ส่องเทรนด์แอปพลิเคชันบนมือถือ ปี 2020-2021 เกม FinTech และ e-Commerce โตต่อเนื่องใน APAC | Techsauce

ส่องเทรนด์แอปพลิเคชันบนมือถือ ปี 2020-2021 เกม FinTech และ e-Commerce โตต่อเนื่องใน APAC

Adjust แพลตฟอร์มวิเคราะห์การตลาดบนมือถือ เปิดเผยรายงานฉบับปฐมฤกษ์ในหัวข้อ รายงานเทรนด์แอปฯ บนมือถือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำ ปี 2021 ซึ่งเจาะลึกแนวโน้มพฤติกรรมผู้ใช้แอปพลิเคชันบนมือถือในแถบเอเชียแปซิฟิก ภูมิภาคที่ต้องยอมรับว่าเป็นผู้นำในตลาดโลกที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด โดยรายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นการที่ตลาดแอปฯ บนมือถือนั้นกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนิยมใช้แอปฯ บนมือถือเพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน รวมทั้งความบันเทิง และจากการระบาดของโควิด-19 จนมีการล็อกดาวน์ในประเทศต่าง ๆ การใช้งานโทรศัพท์มือถือจึงเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การติดตั้งแอปพลิเคชันของทุกประเภทธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ในปี 2020 นั้นมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2021 มีการติดตั้งแอปฯ ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 4% และมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่คนหันมาใช้งานมือถือในช่วงล็อกดาวน์ 

ในปี 2020 การติดตั้งแอปฯ เพิ่มขึ้นในทุกประเทศ และยังเติบโตต่อเนื่องในปี 2021

สำรับข้อมูลส่วนนี้มาจากการสำรวจโดย Adjust พบว่าแอปพลิเคชันจำนวนกว่า 910 แอปฯ ได้มีการติดตั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีการสำรวจในอินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปีนส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทยและเวียดนาม ซึ่งได้มีการรายงานสถิติไว้ดังนี้ 

  • ปี 2021 สิงคโปร์และเวียดนามมีอัตราการติดตั้งแอปฯ เหล่านี้ที่สูงที่สุด โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 อยู่ที่ 49% และ 43% ตามลำดับ ส่วนในไทย มีการเติบโตเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชีย โดยมีการเติบโตของการติดตั้งอยู่ที่ 18% ในปีนี้ และ 24% ในปี 2020

รายงานฉบับนี้ยังเจาะลึกการเติบโตของ 3 ประเภทธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2020 ซึ่งได้แก่ เกม (ทั้งแนว Hyper-casual และ Non-Hyper casual) FinTech และ e-Commerce และการเติบโตของแอปฯ เหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาในปี 2021 โดยเกมแนว Hyper-casual เป็นประเภทที่เติบโตโดดเด่นที่สุด ซึ่งมีการติดตั้งในปี 2020 เพิ่ม 66% เทียบกับปีก่อนหน้า และปี 2021 ก็เพิ่มอีก 49% ต่อมาคือ แอปฯ FinTech มาเป็นอันดับสอง มีการติดตั้งเพิ่มขึ้น 36% ในปี 2020 และ 18% ในปี 2021 และอันดับสาม คือ e-Commerce ที่โตขึ้น 27% ในปี 2020 และ 8% ในปี 2021 ส่วนเกม Non-Hyper casual นั้น เติบโต 23% ในปี 2020 และ 4% ในปี 2021

นอกจากนั้น รายงานนี้ยังมีการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบเป็นประเทศ ๆ ในแต่ละประเภทธุรกิจอีกด้วย ได้แก่

การเติบโตของประเภทแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

  • ภาพรวมของเกม 
    • เวียดนามเป็นตลาดซึ่งมาเป็นอันดับหนึ่งในปี 2020 โดยมีการติดตั้งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 37% ตามมาติดๆ ด้วยอินโดนีเซีย (34%) และอินเดีย (33%)

  • สำหรับเกมแนว Hyper-casual
    • การติดตั้งแอปฯ แนวนี้ในสิงคโปร์ในปี 2020 เพิ่มจากปีก่อนหน้า (112%) ตามด้วยอินโดนีเซีย (101%) และประเทศไทย (74%) 
    • อย่างไรก็ตาม สำหรับปี 2021 เป็นอินโดนีเซีย (64%) อินเดีย (61%) และประเทศไทย (54%) ที่เป็นสามประเทศที่มีการเติบโตของการติดตั้งสูงสุด 
    • ตลาดทุกประเภทยังเติบโตต่อไปในปี 2021 ที่โดดเด่นก็คือ ประเทศไทยและสิงคโปร์ อยู่ที่ 22% และ 21% ตามลำดับ

  • ปี 2020 นั้นแอปฯ FinTech ไปได้สวย เนื่องจากผู้คนต่างหันไปใช้มือถือเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคารและการชำระเงิน และแนวโน้มนี้ยังดำเนินต่อไปในปี 2021 
    • ประเทศไทยและเวียดนามยังนำโด่งในเรื่องของการติดตั้งแอปฯ FinTech คือ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลถึง 100% และ 97% ตามลำดับ ตามด้วยสิงคโปร์ที่ 72%
    • จนถึงเวลานี้ในปี 2021 การติดตั้งแอปฯ กำลังเฟื่องฟู โดยประเทศซึ่งเติบโตอย่างโดดเด่น คือ อินโดนีเซีย (89%) สิงคโปร์ (70%) และเกาหลีใต้ (60%)

จะเห็นได้ว่าเทรนด์การติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 โดยในช่วงปี 2020 ถือเป็นปีทองของแอปฯ ต่าง ๆ ทั้ง เกม Fintech และ e-Commerce แต่เมื่อก้าวเข้าปี 2021 ความต้องการในการดาวน์โหลดแอปฯ ต่าง ๆ ลดลงอาจจะเนื่องมาจากผู้คนเริ่มเคยชินกับการใช้งานแอปฯ ที่เคยติดตั้ง อย่างไรก็ตามในอนาคตอาจจะมีแอปฯ เกิดใหม่มากมายมาให้ผู้คนได้ลองใช้งานกันอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะโทรศัพท์มือถือในตอนนี้แทบจะเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ไปแล้ว  

สำหรับการค้นหาเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ ที่นี่


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...