมาอีกด้วย

นอกจาก MIND AI จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่างๆ  เช่น การบริการลูกค้า การตลาดและการขาย งานจัดซื้อและบริหารสินค้าคงคลัง การสร้างตรรกะสำหรับการให้คำแนะนำ การแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ และการตัดสินใจ และอื่นๆ แล้ว MIND AI ยังสามารถช่วยคัดกรองข้อมูลเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการตัดสินใจ และทำงานร่วมกับเครื่องมือทาง AI อื่นๆ ได้ เช่น Computer Vision, Automatic Speech Recognition, Generative AI รวมทั้ง platform ที่ใช้ในองค์กร เช่น CRM, Telephony, IOT หรืออื่นๆ ได้อีกด้วย” คุณรณพงศ์กล่าวสรุป 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

TikTok เปิดตัว #คนไทยรู้ทัน ศูนย์ข้อมูลดิจิทัลต้านภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง ดีอี พร้อมด้วยพันธมิตรจากภาครัฐและประชาสังคม

TikTok เปิดตัว #คนไทยรู้ทัน ศูนย์ข้อมูลดิจิทัลต้านภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง ดีอี พร้อมด้วยพันธมิตรจากภาครัฐและประชาสังคม มุ่งสร้างความตระหนักรู้และวิธีรับมือมิจฉาชีพออนไลน์ เพื่อก้าวที่...

Responsive image

สัมผัส 9 อัตลักษณ์ ‘ดุสิตธานี’ พร้อมให้โลกยลโฉม ณ Dusit Central Park

โรงแรมดุสิตธานี (Dusit Thani) สถานที่แห่งความทรงจำ และความประทับใจนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ชื่อนี้ที่บ่งบอกถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันดีงาม สถานที่ที่ได้ต้อนรับ นักท่องเที่ยว บุค...

Responsive image

Prime Video ปรับโฉมใหม่ ยกระดับประสบการณ์สตรีมมิ่งให้ตรงใจคนดู พร้อมดึง LLM ช่วยสรุปเนื้อเรื่อง

สรุปการอัพเดทที่จะเกิดขึ้นบน Prime Video ในประเทศไทย ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาคอนเทนต์ต้องการรับชมได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการแนะนำที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคลมากขึ้น ใช้เวลารับชมเนื้อหามากขึ้...